เฉลิมชัย ขับเคลื่อน “เกษตรเทคโนโลยี” มุ่งสู่อนาคต ใช้Big Data และ Gov Tech (เกษตรอัจฉริยะ) สร้างรายได้ให้เกษตรชาวบ้าน

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ใจความว่า

“พี่ต่อ” ขับเคลื่อน “เกษตรเทคโนโลยี” มุ่งสู่อนาคต ใช้ Big Data และ Gov Tech (เกษตรอัจฉริยะ) สร้างรายได้ให้เกษตรชาวบ้าน ผลักดันเกษตรท้องถิ่นเป็นAgribusiness (ธุรกิจเกษตร) ผ่านศูนย์ AIC ทั่วประเทศ (ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC))

หมดยุค เก็บข้อมูลภาคเกษตรด้วยกระดาษ คำนวณสภาพอากาศลมฝน จากการมองฟ้าและดวงดวง

318634629 720952599393192 89674829207904579 n

เราอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีทันสมัยและก้าวกระโดด หันมาใช้ Big Data, AI, Mobile Technology หรือ Mobile Application ในการเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่แม่นยำ รวดเร็ว และต่อเนื่องในทุกฤดูกาลเกษตร ที่สำคัญพยากรณ์ ผลผลิตได้อีกด้วย

จับมือ ร่วมกันในทุกภาคส่วน บูรณาการ และขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งประเทศ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center ; AIC) กว่า 492ราย ทั่วไทย

318514259 720952642726521 980080171263821232 n

ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 ก.เกษตรฯ ภาครัฐ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคการศึกษา ภาคเอกชน และศูนย์ AIC จากทั่วประเทศ กว่า 492 ราย ร่วมดำเนินงานขับเคลื่อนพัฒนาภาคเกษตรไทย ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้าน Big Data และ Gov Tech 2.ด้านเกษตรอัจฉริยะ 3.ด้าน E-Commerce และ 4.ด้านธุรกิจเกษตร (Agribusiness)

โดยแบ่งการขับเคลื่อน ลงไปทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้

1.ขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ดำเนินงานการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าเกษตรผ่านระบบออนไลน์ มีมูลค่าการจำหน่ายสินค้า จากวันที่ 27 เมษายน 2563 ถึง วันที่ 15 ตุลาคม 2565 เป็นเงินจำนวน 523,792,120 บาท และในการขับเคลื่อนบูรณาการงานด้านการส่งเสริมธุรกิจเกษตร จะมีการจัดงาน Creative and Innovation for Agribusiness ระหว่างวันที่ 18 – 20 พฤศจิกายน 2565 ณ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.)โดยคณะทำงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชิงเกษตร เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน

2.ขับเคลื่อน E-Commerce ให้ความพร้อมและการขายสินค้าเกษตรแบบพรีออร์เดอร์ และการจัดฝึกอบรมเกษตรกรรายย่อยด้านช่องทางการทำตลาดออนไลน์ ผ่านช่องทาง Tiktok, Facebook และอื่นฯ

3.ขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี 2565 – 2566 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่

(1) การพัฒนา IoTs Platform สำหรับการผลิตทุเรียนแปลงใหญ่อัจฉริยะ

(2) แอปพลิเคชันทำนายและตรวจวิเคราะห์ศัตรูพืช (โรคพืช แมลงศัตรูพืช และวัชพืช) ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

(3) การพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร (เครื่องสาง+เครื่องม้วนใบอ้อย) เพื่อแก้ปัญหาการเผาอ้อย และความก้าวหน้าการเชื่อมโยงและเข้าถึงข้อมูลสภาพอากาศของเกษตรกรเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอัจฉริยะ

4.การขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech ดำเนินงานด้าน Gov Tech โครงการบริการออนไลน์ e-Service ระบบบริการภาครัฐของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีการให้บริการในรูปแบบ Digital ทั้งสิ้น จำนวน 175 บริการ เป็น Digital Service จำนวน 166 บริการ คิดเป็น 95% เหลืออีก 5% อยู่ระหว่างดำเนินการให้เป็น Digital Service จำนวน 9 บริการ

