นายชวลิต จันทรรัตน์ วิศวกรแหล่งน้ำ และกรรมการ บมจ. ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ (TEAMG) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำของประเทศไทยโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า อัพเดท 7 ต.ค.: พายุไต้ฝุ่นโคอินุ (#14:Koinu=ดาวหมาญี่ปุ่น) ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ในมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นพายุลูกที่ 14 ของปีนี้ เคลื่อนที่ทางทิศตะวันตก
. . 3 ต.ค. เพิ่มกำลังแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1, 2 และ 3 (สูงสุด=5)
. . 4-5 ต.ค. ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมากในไต้หวันทั้งประเทศ
. . 7 ต.ค. ทำให้ฝนตกหนักที่ฮ่องกง แล้วเคลื่อนที่ต่อไปทางตะวันตกเฉียงใต้
. . 8 ต.ค. ลดกำลังลงอย่างรวดเร็วเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2, 1 และเป็นพายุโซนร้อน ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมากที่ไหหลำ แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น
. . 9-10 ต.ค. ขึ้นฝั่งเวียดนาม ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ที่เมืองดองฮอย และพื้นที่ใกล้เคียง
. . และฝนตกหนักในพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่สุวรรณเขต ลงไปถึงจำปาสัก
. . และเริ่มมีฝนตกปานกลางถึงตกหนัก ในจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร อุบลราชธานี ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพมหานคร
. . หากไม่มีความเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศสูงมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน จากการคาดการณ์เบื้องต้น คาดว่า
.
. 11 ต.ค.พายุดีเปรสชั่น อาจจะมาถึงอุบลราชธานี ต้องติดตามใกล้ชิดว่าจะเคลื่อนที่เข้ามาถึงภาคอิสานตอนกลางหรือไม่ และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนที่จากฟิลิปปินส์ มาวนอยู่ในทะเลจีนใต้นั้นว่าจะไปทิศทางใด
. . 9 ถึง 16 ต.ค.66 ร่องความกดอากาศต่ำจะขยับตัวสูงขึ้นไปพาดผ่านภาคอิสานตอนบน แล้วเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคอิสานตอนกลาง
. . ทำให้ฝนตกเพิ่มขึ้น ในพื้นที่ภาคอิสานตอนตอนบน และตอนกลาง ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพมหานคร และภาคใต้ฝั่งอันดามัน
. . จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า มีความจำเป็นต้องระบายน้ำพร่องน้ำเพิ่มเติมออกจากเขื่อนที่มีน้ำมาก ในแนวร่องความกดอากาศต่ำดังกล่าว เช่นลำปาว น้ำอูน น้ำพุง หนองหาร ห้วยหลวง อีกหรือไม่ เนื่องจากจะไปซ้ำเติมสภาพน้ำท่วมในพื้นที่ท้ายน้ำ ลำน้ำอูน ลำน้ำก่ำ และ ลำน้ำมูล ตั้งแต่อุบล วารินชำราบ ลงไปถึงพิบูลย์มังสาหาร