การศึกษาของออสเตรเลียพบว่าคลื่นเสียงสามารถเร่งการเจริญเติบโตของเชื้อราในดิน ซึ่งปลดล็อกศักยภาพสำหรับการปรับปรุงการฟื้นตัวของระบบนิเวศ
การศึกษาซึ่งเผยแพร่โดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์สในวันอังคาร (30 ม.ค.) บันทึกการเร่งความเร็วในการเติบโตของเชื้อราในดินเมื่อสัมผัสกับเสียงในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม
เจค โรบินสัน นักนิเวศวิทยาด้านจุลินทรีย์จากมหาลัยฯ และผู้ร่วมเขียนบทความวิจัย กล่าวว่าการค้นพบครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเสียงเชิงนิเวศ (eco-acoustics) ในการสนับสนุนการฟื้นฟูระบบนิเวศ การผลิตอาหาร และการทำปุ๋ยหมัก พร้อมเสริมว่าดินมากกว่าร้อยละ 75 ของโลกเสื่อมโทรมลง เราจึงต้องใช้มาตรการเด็ดขาดเพื่อพลิกกลับแนวโน้มนี้ และเริ่มฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
งานวิจัยนี้ทำให้คณะนักวิจัยรู้สึกประหลาดใจเมื่อพบว่าเชื้อราที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชทั่วไป เพิ่มจำนวนชีวมวลเซลล์สปอร์เริ่มต้นเกือบห้าเท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มเชื้อราที่มีการควบคุมด้วยคลื่นเสียงในระดับเสียงรอบข้างทั่วไป
คณะนักวิจัยได้ฝังถุงชาแบบปกติลงไปเพื่อให้มวลชีวภาพเจริญเติบโต เนื่องจากส่วนประกอบสารอินทรีย์ของถุงชาจะย่อยสลาย และถูกควบคุมอยู่ภายใต้เสียงรบกวนระดับต่างกันตลอด 14 วัน
ส่วนประกอบสารอินทรีย์ข้างต้นที่สัมผัสคลื่นเสียงโมโนโทนระดับเสียงสูงประมาณ 80 เดซิเบล นานกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน มีการเติบโตของเชื้อรามากกว่ากลุ่มที่ควบคุมด้วยเสียงระดับ 30 เดซิเบล
ด้าน มาร์ติน บรีด ผู้ร่วมเขียนการศึกษาดังกล่าว ชี้ว่าการค้นพบนี้นอกจากจะปูทางสำหรับการเจริญเติบโตของพืชพรรณที่ดีขึ้นแล้ว ยังอาจนำไปสู่การนำสายพันธุ์พืชที่หายสาบสูญกลับคืนมาอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : สำนักข่าวซินหัว(Xinhua)