เอลนีโญลากยาว วอนทุกฝ่ายประหยัดน้ำ ทางรอดฝ่าวิกฤตภัยแล้ง

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%9B3
นายประพิศ  จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน

นายประพิศ  จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (31 ส.ค. 66) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 41,993 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุอ่างฯรวมกัน สามารถรับน้ำได้รวมกันอีกประมาณ 34,344 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 10,124 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ รวมกัน สามารถรับน้ำได้รวมกันอีกประมาณ 14,747 ล้าน ลบ.ม.

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%9B2
เอลนีโญลากยาว วอนทุกฝ่ายประหยัดน้ำ ทางรอดฝ่าวิกฤตภัยแล้ง

สำหรับการทำนาปี จนถึงขณะนี้มีการทำนาปีทั่วประเทศไปแล้วประมาณ 14.96 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ  88 ของแผนฯ เก็บเกี่ยวแล้ว 2.90 ล้านไร่ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำนาปีไปแล้ว 7.49 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 93 ของแผนฯ เก็บเกี่ยวไปแล้ว 2.53 ล้านไร่ ในส่วนของสถานการณ์ค่าความเค็มใน 4 ลำน้ำสายหลักอยู่ในเกณฑ์ปกติ

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%9B1
เอลนีโญลากยาว วอนทุกฝ่ายประหยัดน้ำ ทางรอดฝ่าวิกฤตภัยแล้ง

ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า สถานการณ์เอลนีโญ ยังคงมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายปี 2566 และอาจลากยาวไปจนถึงปีหน้า จึงได้สั่งการให้โครงการชลประทานทุกแห่ง เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้น ด้วยการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด มีการวางแผนบริหารจัดการน้ำล่วงหน้า 2 ปี ควบคู่ไปกับการดำเนินการตาม 5 มาตการในการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนของกรมชลประทาน ได้แก่

1. น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคต้องเพียงพอตลอดทั้งปี 

2.บริหารจัดการน้ำท่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3.ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชโดยใช้น้ำฝนเป็นหลัก

4.กักเก็บน้ำในเขื่อนไว้ให้ได้มากที่สุด

5.บริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัย

เพื่อบรรเทาปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้งขอความร่วมมือเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวนาปีรอบแรกและเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ ให้งดเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอ ตลอดจนประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัด การจัดหาแหล่งเก็บกักน้ำหรือภาชนะสำรองน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนให้ได้มากที่สุด เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต