จีนทุ่มพัฒนา”เกษตรกรรมสีเขียว”คาร์บอนต่ำ

ทุกๆปี การผลิตพืชผลการเกษตรของจีนจะก่อให้เกิดเศษฟางมากกว่า 800 ล้านตัน เศษฟางเหล่านี้เคยถูกมองว่า “เป็นของเหลือทิ้งจากการเกษตร” 

แต่ในช่วงหลายปีมานี้ หลายท้องที่ต่างแสวงหาวิธีการใช้เศษฟางอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกระตุ้นการอนุรักษ์ระบบนิเวศ การพัฒนาอุตสาหกรรมและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

26A8731D B8F2 4324 BF65 2F1D7EEDAA00
68875E12 9BDC 4D05 AA44 6F8040EA2EEE

ที่เมืองซินเซียง ในมณฑลเหอหนาน ในระหว่างการเก็บเกี่ยวข้าวสาลีนั้น เศษฟางจะถูกตัดและกลับคืนสู่ที่นาไปพร้อมกัน ซึ่งทำให้พื้นที่เพาะปลูกมีอินทรียวัตถุมากมายทั้ง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและธาตุอื่น ๆ 

ซึ่งไม่เพียงแต่ปรับปรุงดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในดินด้วย เกษตรกรในท้องถิ่นกล่าวว่าพวกเขาใช้ปุ๋ยเคมีลดลง แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิม 6,000 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ เป็นกว่า 7,000 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์

E9CB9F8A 94F2 4861 9F43 A4F242C5FB14

นอกจากนี้ ท้องถิ่นยังได้ใช้เครื่องอัดฟาง ซึ่งจะดูดฟางเข้าไปในเครื่อง แล้วบีบอัดเป็นรูปทรงและมัดเอาไว้จากนั้นก็จะนำไปแปรรูป ก็จะได้อาหารสัตว์ที่อุดมด้วยสารอาหารออกมา

อำเภอผัวหยาง มณฑลเจียงซี ติดกับทะเลสาบผัวหยาง เต็มไปด้วยแม่น้ำโดยรอบ ฝ่ายบริหารท้องถิ่นได้สร้างระบบผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขึ้นมา เกิดเป็นรูปแบบ “การบูรณาการระหว่างประมงและแสงอาทิตย์” ซึ่งเป็นการประมงสีเขียวที่สามารถผลิตไฟฟ้าบนผิวน้ำ 

25012F2C BF5E 4415 B231 59692AF4BF57
0EB3FB01 01EC 43C7 A1A4 3E66049F88DA

ส่วนใต้น้ำก็เลี้ยงปลาได้ด้วย สามารถผสมผสานการเลี้ยงปลาและการผลิตไฟฟ้าสีเขียว นอกจากจะช่วยพัฒนาการเกษตรแบบคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้แล้ว ยังช่วยสร้างตำแหน่งงานให้กับชาวบ้านในละแวกแหล่งน้ำทั้งด้านการประมง การลาดตระเวนอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ และอื่น ๆ

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : CMG (China Media Group)