กลายเป็นที่โจทก์ขานในวงการทุเรียน ค่อนข้างกว้าง เมื่อ ส.ส.ซีกรัฐบาลคนหนึ่ง พูดถึงปัญหาการส่งออกทุเรียนที่ปนเปื้อนสาร BY2 และมีการเอ่ยชื่อ โดยระบุว่า อาจจะให้หน่วยงาน . . . . เข้ามาตรวจ
ซึ่งชื่อที่มีการเอ่ยนั้น คล้ายๆกับชื่อเอกชนรายหนึ่งในไทยที่กำลังพยามแทรกซึมเข้าไปในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้วยการส่งจดหมายเข้าไปที่กระทรวงฯ อ้างเป็นบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจจีน (GACC)
ในหนังสือที่ส่งไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 เป็นภาษาจีน แต่เมื่อแปลแล้ว มีข้อความว่า
บริษัท China Certification & Inspection Group (CCIC) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1980 เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับดูแลทรัพย์สินของรัฐแห่งประเทศจีน (SASAC) โดยมีภารกิจหลักใน ด้าน “การตรวจสอบ การทดสอบ การรับรอง มาตรฐาน และการสอบเทียบ” และเป็นองค์กรให้บริการด้านคุณภาพแบบครบวงจร กลุ่มบริษัทฯ มีพนักงานมากกว่า 20,000 คน มีสาขาย่อยกว่า 400 แห่ง และห้องปฏิบัติการกว่า 500 แห่ง ได้รับการรับรองคุณสมบัติเพื่อการดำเนินงานระดับนานาชาติกว่า 100 รายการ และระดับประเทศกว่า 300 รายการ โดยครอบคลุมภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และภาคบริการ
และย้ำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทราบว่า บริษัท China Certification & Inspection Group มีบริษัทสาขา ที่ตั้งขึ้นในประเทศไทย
ในหนังสือของบริษัทที่ตั้งในไทยที่ส่งไปที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า บริษัท ดังกล่าว เป็นบริษัทสาขาของ รัฐวิสาหกิจกลางของจีน
รายงานผลการตรวจสอบที่ออกโดยบริษัทเรา “ จึงมีความน่าเชื่อถือ ” เพื่อส่งเสริมการส่งออกผลไม้จากประเทศไทยให้เป็นไปอย่างราบรื่น และเพิ่มประสิทธิภาพ ในการผ่านพิธีการศุลกากร
เราขอเสนอข้อแนะนำดังนี้
- มอบอำนาจให้บริษัท ดำเนินการควบคุมการทำงานด้านคุณภาพในสวนทุเรียน โรงงานบรรจุภัณฑ์และหน่วยงานทดสอบ รวมถึงออกรายงานการควบคุมคุณภาพและแจ้งข้อมูลแก่ศุลกากรจีน เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจในความปลอดภัยของคุณภาพผลไม้จากประเทศไทยแก่ศุลกากรจีน
- นำรูปแบบการควบคุมคุณภาพ “การตรวจสอบก่อนการขนส่ง + การติดตามย้อนกลับ” มาใช้ โดยใช้แพลตฟอร์มคลาวด์การติดตามย้อนกลับขององค์กรปลายทางในการตรวจสอบคุณภาพทุเรียนที่ส่งออกไปยังจีนในทุกขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่า คุณภาพของทุเรียนที่ส่งออกไปยังจีนตรงตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์จีน
- ใช้ข้อมูลการติดตามย้อนกลับที่บริษัท จัดเตรียมให้เป็นเอกสารอ้างอิงในการออกใบรับรองการควบคุมพืช (Phytosanitary Certificate)
“ เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมมือกับท่านเพื่อเร่งดำเนินการ ”
คำลงท้ายแบบนี้ ทำให้มีการถูกตั้งคำถาม ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวงการทุเรียนไทยขณะนี้ เป็นเกมที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อต้อนให้ “ไทย” เข้าคอกตามที่มีการวางไว้ หรือไม่ ?
เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับ ลำใย และ มังคุด ผลไม้ไทยที่ถูกกระทำมาแล้ว
เมื่อตรวจสอบ บริษัทนี้ ชื่อดันคล้ายกับ บริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับดูแลทรัพย์สินของรัฐแห่งประเทศจีน (SASAC)
-จดทะเบียนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2530
-มีกรรมการบริษัท 6 คน
-3 คน เป็นคนไทย อีก 3 คน เป็นชาวจีน
-มีผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคล 11 คน (นามสกุลเดียวกัน 6 คน)
-เป็นนิติบุคคล 3 แห่ง
-ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท
ภารกิจหลักของบริษัทนี้ มีหน้าที่ในการให้บริการตรวจสอบ และทดสอบผลิตผลทางการเกษตร /บริษัทมีห้องปฏิบัติการที่สามารถดำเนินการทดสอบทางกายภาพและเคมีของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร รวมถึงการตรวจสอบสารปนเปื้อนของโลหะหนัก และสารตกค้างจากยาฆ่าแมลง ตลอดจนการทดสอบแร่ และถ่านหิน
ซึ่งมันเป๊ะ พอดิบ พอดี กับสถานการณ์ทุเรียนไทยที่เจอปัญหาอย่างหนักหน่วง ทั้งปนเปื้อนแคดเมียม และสาร BY2 ในขณะนี้
คำถามคาใจของหลายๆคนในวงการทุเรียน คือ
- หากจีน จะส่ง LAB ของตัวเองมาตัังในไทย ทำไมไม่เจรจาในระดับรัฐบาล ใช้คน ใช้ของ ที่มีอยู่ในไทยเป็นหลัก ??
- บริษัทสาขาในไทย ที่จดทะเบียนมีคนไทยและคนจีน ร่วมเป็นกรรมการบริษัท แท้จริงแล้ว เป็นบริษัทลูกรัฐวิสากิจจีน จริงๆ ใช่หรือไม่
- จังหวะช่วงชุลมุนในวงการทุเรียน ทำไมจู่ๆ มีชื่อบริษัทนี้ในไทยปรากฏขึ้น
- เชื่อว่า บริษัท นี้ ที่จดทะเบียนในไทย ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับเรื่องทุเรียน
- เชื่อว่า คงจะไม่เกี่ยวข้องกับใครก็ตาม ที่พยายามนำพาให้บริษัทนี้เข้ามาในวงการทุเรียน
- LAB ไทย ได้มาตรฐานโลก จู่ๆ ถูกจีน แจ้งระงับผลการตรวจ เกิดอะไรขึ้น หรือทุเรียนที่ส่งออก กับส่งตรวจ เกี่ยวข้องกันหรือไม่ ?
- และอื่นๆ อีกมาก
แต่ทำไม ชื่อนี้ พอเหมาะ พอดี ในเวลานี้ หรือมีใคร ? หรือป่าว ? ที่พยายามทำให้วงการทุเรียนสุกงอม และต้องใช้บริการจากความสัมพันธ์ของคนบางกลุ่ม ซึ่งนั่น เป็นสิ่งที่กังวลว่า ทุเรียนไทย จะซ้ำรอย ลำใย และมังคุด ที่อาจจะถูกกินรวบ สำหรับผลไม้ไทยรายต่อไป ????