ประวัติพันธุ์
ประเทศไทยมีความหลากหลายในด้านทรัพยากรพันธุกรรมข้าว โดยเฉพาะพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีความแตกต่างไปตามลักษณะของพันธุ์และสภาพพื้นที่ นับแต่ปี พ.ศ. 2492 กรมการข้าวได้มีการรวบรวมพันธุกรรมข้าวในประเทศ ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเป็นพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์หนึ่งของภาคเหนือและปลูกมากในจังหวัดเชียงรายได้ถูกรวบรวมและเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ (Germplasm Bank) ในปี พ.ศ. 2548 นายพายัพภูเบศวร์ มากกูล ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ได้นําพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู จํานวน 28 สายพันธุ์ มาทําการปลูกศึกษาเพื่อให้ได้สายพันธุ์บริสุทธิ์จนได้สายพันธุ์ “เขี้ยวงู 8974” เป็น ข้าวเหนียวเขี้ยวงูที่มีลักษณะเหมาะสมที่สุด และกรมการข้าวได้รับรองพันธุ์เมื่อปี พ.ศ. 2558 ซึ่งข้าวเหนียวเขี้ยวงูเชียงรายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะเมื่อนํามาทําเป็นขนมหวาน เช่น ข้าวเหนียวมูล จะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างมาก จนสร้างชื่อเป็นสินค้าของจังหวัดเชียงรายที่ โดดเด่นอีกชนิดหนึ่ง
ลักษณะประจำพันธุ์
ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเชียงราย (Khao Niew Khiaw Ngoo Chiang Rai) หมายถึง ข้าวเหนียวพันธุ์ เขี้ยวงู 8974 ซึ่งเป็นข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองที่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ในฤดูนาปี ที่มีเมล็ดเล็ก เรียวยาว สีขาวขุ่น เมื่อนึ่งสุกแล้วนุ่มเหนียวติดกันแต่ไม่เละ มีความเลื่อมมันค่อนข้างมาก และมีกลิ่นหอม ข้าวคืนตัวเร็ว และไม่แข็ง ปลูกในเขตพื้นที่อําเภอแม่สาย อําเภอเชียงแสน อําเภอแม่จัน และอําเภอพาน ของจังหวัด เชียงราย
ความสัมพันธ์กับแหล่งภูมิศาสตร์
ลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่ทางภาคเหนือ เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15 ลิปดา ถึง 100 องศา 45 ลิปดา ตะวันออก พื้นที่ตอนกลางของจังหวัด ได้แก่ อําเภอแม่สาย อําเภอเชียงแสน อําเภอแม่จัน และอําเภอพาน เป็นบริเวณส่วนที่ราบลุ่มของแม่น้ำสายสําคัญ มีความสูงอยู่ในช่วง 300 – 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีลักษณะดินส่วนมากเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียว และมีสภาพพื้นดินอุดมสมบูรณ์ไปด้วย แร่ธาตุต่างๆ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ซึ่งมีค่าความเป็นกรด – ด่าง (pH) ของดินอยู่ระหว่าง 6.5-.5
ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดเชียงราย ได้รับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจําฤดูกาล คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัด พามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนมาปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ทําให้จังหวัดเชียงราย มีอากาศหนาวเย็นและแห้ง และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะพัดพามวลอากาศชื้นจากทะเลและมหาสมุทร อินเดียมาปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝน ทําให้จังหวัดเชียงรายมีฝนตกทั่วไป ฤดูกาลของจังหวัดเชียงราย แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคม มีอากาศร้อน อบอ้าวทั่วไป ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระยะที่มรสุมตะวันตก เฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย อากาศจะเริ่มชุ่มชื้นและมีฝนตกชุก ฤดูหนาว เริ่มประมาณกลางเดือน ตุลาคม – กลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย อากาศ โดยทั่วไปจะหนาวเย็นและแห้ง เนื่องจากจังหวัดเชียงรายตั้งอยู่ทางภาคเหนือสุดของประเทศไทย พื้นที่ส่วน ใหญ่เป็นป่าไม้และมีภูเขาล้อมรอบ จึงทําให้มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,600 – 1,800 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิ เฉลี่ยทั้งปีประมาณ 19.5 – 27.5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ เฉลี่ยร้อยละ 76 จากลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศดังกล่าว ทําให้เหมาะแก่การปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงูเชียงรายให้ได้ผลผลิตที่ดี
คุณค่าทางโภชนาการ
ข้าวเหนียวเขียวงูเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพดี อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดคลอเลสเตอรอล เมื่อรับประทานเป็นประจำจึงช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ โรคปอด และยังช่วยป้องกันการเกิดอาการวัยทองได้อีกด้วย
ได้รับการรับรอง ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) 6 มิถุนายน 2561