กรมวิชาการเกษตร แนะนำการตรวจสอบคุณภาพ ”เมล็ดพันธุ์ผักชี” ในห้องปฏิบัติการ

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรมีมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักชีนำเข้า โดยมีวิธีการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ตามคู่มือการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักชีในห้องปฏิบัติการ ซึ่งยึดหลักมาตรฐานของสมาคมทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์นานาชาติ (International Seed Testing Association ; ISTA) ทำให้ผลการตรวจสอบมีความแม่นยำ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และได้เมล็ดพันธุ์ผักชีนำเข้าที่ดีและมีคุณภาพสำหรับการเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์ผักชีเป็นเมล็ดพันธุ์ควบคุมที่มีความสำคัญทางเศรษกิจ เนื่องจากประเทศไทยไม่มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักชีเพื่อการค้า 

ดังนั้นจึงมีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ผักชีจากต่างประเทศมาใช้ในการเพาะปลูกทั้งสิ้น ซึ่งในปี 2565 มีมูลค่าการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ผักชีสูงถึง 121 ล้านบาท โดยเมล็ดพันธุ์ผักชีที่นำเข้ามานั้นต้องมีความงอกไม่ต่ำกว่า60% ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดมาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์ขั้นต่ำไว้

6E2A48E8 DD25 4887 ABE8 AE0C98460DD4

การทดสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ผักชี ทำให้ทราบถึงจํานวนหรือสัดส่วนของเมล็ดที่สามารถงอกเป็น
ต้นอ่อนที่สมบูรณ์ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการกําหนดอัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก การประเมินค่า หรือตีราคาเมล็ดพันธุ์ การเปรียบเทียบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์กับคุณภาพมาตรฐานที่กฎหมายกําหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกันในผลของการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์อันเนื่องมาจากความแตกต่างของการใช้วิธีการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่แตกต่างกัน จึงใช้วีธีการตรวจสอบตามวิธีมาตรฐานของสมาคมทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์นานาชาติ (International Seed Testing Association ; ISTA) 

โดยกลุ่มพัฒนาระบบตรวจสอบและรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืช กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช ได้ทำการเรียบเรียง และจัดทำเป็นคู่มือการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักชีในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้การตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ผักชีของผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการมีมาตรฐาน ชัดเจน แม่นยำ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

D3199F0B 88F3 4541 8B55 B3C22B91C67C

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า “เมล็ดพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นจุดเริ่มต้นของการเพาะปลูก เมื่อเมล็ดพันธุ์ดีจะได้ต้นกล้าที่แข็งแรง และเจริญเติบโตดี จึงทำให้ได้ผลผลิตสูง ดังนั้นการตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์ตามมาตรฐานในระดับสากล เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถชี้วัดคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ เพื่อประโยชน์ในการประเมินคุณค่าเมล็ดพันธุ์ทางการค้า การควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ตามกฎหมายได้ 

4918F316 5047 488C A97E D2773718CDC7
2B7606B6 87E5 4AC4 B4CC 2305B262616E scaled

ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แก่ผู้ประกอบการ และเกษตรกร ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มพัฒนาระบบครวจสอบและรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืช กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช โทร. 0-2564-4784” 

A612A326 CE51 4D5B AA7E 004F086B1836