ผู้สื่อข่าวเดินทางไปพบนาย ฐานันดร ชินะเมธา ประธานบริษัท Chief Executive Officer กำลังให้ข้อมูลกับบรรดานักวิชาการ กรมประมง และประชาชนที่สนใจโดยบรรยายวิธีการเปลี่ยนขยะอินทรีย์ให้เป็นปุ๋ย พร้อมการสาธิตให้เห็นของจริง ด้วยการนำปลาหมอคางดำ ทั้งที่เป็นปลาสดๆและที่ต้มมาแล้ว เข้าเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ จากนั้นกดปุ่ม รอเวลาไม่เกิน 30 นาที ก็พบว่า ซากปลาหมอคางดำเปลี่ยนสภาพเป็นดินออร์แกนิกที่แห้งไม่มีกลิ่น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
นายฐานันดร เปิดเผยว่า ได้ศึกษาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพบข้อมูลเรื่องการจัดการน้ำขยะมูลฝอยโดยการใช้ธรรมชาติ จึงเริ่มศึกษาและปฏิบัติตามรอยศาสตร์พระราชา ซึ่งสิ่งที่ทดลองและได้ค้นพบคือขบวนการใช้อากาศให้เป็นตัวย่อยสลายขยะ เมื่อเข้าใจแล้วได้ลองทำจนสำเร็จ สามารถเข้าพัฒนา บริหารจัดการขยะในหน่วยงานและองค์กรต่างๆทั่วประเทศ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ เช่น ที่บ่อกำจัดขยะมูลฝอยในภายหน่วยนาวิกโยธินกองทัพเรือ ศูนย์ฝังกลบขยะมูลฝอยเทศบาลหลายแห่ง ทั่วประเทศ
ล่าสุดได้ผลิตเครื่องย่อยสลายขยะอินทรีย์ให้เป็นดินออร์แกนิกภายใน 15 ถึง 30 นาที เพื่อใช้กับโรงงานโรงแรมหมู่บ้านห้างสรรพสินค้าตลาดและครัวเรือน แม้แต่ปลาหมอคางดำที่กำลังเกิดปัญหาในปัจจุบันนี้เครื่องย่อยสลายอินทรีย์ก็สามารถย่อยปลาหมอคางดำสดๆ ให้เป็นดินออร์แกนิกได้ภายใน 30 นาที
เครื่องย่อยขยะอินทรีย์ เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อย่อยสลายขยะอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร, เศษผักผลไม้, หรือขยะจากการเกษตรให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือดินออร์แกนิก ที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ เครื่องย่อยขยะอินทรีย์ทำงานโดยใช้กระบวนการชีวภาพ ซึ่งมีจุลินทรีย์เข้ามาช่วยเร่งการย่อยสลาย มีระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นเพื่อให้กระบวนการย่อยสลายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับตัวเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ได้วันละ 1 ตัน ประโยชน์ที่ได้คือช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปทิ้งในหลุมฝังกลบผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถใช้ในเกษตรกรรม และปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะ ปลอดภัยจากสารเคมี
โดยการทำงานของเครื่องย่อยคือ ขยะอินทรีย์จะถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ที่ทำงานในสภาวะควบคุม อุณหภูมิ, ความชื้น, และปริมาณออกซิเจน กระบวนการนี้ ปกติใช้เวลาหลายวัน หลายสัปดาห์ แต่สำหรับเครื่องนี้ได้รับการพัฒนานวัตกรรม จนทำให้ใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที
หลังการย่อยสลายเสร็จสิ้นได้ผลิตภัณฑ์เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารสูง สามารถนำไปใช้ในการเกษตร การปลูกต้นไม้ หรือการปรับปรุงดินได้ ซึ่งกระบวนการทำงานเหล่านี้ ทำให้การจัดการขยะอินทรีย์เป็นเรื่องง่ายขึ้น และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการจัดการขยะอย่างยั่งยืนอีกด้วย