ประวัติพันธุ์
จังหวัดสกลนครในอดีตเรียกเมืองหนองหารหลวง ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นราชธานี พ.ศ.2370 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งเปลี่ยนนามเมืองใหม่ว่า สกลทวาปี และ พ.ศ.2381 ได้มีการจัดตั้งเจ้าราชวงศ์ (ดํา) สืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองนครพนม และเปลี่ยนนามเมืองอีกครั้งเป็นเมืองสกลนคร พ.ศ. 2476 มีการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศสยาม เมืองสกลนครจึงเปลี่ยนนามมาเป็นจังหวัดสกลนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ประชากรในพื้นที่เป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากเมืองเก่าๆ ทางฝั่งซ้ายของลําน้ำโขงโดยเฉพาะชนเผ่าภูไท ในอดีต 200 ปีที่แล้ว ท้าวผาอิน จะอพยพมาอยู่บ้านนาบ่อ (เป็นหมู่บ้านหนึ่งในอําเภอวาริชภูมิ) ท่านมีลูกหลายคนเลี้ยงวัวเลี้ยงควายทําไร่ไถนา ข้าวไม่พอกินเหลือเวลาอีกตั้งหนึ่งเดือนก่อนถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวเลยเก็บข้าวที่ใกล้จะสุก (เริ่มจะออกเหลืองอ่อนๆ) มาผ่านกรรมวิธีตามภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะการนึ่ง เตาที่ใช้นึ่งจะขุดดินทําเป็นร่องหรือราง(ฮาง) เพื่อเป็นที่ใส่พื้น แล้วทําเป็นปากปล่องสําหรับให้เปลวไฟขึ้นและตั้งหม้อนึ่ง ภาษาอีสานเรียกว่า เตาฮาง ดังนั้นชื่อ “ ข้าวฮาง ” จึงเป็นชื่อเรียกตามลักษณะนามของเตาที่ใช้นึ่งข้าว
ลักษณะประจำพันธุ์
ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี หมายถึง ข้าวกล้องที่ได้จากการแปรรูปข้าวเปลือกเหนียว พันธุ์ กข.6 หรือ ข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในระยะเป็นน้ำนมยังไม่แก่จัด ที่ปลูกในพื้นที่อําเภอวาริชภูมิ อําเภอพังโคน และอําเภออากาศอํานวย จังหวัดสกลนคร โดยนํามาผ่านกรรมวิธีเฉพาะตามหลักประเพณีการทําข้าวฮางที่สืบต่อกันมาในพื้นที่ดังกล่าว
ความสัมพันธ์ระหว่างสินค้ากับแหล่งภูมิศาสตร์
จังหวัดสกลนคร มีลักษณะเป็นแอ่งก้นกระทะตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นแผ่นดินเป็นคลื่นลอนน้อยๆ บริเวณตอนกลางค่อนไปทางเหนือมีเทือกเขาภูพานมีแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่สําหรับการเกษตร คือ หนองหาน และลําน้ำสงคราม ลําน้ำพุง ลําน้ำยาม ลําน้ำห้วยปลาหาง ลําน้ำอูน ลําน้ำก่ํา จึงเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพดีโดยเฉพาะที่อําเภอวาริชภูมิ อําเภอพังโคน และอําเภออากาศอํานวย นอกจากจะเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพ ดีแล้ว ยังเป็นแหล่งผลิตข้าวฮางโดยเฉพาะตั้งแต่อดีตจนเป็นตํานานสืบขานกันมาในปัจจุบัน
คุณค่าทางโภชนาการ
-จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ด เป็นส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารมาก มีโปรตีน วิตามินและเกลือแร่สูง
-มีสารกาบาช่วยรักษาสมดุลของสมอง ลดความวิตกกังวัล หลับสบาย ป้องกันโรคความจำเสื่อม
-ชะลอความชรา ลดความดันเลือด กระตุ้นการขับถ่าย ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้
-มีแกมมาออริซานอล วิตามินอี สารฟีโนลิค ไลซีน และมีโปรตีนช่วยในการย่อยเปปไทด์
-มีไฟเบอร์สูงกว่าข้าวขาวถึง 15 – 20 เท่า ช่วยให้อิ่มท้องไม่หิวง่าย จึงมีส่วนช่วยให้ลดความอ้วน ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ขับถ่ายสะดวก และช่วยดูดซับสารพิษออกจากร่างกาย
ได้รับการรับรอง ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) 15 ธันวาคม 2549