ชป.ลำเลียงน้ำส่วนเกิน เก็บกักไว้ในอ่างฯบางพระ รับมือฤดูแล้งเมืองชล มีน้ำพอใช้

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%9B1 1 scaled
ชป.ลำเลียงน้ำส่วนเกิน เก็บกักไว้ในอ่างฯบางพระ รับมือฤดูแล้งเมืองชล

ฝนที่ตกกระจายตัวต่อเนื่องในพื้นที่ตอนบนของประเทศ ในช่วงปลายฤดูฝนที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ส่งผลดีต่อปริมาณน้ำในเขื่อน และในแหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติ มีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น  กรมชลประทาน ได้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ควบคู่ไปกับการเก็บกัก  พร้อมจัดจราจรน้ำอย่างเชื่อมโยงกันตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ มีการวางแผนนำน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่เจ้าพระยาไว้ให้เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%9B2 1
ชป.ลำเลียงน้ำส่วนเกิน เก็บกักไว้ในอ่างฯบางพระ รับมือฤดูแล้งเมืองชล

นอกจากนี้ ยังได้ลำเลียงน้ำส่วนเกินจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก ผ่านอาคารชลประทานและคลองระบายน้ำที่อยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ คลองชัยนาท-ป่าสัก คลองระพีพัฒน์ คลอง 13 คลองบางขนาก และคลองประเวศน์ ลงสู่คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต  ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ริมคลอง ก่อนจะใช้สถานีสูบน้ำคลองพระองค์ฯ-บางพระ สูบน้ำไปเติมให้กับอ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้ได้มากที่สุด สำหรับสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ตามมาตรการรับมือฤดูแล้งปี 2566/67 ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ EEC และพื้นที่ใกล้เคียงได้อีกด้วย ตามนโยบายของรัฐบาล และร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%9B3
ชป.ลำเลียงน้ำส่วนเกิน เก็บกักไว้ในอ่างฯบางพระ รับมือฤดูแล้งเมืองชล