ส่วนการพัฒนาระบบบริการดิจิตอลที่เชื่อมโยง NSW แล้ว จำนวน 55 บริการ มีการอนุมัติและเป็น e-Signature ทั้งสิ้น 5 หน่วยงาน 46 บริการ มีการชำระเงิน และเป็น e-Payment ทั้งสิ้น 4 หน่วยงาน 38 บริการ

อีกทั้งได้มีการดำเนินงานด้านBig Data โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ จัดทำโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเกษตร มีระบบงานที่พัฒนาขึ้น จำนวน 5 ระบบ โดยผู้สนใจสามารถเข้าใช้งานผ่านทางเว็บไซต์

http://nabc.go.th/app/application ได้แก่

✓(1) ระบบการบูรณาการข้อมูลและจัดทำรายงาน

✓(2) ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics)

✓(3)ระบบปฏิทินการผลิตสินค้าเกษตร

✓(4) ระบบ Coaching Program Platform (CPP) และ

✓(5) ระบบ Public AI ให้บริการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตร

และในอนาคต มีมติให้ความเห็นชอบสนับสนุนโครงการพัฒนา “ฟู้ดวัลเลย์” จังหวัดภาคกลางตอนล่าง(RAINs For Lower Central Provinces Food Valley )โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชบุรี ในฐานะศูนย์ AIC จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีเป้าหมายการขับเคลื่อนในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง เพื่อพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์อาหารให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและฐานทรัพยากรธรรมชาติ ใน 2 กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร คือ อาหารสุขภาพ (Healthy Food) และอาหารวัฒนธรรม (Cultural Food) เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากพืชและอาหารในพื้นที่เพิ่มมูลค่าเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ทั้งในและต่างประเทศ โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพปลอดภัย (GAP) จากพืชเศรฐกิจที่ผลิตได้ในภูมิภาค ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเชิงสุขภาพ สร้างความแตกต่าง เพื่อเป็นผู้นำตลาดอาหารสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารวัฒนธรรมที่ตรงตามความต้องการผู้บริโภค

กระบวนการพัฒนาตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ (วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์) จนถึงปลายน้ำ (การจัดจำหน่ายสินค้า) สู่เกษตรมูลค่าสูง โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ Quad-Helixระหว่าง ผู้ประกอบการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัยเครือข่าย (มรภ.เพชรบุรี มรภ.กาญจนบุรี และมรภ.หมู่บ้านจอมบึง) ซึ่งในปัจจุบันมี 5 โครงการที่ผ่านการคัดเลือก แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ

1.ด้าน Healthy Food (HF) จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ การพัฒนาเครื่องดื่มเยลลี่เพื่อสุขภาพจากผลไม้ สมุนไพร ท้องถิ่นภาคตะวันตกของประเทศไทย (บริษัท น้ำแควแฮปปี้ฟูด จำกัด) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าทรงเครื่องวีแกนบอลจากโปรตีนพืชท้องถิ่น (บริษัท เพชรบุรีโอท็อป อินเตอร์เทรดเดอร์ จำกัด)

2.ด้าน Cultural Food (CF) จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งให้พลังงานสูงจากกระยาสารท (วิสาหิจชุมชนแม่ช่อมาลีกระยาสารทมะพร้าวน้ำหอม) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมเม็ดขนุนโดยใช้สารทดแทนน้ำตาลเชิงพาณิชย์ (กลุ่มวิสาหกิจขนมหวานห้วยโรง) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้ลำดวนผสมข้าวไรซ์เบอร์รี่ (บริษัทเพชรบุรีไทยดีเสริท์ จำกัด)

นอกจากนี้ มรภ.เพชรบุรี ได้มีการเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อน Node แบบ Quad helix มีห้องปฏิบัติการเครือข่าย 7 ด้าน คือ 1) ห้องปฏิบัติการเคมีอาหาร และการวิเคราะห์ขั้นสูง 2) ห้องปฏิบัติการควบคุมและประกันคุณภาพเคมีฟิสิกส์ 3) ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์จุลชีววิทยา 4) ห้องปฏิบัติการสาธิตการประกอบอาหาร 5) ห้องปฏิบัติการแปรรูปอาหาร 6) ห้องปฏิบัติการเบเกอรี่ 7) ห้องปฏิบัติการ Sensory ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงความร่วมมือกันทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาเกษตรอาหารจากระดับพื้นที่สู่เกษตรอุตสาหกรรมต่อไป