บางโฉมศรี น้ำเริ่มเต็มคลองแล้ว และเริ่มทะลักออกมาทางประตูแล้ว #ถ้าประตูตรงนี้แตกซ้ำรอยปี54 ลพบุรี เตรียมรับให้ดี ทุ่งท่าวุ้ง บ้านหมี่ น้ำจะสูงขึ้น 3-4เมตร ภายใน 1วันถ้าประตูแตกหลังจากนั้นมวลน้ำจะล้นออกไปทางนิคมรัตนคร หลากเข้าทุ่ง ต่อ หากทุ่งเต็ม ก็จะเริ่มเข้าเขตเมือง ล้นออกทุกถนน ปลายของน้ำเต็มทุ่ง ก็คือ ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
(ซึ่งมีโอกาสแตกเพราะ กรมชลฯ ไม่ยอมเปิดประตูระบายน้ำ) แรงดันน้ำมหาศาลยากที่จะคาดเดาได้
คนใต้เขื่อนรับเต็มๆ เพราะไอ้หน่วยงานหน้าบางนี้มันบอกว่ากลัวกรุงเทพท่วม มันเลยปล่อยให้ที่อื่นท่วมไปก่อนจนมันไม่ไหว”
นี่คือข้อความจากคนบางโฉมศรี “ขุนพิเรนทร์” อ่านแล้ว อดที่จะส่งความรู้สึกนี้ไปถึงกรมชลประทานไม่ได้ และ ไม่ใช่จดหมายนี้ฉบับเดียว ยังมีความในใจของคนบางบาลที่รวมตัวประท้วงกรมชลประทาน
ใครนึกไม่ออกประตู “บางโฉมศรี” สำคัญอย่างไร ลองนึกภาพมหาวิปโยคปี 2554 ที่น้องน้ำบุกกรุง…วันนั้น หนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ ประตูบางโฉมศรีแตก
วันนี้..บางโฉมศรีเริ่มจะกลับเข้าสู่ความน่าสนใจอีกครั้ง
คำถามคือ…กรมชลประทาน รู้เรื่องนี้หรือยัง “ขุนพิเรนทร์” นำข้อความมาส่ง เพื่อโปรดทราบและได้โปรดดำเนินการอย่างเร่งด่วน
โปรดติดตามตอนต่อไป…
จดหมายเปิดผนึกจากคนบางบาล
ทำไมถึงต้องประท้วงกรมชลประทาน
ล่าสุด นาย อนุสรณ์ ตันติวุฒิ รองผอ.สำนักงานชลประทานเขต 10 โพสต์ผ่านเฟสบุ๊คชี้แจง โดยยืนยันว่า “บางโฉมศรี” ยังไม่แตกและยังแข็งแรง
ประตูบางโฉมศรี ยังแข็งแรง
วันนี้(8ตุลาคม2565)เวลา15.00น.ได้รับรายงาน ว่า น้ำจาก แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ ต.หาดอาสา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท อยู่ห่างประตูบางโฉมศรีขึ้นไปทางทิศเหนือ 11 กม. ไหลล้นตลิ่ง ไหลปะทะคันคลองชัยนาท-อยุธยา(4) บางส่วนไหลข้ามคันคลองชัยนาท-อยุธยา ที่ใช้เป็นแนวคันกั้นน้ำ ขณะนี้ เจ้าหน้าที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามหาราช เร่งสร้างแนวคันกั้นน้ำอย่างเร่งด่วน
ทั้งนี้ ตัวสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบางโฉมศรี(สร้างทดแทนประตูบางโฉมศรี)ยังมั่นคงแข็งแรงดี(3)
ขอให้ประชาชนในพื้นที่ ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เขตติดต่อกับ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี รวมทั้ง อ.ท่าวุ้ง ที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำบางขาม ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
คุณ อนุสรณ์ ตันติวุฒิ ยังอธิบายเพิ่มเติมในโพสต์ต่อมาอีกว่า
8 ตุลาคม 2565
น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่ง ที่ ต.หาดอาสา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท จะไหลในแนวคันดิน “คันคลองชัยนาท-อยุธยา ซึ่งทำหน้าที่เป็นคันกั้นน้ำ แต่ด้วยปริมาณน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ที่ระบาย 3,033 ลบ.ม/วินาที(ปกติแม่น้ำเจ้าพระยาจุดนี้จะรับได้ประมาณ 2,690 ลบ.ม/วินาที) จึงข้ามคันคลอง ในขณะนี้ จนท.กำลังป้องกันอีกฝั่งของคันคลอง หากไม่สามารถกันน้ำไว้ได้ น้ำจะไหลปะทะถนน และผ่านช่องสะพาน ท่อลอดถนนสายเอเซีย มาตามลูกศรสีส้ม