ผึ้งเป็นแมลงที่หาน้ำหวานและเกสรดอกไม้เป็นอาหาร โดยจะหากินบนดอกไม้ ชนิดเดียวกัน รวมทั้งผึ้งมีขนปกคลุมล้าตัวเป็นจำนวนมาก ท้าให้มี โอกาสที่เกสรตัวผู้จะติดและผสมกับเกสรตัวเมียสูง โดยสามารถเพิ่มผลผลิตลำไยได้ 9 เท่า เงาะโรงเรียนได้ 5 เท่าและลิ้นจี่ได้ 2 เท่า
ความแข็งแรงของประชากรผึ้งเองก็เป็นส่วนสำคัญที่จะเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผสมเกสร หากใช้ผึ้ง 1 รังต่อพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 1ไร่ จะมีผึ้งสนาม ประมาณ 60 –70 % ของผึ้งทั้งหมดโดย 1 รัง จะมีผึ้งงานตัวเต็มวัยประมาณ 40,000 – 50,000 ตัว
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักที่ส่งเสริมด้านพืช จึงให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการเกษตรที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และ สิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการป้องกันและกําจัดศัตรูแบบผสมผสาน การกําจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวล้วนแต่ก่อประโยชน์ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางด้านอาหาร และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
งานส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งเป็นอีกบทบาทภารกิจหนึ่งของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งได้ดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจมาเป็นเวลากว่า 40 ปี เพื่อใช้ในการช่วยผสมเกสรเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผลทางการเกษตร
ประเทศไทยได้ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์แมลงช่วยผสมเกสรตามธรรมชาติ และส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งเพื่อช่วยผสมเกสรพืชทางการเกษตร ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การอนุรักษ์ผึ้งช่วยในการผสมเกสรพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย หลายชนิดสามารถเพิ่มผลผลิตของไม้ผล พืชไร่ และพืชผักต่าง ๆ ได้อีกด้วย แมลงช่วยผสมเกสรในภาคการเกษตรของประเทศไทย ได้แก่ ผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ผึ้งมิ้ม ผึ้งหลวง และชันโรง
การใช้แมลงช่วยผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช เป็นวิธีการและปัจจัยที่มีความสำคัญปัจจัยหนึ่งเพราะพืชเศรษฐกิจทางการเกษตรหลายชนิด ถึงแม้ว่าจะมีการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี มีการเจริญเติบโต แข็งแรงออกดอกเต็มต้น หากไม่มีแมลงช่วยผสมเกสร ผลผลิตที่ได้รับก็จะบิดเบี้ยว ไม่สมบูรณ์ และไม่มีคุณภาพ
จากสถานการณ์ลิ้นจี่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ขณะนี้อยู่ในระยะช่วงแทงช่อดอกและดอกลิ้นจี่จะเริ่มบานประมาณปลายเดือนมกราคม 2566 เป็นต้นไป
ในช่วงระยะดอกบานการผสมเกสรของลิ้นจี่นั้น มีความจำเป็นจะต้องใช้ผึ้งช่วยในการผสมเกสร และทางจังหวัดสมุทรสงคราม โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับการประสานงานจากกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งว่าได้กำหนดนำผึ้งมาช่วยผสมเกสรลิ้นจี่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ณ สวนลิ้นจี่ทั่วพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม (พื้นที่เดิมที่เจ้าของผึ้งเคยวาง)
ทั้งนี้ จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ขอให้เกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูลิ้นจี่ให้แล้วเสร็จภายใน 20 มกราคม 2566 หรือหากมีความจำเป็นที่จะฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูลิ้นจี่หลังวันที่ 20 มกราคม 2566 ให้เลือกกลุ่มสารเคมีที่ไม่เป็นพิษแก่ผึ้ง เช่น อะมิทราซ (สารกำจัดไรศัตรูพืช) กำมะถันผง (สารกำจัดไรศัตรูพืช) ฯลฯ