กรมการข้าว ส่งเสริมสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยหลักการคาร์บอนเครดิตในนาข้าว ย้ำทำนารักษ์โลก เรื่องง่าย ๆ เริ่มต้นได้ไปด้วยกัน

ในปัจจุบันประชากรทั่วโลกเพิ่มจำนวนมากขึ้นและการทำกิจกรรมด้านต่างๆ ส่วนหนึ่งอาจก่อให้เกิดมลพิษเป็นผลเสียต่อสภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) โดยภาคการเกษตรถือเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนมากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคพลังงาน และประมาณครึ่งหนึ่งของภาคการเกษตรทั้งหมด มาจากการปลดปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าว ซึ่งก๊าซเรือนกระจกนี้ จะกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้บนโลก ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสมดุลของธรรมชาติ มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลก

%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99
ดร.เฟื่องลดา ธนะโชติ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กองวิจัยและพัฒนาข้าว

ทำไมต้องลดก๊าซเรือนกระจก

ดร.เฟื่องลดา ธนะโชติ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กองวิจัยและพัฒนาข้าว กล่าวที่มีของการดำเนินงานว่า ตามข้อตกลงในพิธีสารเกียวโต และความตกลงปารีส ได้มีการกำหนดกลไกที่จะให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้องดำเนินการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ซึ่งหนึ่งในกลไก คือการซื้อขายมลพิษ หรือ คาร์บอนเครดิต กับประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้วอาจจะอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปสู่เป้าหมาย หรือตามเกณฑ์ที่กำหนดได้

486242
กรมการข้าว ส่งเสริมสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยหลักการคาร์บอนเครดิตในนาข้าว

คาร์บอนเครดิต หมายถึง “สิทธิ” ที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการที่บุคคลหรือองค์กรได้ดำเนินโครงการหรือมาตรการที่มีเป้าหมาย เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้ สามารถวัดปริมาณและสามารถนำไปซื้อขายในตลาดซื้อขายของคาร์บอนเครดิตได้

486243
กรมการข้าว ส่งเสริมสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยหลักการคาร์บอนเครดิตในนาข้าว

โดยเป้าหมายการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นผลจากความร่วมมือของประเทศทั่วโลก ที่จะช่วยกันยับยั้งและแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน ซึ่งเป้าหมายนั้นมีความมากน้อยแตกต่างกันตามศักยภาพของประเทศนั้นๆ ประเทศที่มีการควบคุมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก สามารถดำเนินการลดหรือกักเก็บคาร์บอนได้ ผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ เช่น การปลูกป่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียว หรือการปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ถ้าองค์กรหรือประเทศไหน สามารถดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจก ให้มีการปล่อยได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ก็สามารถนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ ลด หรือ กักเก็บ ได้ ไปขายในรูปแบบของคาร์บอนเครดิตให้กับองค์กรที่ต้องการจะรับซื้อ ในขณะเดียวกัน องค์กรหรือประเทศไหนที่มีความต้องการที่จะปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่มากเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ก็สามารถที่จะไปซื้อคาร์บอนเครดิตเหล่านี้จากผู้ขาย เพื่อเพิ่มปริมาณและความสามารถในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับองค์กรตนเองได้

486244
กรมการข้าว ส่งเสริมสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยหลักการคาร์บอนเครดิตในนาข้าว

ดร.เฟื่องลดา กล่าวต่ออีกว่า ในเรื่องของการทำนาข้าว เกษตรกรสามารถมีส่วนในการช่วยโลกได้ โดยการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านวิธีต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ การผลิตข้าวตามคำแนะนำของกรมการข้าว ด้วยนโยบาย 4 ป ได้แก่ ป.1 คือ การปรับระดับพื้นที่ดินนา ให้มีความราบเรียบและสม่ำเสมอ ป.2 คือ วิธีการจัดการน้ำในนาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ป.3 คือ การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และ ป.4 คือ การแปรสภาพฟางและตอซังแบบปลอดการเผา อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบัน วิธีการที่มีศักยภาพและมีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตอยู่ในปัจจุบัน คือการทำนาด้วยวิธีการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง

486245
กรมการข้าว ส่งเสริมสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยหลักการคาร์บอนเครดิตในนาข้าว

กรมการข้าว ได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตให้กับชาวนา สร้างการรับรู้ถึงข้อดีและประโยชน์ที่ชาวนาจะได้รับจากการสร้างคาร์บอนเครดิต โดยได้นำองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งและเทคโนโลยี 4ป. มาถ่ายทอดและส่งเสริมให้กับชาวนา ซึ่งการทำนาแบบเปียกสลับแห้งนั้น จะช่วยลดการเกิดก๊าซมีเทนในดินที่เป็นต้นเหตุของสภาวะเรือนกระจกได้ นอกจากนี้ กรมการข้าว ยังตั้งเป้าหมายในการรณรงค์ให้ชาวนางดการเผาตอซังและฟางข้าว เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ควบคู่การสร้างคาร์บอนเครดิตให้ชาวนานำไปสร้างรายได้เสริม โดยมี สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในนาข้าว ดร.เฟื่องลดา กล่าว