ทิเบตเริ่มสร้าง”หอดูดาว”ที่อยู่สูงสุดในโลกแล้ว 

ทิเบตได้เริ่มสร้างหอดูดาวและท้องฟ้าจำลอง บนพื้นที่ที่อยู่สูงสุดในโลก โดยวางแผนว่าจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2567 

นครลาซา เมืองเอกของเขตปกครองตนเองทิเบต(ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน จัดพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างท้องฟ้าจำลองทิเบต ซึ่งมีกำหนดเปิดให้เข้าชมในปี 2024 และจะเป็นท้องฟ้าจำลองบนพื้นที่สูงที่สุดในโลก

DF0CEFB9 C1B9 4B40 BBBB 2AF235E15ACA

หวังจวิ่นเจี๋ย รองหัวหน้าสำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของทิเบต ระบุว่า ท้องฟ้าจำลองแห่งใหม่นี้จะมีพื้นที่ใช้สอยรวม 11,571 ตารางเมตร และมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอุกกาบาตสร้างขึ้นในจุดที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 3,650 เมตร มีสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาที่สมบูรณ์ ปราศจากมลภาวะ สภาพอากาศบริสุทธิ์ เหมาะแก่การสำรวจทางดาราศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง

ท้องฟ้าจำลองแห่งใหม่จะมีกล้องโทรทรรศน์ออปติคอลที่มีรูรับแสงขนาด 1 เมตร ซึ่งจะเป็นกล้องโทรทรรศน์ออปติคอลแบบหักเหแสงขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และตอบสนองวัตถุประสงค์สองประการของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการเผยแพร่วิทยาศาสตร์ 

7F528F08 9922 4536 9C50 4C9E6D072797
08123AF0 858F 49E2 898B B6FFE3AE101B

รวมทั้งสอดคล้องกับลักษณะการใช้งานในพื้นที่สูง และมีฟังก์ชันการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เช่น ดาวแปรผัน การวัดแสงแบบดิฟเฟอเรนเชียล โฟโตเมทรี (differential photometry) ระบบดาวคู่ และการค้นหาเป้าหมายในอวกาศ

8F10594A C6F0 406D 8EB6 553C3B2F6196

ทั้งนี้ ท้องฟ้าจำลองทิเบต ถือเป็นสมาชิกสำคัญของเครือข่ายท้องฟ้าจำลองและหอดูดาวระดับชาติ โดยจะมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงการเผยแพร่วิทยาศาสตร์เชิงดาราศาสตร์ในทิเบต และศักยภาพการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์และอวกาศในจีน

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : CMG (China Media Group)/ซินหัว (XinhuaThai)