นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 292/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เพื่อให้การดำเนินการของรัฐบาลในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาสินค้าข้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดประสิทธิผล เป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ผลิต ระบบการผลิต การตลาด และการแปรรูปข้าวอย่างครบวงจรอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “นบข.”
โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
องค์ประกอบ
1.1นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย)รองประธานกรรมการ
1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
1.5 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ที่ได้รับมอบหมาย กรรมการ
1.6 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
1.7 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
1.8 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
1.9 ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
1.10 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
1.11 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
1.12 เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
1.13 อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กรรมการ
1.14 เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรรมการ
1.15 ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กรรมการ
1.16 ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรรมการ
1.17 นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กรรมการ
1.18 นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กรรมการ
1.19 นายกสมาคมโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรรมการ
1.20 นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ กรรมการ
1.21 นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ กรรมการ
1.22 พันตำรวจโท ปิยวิชญ์ วงศ์สวัสดิ์ กรรมการ
1.23 นายวิชัย โกอุดมวิทย์ กรรมการ
1.24 ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการและเลขานุการ
1.25 อธิบดีกรมการค้าภายใน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
1.26 อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
1.27 อธิบดีกรมการข้าว กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ
2.1 กำหนดกรอบนโยบาย แผนงาน และมาตรการเกี่ยวกับสินค้าข้าว เพื่อให้การบริหารจัดการ สินค้าข้าวสอดคล้องกันทั้งระบบและสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสำเร็จลุล่วง
2.2 เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าวต่อคณะรัฐมนตรีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้ การบริหารจัดการข้าวสอดคล้องกันทั้งระบบและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุน และส่งเสริม การผลิตข้าวที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายในประเทศและตลาดโลก
2.4 พิจารณากำหนดหลักกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงสี ผู้ค้า และผู้ส่งออกข้าว เพื่อให้การบริหารจัดการข้าวทั้งระบบเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ
2.5 ติดตามและกำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน มาตรการ และ โครงการที่อนุมัติ
2.6 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการด้านการผลิต การตลาด การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้าว หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
2.7 เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและความเห็น รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของ นบข. โดยให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของทางราชการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการของ นบข.
2.8 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
3.. สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่จำเป็นต่อ
การปฏิบัติงานของ นบข. คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.2547 หรือตามระเบียบราชการแล้วแต่กรณี โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของกรมการค้าภายในทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป