วช.หนุน มก.คิดค้น แผ่นปูพื้นไฮบริดกันลื่น จากยางพาราและเส้นใยปาล์ม รองรับสังคมผู้สูงวัย

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนทุนแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ธาริณี นามพิชญ์ แห่งภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการคิดค้นนวัตกรรม “แผ่นปูพื้นไฮบริดคอมโพสิตธรรมชาติจากยางพาราและเส้นใยปาล์มเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ” โดยผลงานได้จัดแสดงในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566” ระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร

328831642 572548048072491 2780199667506908426 n
แผ่นปูพื้นไฮบริดกันลื่น

รองศาสตราจารย์ ดร.ธาริณี นามพิชญ์ เจ้าของผลงาน กล่าวว่า แผ่นปูพื้นไฮบริดคอมโพสิตธรรมชาติจากยางพาราและเส้นใยปาล์มเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ได้รับการสนับสนุนทุนจาก วช. เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทยที่กำลังเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันและป้องกันหรือลดการเกิดอุบัติเหตุของผู้สูงอายุจากการลื่นล้ม โดยนวัตกรรมนี้ได้มีการศึกษาพัฒนาแผ่นปูพื้นที่มีส่วนผสมของยางและสารเสริมแรงชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะสามารถช่วยลดอาการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุของผู้สูงอายุได้

328841769 559018999280005 4430605899733001802 n
แผ่นปูพื้นไฮบริดกันลื่น

โดยการใช้ยางพาราและเส้นใยปาล์มที่เหลือใช้จากภาคการเกษตรมาใช้ ทำให้ช่วยลดขยะจากภาคการเกษตรและยังช่วยเพิ่มมูลค่าพืชเศรษฐกิจอีกด้วย ซึ่งมีการทดสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คุณสมบัติด้านความทนแรงดึง หรือคุณสมบัติด้านความแข็ง เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวสามารถนำไปขยายผลต่อยอดไปสู่การใช้ประโยชน์ อาทิ การนำไปใช้ในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุหรือสถานสงเคราะห์คนชราเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุการลื่นล้มได้

นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนโดยการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากชุมชนมาใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อีกหนึ่งทางด้วย

ปัจจุบัน นวัตกรรม “แผ่นปูพื้นไฮบริดคอมโพสิตธรรมชาติจากยางพาราและเส้นใยปาล์มเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ” มีผลสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วและได้นำมาร่วมจัดแสดงในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566” ระหว่าง 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โซน E สิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์ บูธ EE01 กลุ่มสิ่งประดิษฐ์เพื่อสังคมสูงวัยและผู้พิการ Even Hall 101 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร

%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1 1
เส้นใยปาล์ม

ปัจจุบันวิกฤตทางสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกซึ่งทุกประเทศต่างให้ความสำคัญ ซึ่งแนวทางในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางหนึ่งคือ การนำวัสดุเหลือใช้ในการเกษตรหรืออุตสาหกรรมเกษตรมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ และเกิดมูลค่าสูงสุด โดยการนำชีวมวลเหล่านั้นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่า เป็นที่ต้องการของตลาด

อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเป็นอุตสาหกรรมหลักอย่างหนึ่งของภาคใต้ เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ และของประเทศไทย ของเสียในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันจึงสูงตามไปด้วย สำหรับเส้นใยผลปาล์มน้ำมันเป็นชีวมวลในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันปาล์มดิบที่มีปริมาณสูงมากอย่างหนึ่ง ซึ่งสัดส่วนชีวมวลต่อทะลายปาล์มสดจะประกอบด้วย ทะลายปาล์มเปล่า ร้อยละ 32 ใยปาล์ม ร้อยละ 19 และกะลาปาล์ม ร้อยละ 4 ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้เส้นใยปาล์มเป็นเชื้อเพลิงหรือใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเส้นใยจากผลปาล์มน้ำมันนั้นมีศักยภาพเพียงพอในการนำมาใช้ผลิตกระดาษได้เนื่องจากมีองค์ประกอบของเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบหลักประมาณร้อยละ77.7ซึ่งการนำเส้นใยผลปาล์มมาผลิตเป็นแผ่นปูพื้นไฮบริดกันลื่น เป็นหนทางหนึ่งในการช่วยลดปริมาณขยะอุตสาหกรรมได้