เปิดเบื้องหลังเอกชนเจ้าดัง ยื่นขอให้ไทยมอบอำนาจจัดการทุเรียนทั้งระบบ

กลายเป็นประเด็นร้อนฉ่า สำหรับการตรวจสอบบริษัทต่างชาติที่รับงานก่อสร้างตึก สตง. เขตจตุจักร กทม. จนนำมาสู่การตั้งคำถามว่า มีใครเกี่ยวข้องหรือเป็น นอมินี ให้กับต่างชาติหรือไม่

หากจำกันได้ความกังวลใจของทุนต่างชาติที่รุกคืบเข้ามา ไม่ใช่เฉพาะวงการก่อสร้าง เพราะก่อนหน้านี้หากจำกันได้ยังมีประเด็นทุนต่างชาติปรากฏเอกสารครอบครองที่ป่าสงวนแห่งชาติ และที่ คทช. ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา ร่วมกับคนไทยมาแล้ว จนนำมาสู่การยื่นเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ รับเป็นคดีพิเศษ สอบเรื่องของนอมินี ทุนต่างชาติ

ปัญหาวงการทุเรียนที่กำลังตรวจพบจากการส่งออก มีสาร BY2 และแคดเมียมตกค้างกำลังเป็นประเด็นใหญ่ที่ทำให้ไทยปวดหัวมาก เนื่องจากว่า มีการตรวจสอบการปนเปื้อนทุกชิบเม้นต์โดยกระบวนการผ่าน LAB ไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตรทั้ง LAB กึ่งรัฐวิสาหกิจ และ LAB เอกชนแต่ดูเหมือนว่า ปัญหานี้ยังไม่คลี่คลายเพราะมีการแจ้งลับๆ ว่า ตรวจพบการปนเปื้อนจากทุเรียนส่งออกของไทยที่ผ่านการตรวจโดย LAB มาตรฐานมาเป็นระยะ และมีการแจ้งระงับบาง LAB ไปแล้วก่อนหน้านี้ เพราะอ้างว่ามีการแจ้งตรวจพบสารทั้งสองชนิดในทุเรียนบางชิปเม้นต์ที่ผ่านการตรวจจาก LAB ในประเทศไทย

คำถามที่คาใจเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการการส่งออก คือ ทำไมปลายทางตรวจเจอ ทั้งๆ ที่ LAB มาตรฐานทางวิชาการของไทย ตรวจไม่พบ

แรกๆ มีการแจ้งมายังไทยให้ตรวจสอบการปนเปื้อนตั้งแต่ปลายปีที่แล้วมาจนถึงต้นปีซึ่งเราคิดว่าเค้าอาจจะตรวจเจอจริงตามที่มีการแจ้ง

#ขอมีส่วนร่วม

แต่เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2568 มี บริษัทแห่งหนึ่ง ในประเทศประเทศไทย ส่งหนังสือแจ้งมายังหน่วยราชการของไทยที่ดูแลคุณภาพผลไม้ส่งออก เรื่อง การส่งเสริมการส่งออกผลไม้

#ชอบอ้าง

บริษัทดังกล่าวอ้างว่า เป็นบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจประเทศปลายทาง ได้รับมอบอำนาจ และประสานงานทุกด่าน จากประเทศปลายทาง ให้เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบควบคุมคุณภาพสินค้าก่อนเข้าประเทศ

#กินรวบต้นน้ำยันปลายน้ำ

มิหนำซ้ำ ได้เสนอแผนการควบคุมคุณภาพ 3 ข้อ มายังหน่วยงานราชการในไทย ภายใต้แนวทาง “การตรวจสอบก่อนการขนส่ง + การติดตามย้อนกลับ” ซึ่งได้รับการยอมรับจากศุลกากรด่านต่างๆ แผน ดังกล่าวจะดำเนินการติดตามคุณภาพของทุเรียนตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การปลูกในสวน จนถึงด่านนำเข้า และจะมีการตรวจสอบคุณภาพทุเรียนก่อนการขนส่งในขณะที่ส่งออก เพื่อรับประกันว่าผลิตภัณฑ์ทุเรียนที่ส่งออกไปจะตรงตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้า

#กรรมการบริษัท

เมื่อเราตรวจสอบบริษัทดังกล่าวพบที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย กรรมการบริษัท มี 6 คน เป็นคนไทย 3 คน 1 ใน 3 นามสกุลคล้ายนักธุรกิจส่งออกสินค้าเกษตรไทย นอกจากนี้ยังมีต่างชาติที่มีชื่อคล้ายชาวจีน 3 คน

บริษัทนี้ ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท

บริษัทนี้ มีผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคล 11 คน (นามสกุลเดียวกัน 6 คน) เป็นนิติบุคคล 3 แห่ง

คำถาม … นี่คือ การบีบไทยให้จนมุมเพื่อให้ใช้บริการบริษัท ที่อ้างว่าเป็นบริษัท(ลูก) จากรัฐวิสาหกิจของเค้าหรือไม่

และนี่ทำให้อดสงสัยไม่ได้ เกี่ยวข้องกับ นอมินี ที่เข้ามาทำธุรกิจในไทยหรือไม่

…. รอต่อ ภาค 2

คำถามคาใจ