กรมส่งเสริมการเกษตรลงพื้นที่ติดตาม 4 วิสาหกิจชุมชนฯ ตำบลคลองประสงค์ จังหวัดกระบี่ : แหล่งผลิตข้าวสังข์หยด-เรือหัวโทง-ผ้าปาเต๊ะ-เลี้ยงผึ้งโพรง

376421096 663299072572728 4020110434268285234 n
นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยนายอนุชา ยาอีด ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา นายชำนาญ นุ่นดำ เกษตรจังหวัดกระบี่ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกระบี่ ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและติดตามการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนตำบลคลองประสงค์ ดังนี้

1. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาวนาตำบลคลองประสงค์ บ้านเกาะกลาง หมู่ที่ 1 ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ และเป็นแปลงใหญ่ข้าวอีกด้วยเป็นแหล่งผลิตข้าวสังข์หยดคุณภาพดี เพราะสภาพพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกข้าวนั้นเป็นการปลูกบนเกาะกลางน้ำที่มีน้ำเค็มล้อมรอบ น้ำที่ใช้ทำนามีน้ำฝนและน้ำกร่อยเพื่อการเจริญเติบต้นข้าวในแปลงนา ทำให้ข้าวสังข์หยดของที่นี่แตกต่างจากที่อื่น ๆ แม้ว่าจะอยู่บนเกาะที่รายล้อมด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ แต่การปลูกข้าวกลับไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก

นายประวัติ คลองรั้ว ประธานกลุ่มได้กล่าวว่าปัญหาเหล่าทัพตัวน้อย ซึ่งมักยกพลมาบุกนาข้าวของกลุ่มชาวนาบ้านเกาะกลางเป็นประจำทุกปีด้วย ซึ่ง 4 เหล่าทัพที่ว่านี้ก็คือ ทัพเรือหรือหอยเชอรี่ ศัตรูตัวฉกาจของข้าวในระยะหลังหว่าน ชอบกัดกินต้นข้าวอ่อน ๆ ถัดมาคือทัพบกที่จะยกพลมากันในช่วงที่ข้าวเริ่มตั้งท้อง ซึ่งก็คือหนูนั่นเอง และเมื่อข้าวเริ่มออกรวงอร่ามเต็มท้องทุ่งแล้ว ก็ถึงเวลาของทัพอากาศ เหล่านกลาทั้งหลายที่จะบินมาสมทบอีกทาง ยังไม่นับรวมอีก 1 ตระเวนชายแดนที่อยู่ติดกับป่าโกงกางซึ่งก็คือลิงที่สร้างความเสียหายแก่ข้าว เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้มอบหมายและกำชับให้กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกระบี่ สนับสนุนและส่งเสริมการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวตลอดการผลิตปี 2566/2567

374158359 663272725908696 7964293716732860801 n 1
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเรือหัวโทงจำลองบ้านเกาะกลาง

2. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเรือหัวโทงจำลองบ้านเกาะกลาง หมู่ที่ 1 ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ โดยมีนายสมบูรณ์ หมั่นค้า เป็นประธาน กลุ่มจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสืบสานวิถีชีวิตของชาวเกาะกลางสมัยก่อนที่นิยมใช้เรือหัวโทงทำประมงหาเลี้ยงชีพและใช้ในการเดินทาง ปัจจุบันอาชีพนี้เริ่มน้อยลงเพราะการใช้งานลดลง เรือหัวโทงแบบดั่งเดิมเริ่มจะหาย ชาวบ้านเลยรวมกลุ่มกันเพื่อทำเรือหัวโทงจำลองขึ้น ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว “เกาะกลาง” จะได้เรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาของเรือหัวโทง และทดลองประกอบชิ้นส่วนและโครงสร้างของเรือหัวโทงด้วยตนเอง โดยเรือหัวโทงจำลองจากเกาะกลาง ได้พัฒนาเป็นสินค้า OTOP ระดับ 4 ดาว ที่มีชื่อเสียงต่อมาได้ทำเรือหัวโทงขนาดเล็กที่เป็น “เรือหัวโทงจำลอง บ้านเกาะกลาง ผลิตภัณฑ์เด่นสัญลักษณ์ กระบี่” เรือหัวโทงจำลองฝีมือสมาชิกกลุ่มผลิตเรือหัวโทงจำลอง ไม่เพียงสร้างรายได้อย่างให้ชาวบ้านเกาะกลางเท่านั้น หากแต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดกระบี่ให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปอีกด้วย

%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%87
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเรือหัวโทงจำลองบ้านเกาะกลาง
376683548 663272889242013 3457331198671210232 n 1
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเรือหัวโทงจำลองบ้านเกาะกลาง

3. วิสาหกิจชุมชนผ้าปาเต๊ะแม่บ้าน อบจ. หมู่ที่ 2 ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ที่เกิดจากการรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตผ้าปาเต๊ะส่งขายเป็นการหารายได้เสริมให้กับครอบครัว โดยได้แนวคิดและวิธีการทำผ้าปาเต๊ะมาจากจังหวัดปัตตานี มีการผสมผสานกันระหว่างการทำผ้าปาเต๊ะของชาวมาเลย์ กับการทำผ้าบาติค จึงได้ผ้าที่มีสีสัน และลวดลายที่มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว งานศิลปะบนผืนผ้าที่เต็มไปด้วยความพิถีพิถัน และใส่ใจในการทำ ที่นี่พร้อมเปิดรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเรียนรู้ และทดลองทำผ้าปาเต๊ะด้วยมืองตัวเอง และยังมีจำหน่ายสินค้าที่ทำจากผ้าปาเต๊ะ เช่น ผ้านุ่ง ผ้าคลุมไหล่ ผ้าเช็ดหน้า อีกด้วย

376851852 663273252575310 8270515435255023975 n
วิสาหกิจชุมชนผ้าปาเต๊ะแม่บ้าน อบจ.
376844103 663273415908627 3204560187913381614 n
วิสาหกิจชุมชนผ้าปาเต๊ะแม่บ้าน อบจ.

4. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มการเกษตรพอเพียงการเลี้ยงผึ้งโพรง หมู่ 3 บ้านคลองกำ ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันมี “ตลาดปันรักษ์ บ้านคลองกำ“เป็นตลาดชุมชน สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่อย่างดี เน้นอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงมุ่งเน้นการทำกิจกรรมที่ช่วยลดโลกร้อน เช่น การลดใช้พลาสติกแบบการใช้วัสดุธรรมชาติในการหีบห่อ จำหน่ายอาหาร ขนมพื้นบ้านและสินค้าที่ประดิษฐ์จากภูมิปัญญาของชุมชน