แหนแดง คว้าแชมป์ปุ๋ยพืชสด ให้ธาตุอาหารสูงแซงพืชตระกูลถั่ว

แหนแดงพันธุ์กรมวิชาการเกษตร ที่มีลักษณะต้นใหญ่กว่าแหนแดงพันธุ์พื้นเมืองของบ้านเรา ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองถึง 10 เท่า และสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ภายใน 30 วัน จะให้ผลผลิตแหนแดงถึงไร่ละ 3 ตัน

%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87
แหนแดง

และเมื่อนำไปวิเคราะห์ค่าธาตุอาหาร แหนแดงพันธุ์นี้ จะมีค่าธาตุอาหารหลัก N-P-K ค่อนข้างสูง โดยมีไนโตรเจนอยู่ที่ 5% ฟอสฟอรัส (P) อยู่ที่ 0.8% และโปแตสเซียม (K) 5% เรียกว่า มีค่าธาตุอาหารสูงกว่าพืชตระกูลถั่ว ที่มีค่าไนโตรเจนเพียงแค่ 3%เท่านั้น และถ้าการปลูกถั่วไม่มีการนำเชื้อแบคทีเรียไรโซเบียมมาคลุกเคล้ากับเมล็ดพันธุ์ถั่ว ธาตุอาหารสำหรับพืชแทบจะไม่มีเลย

%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87 1
เปรียบเทียบแหนแดงพันธุ์กรมวิชาการเกษตรกับแหนแดงพันธุ์พื้นเมือง

“แหนแดงไม่ต้องพึ่งพาไรโซเบียม เพราะใบของแหนแดงมีโพรงใบ เป็นที่อยู่อาศัยของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิดที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาไว้ในตัวได้ เลยทำให้แหนแดงมีค่าธาตุอาหารสูง สามารถที่จะนำมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสด และเพื่อให้เหมาะที่จะนำไปเป็นปัจจัยการผลิตสำหรับบำรุงพืชเกษตรอินทรีย์ได้หลายชนิด เราต่อยอดนำไปตากแดดให้แห้งเพื่อให้นำไปใช้ได้สะดวกและเก็บได้นานขึ้น ปรากฏว่าค่าธาตุอาหารลดลงไปเล็กน้อยแค่ 0.5% เท่านั้น และเมื่อนำไปทดลองกับการปลูกผักกินใบ อย่างคะน้า กวางตุ้งและผักสลัด นำแหนแดง 1 กำมือ มาคลุกกับดิน รองก้นหลุมผักโตเร็วกว่ากันอย่างเห็นได้ชัดเจน”

%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87 2

จากผลการทดลองนำแหนแดงแห้งไปใช้กับพืชผักกินใบเช่น คะน้า กวางตุ้ง และผักสลัด โดยนำมาคลุกกับดินหรือรองก้นหลุม 1 กำมือ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี พบว่าให้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพเป็นที่น่าพอใจ จึงเหมาะสมอย่างมากสำหรับการผลิตพืชผักอินทรีย์ ที่สำคัญช่วยลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากเกษตรกรสามารถผลิตและขยายพันธุ์แหนแดงไว้ใช้ได้เองโดยมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำมาก โดย แหนแดงแห้ง 1 กิโลกรัมสามารถใช้ในพื้นที่ปลูกผักประมาณ 2 ตารางเมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับปุ๋ยยูเรียแหนแดงแห้ง 1 กิโลกรัม มีปริมาณธาตุอาหารเท่ากับปุ๋ยยูเรีย ประมาณ 100 กรัม (1 ขีด)

.

%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87 3
แหนแดง

ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้สนับสนุนแม่พันธุ์แหนแดงและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงแหนแดงในบ่อแม่พันธุ์สำหรับให้เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์เอง ซึ่งวิธีการเพาะเลี้ยงสามารถทำได้ง่ายโดยทำบ่อเพาะเลี้ยงแม่พันธุ์แหนแดง 2 – 3 บ่อ เพื่อให้เพียงพอต่อการนำไปขยายพันธุ์ต่อในบ่อขยายที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยแหนแดงใช้ระยะเวลาขยายพันธุ์จนเต็มบ่อประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ และจะเจริญเติบโตขยายตัวไปได้เรื่อย ๆ เกษตรกรจึงสามารถผลิตได้ตลอดไม่มีวันขาดแคลน รวมทั้งยังสามารถเก็บแหนแดงแห้งใส่กระสอบไว้ได้นานถึง 3 ปีโดยที่ธาตุอาหารยังอยู่ครบ

.

%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87 4

นอกจากนี้ แหนแดงแห้งยังสามารถผสมลงไปในวัสดุปลูกตั้งแต่เริ่มปลูกกล้าได้เลย โดยกล้าจะดูดซึมไนโตรเจนเข้าไปในรากพืชเมื่อนำกล้าลงแปลงปลูกพบว่าต้นกล้าที่ใช้แหนแดงผสมกับวัสดุปลูกสามารถเจริญเติบโตได้เร็วกว่าต้นกล้าที่ไม่ได้ใส่แหนแดง รวมทั้งยังสามารถนำแหนแดงไปใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ ห่าน ปลา วัว และสุกรได้ด้วยเพราะแหนแดงสดมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ จึงเหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งโปรตีนให้กับสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร โดยเพาะในหน้าแล้งขาดแคลนหญ้า จะเห็นได้ว่าแหนแดงเป็นพืชมหัศจรรย์ที่มีประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแบบครบวงจร

%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87 5
แหนแดง

สำหรับการเพาะพันธุ์แหนแดง เมื่อได้แม่พันธุ์มาแล้ว ให้เตรียมวงบ่อซีเมนต์ไว้เพาะเลี้ยงแม่พันธุ์ 3 บ่อ แต่ละบ่อให้ใส่ดินให้สูงขึ้นมา 1 คืบ ใส่ดินให้สูง 10 ซม. ดินทั่วไปแต่ไม่ควรเป็นดินทรายเพราะมีธาตุอาหารน้อย ใส่ปุ๋ยคอก 0.5 กก. จากนั้นเติมน้ำให้สูงขึ้นมา 10 ซม. ทิ้งไว้ในที่ร่มใต้ร่มไม้ที่ไม่โดน แดดจัดมาก 7-10 วัน

%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87 6

เมื่อแหนแดงขยายพันธุ์จนเต็มบ่อซีเมนต์ ให้ตักไปเลี้ยงขยายต่อในบ่อ สระหรือในกระชังได้ทั้งนั้น แล้วแต่ความสะดวกของเกษตรกร…แต่ให้เก็บแม่พันธุ์ในวงบ่อซีเมนต์ไว้ส่วนหนึ่งเพื่อขยายพันธุ์ต่อ

สำหรับการเลี้ยงขยายพันธุ์ในบ่อ สระ หรือกระชัง ให้ดูเรื่องระดับความลึกของน้ำเป็นสำคัญ น้ำควรมีความลึกประมาณ 1 ศอก ถ้าลึกเกินไปแหนแดงจะโตช้า เพราะน้ำลึกรากจะไม่ค่อยได้รับธาตุอาหารจากดินเลี้ยงต่อไปประมาณ 1 เดือนจะได้แหนแดงไร่ละ 3 ตัน…แต่ถ้าเป็นหน้าฝน เลี้ยงแค่ 2 สัปดาห์ก็ได้ผลผลิตแล้ว

จากนั้นตักขึ้นมาตากแห้งสัก 2 แดด บรรจุใส่กระสอบจะเก็บไว้ใช้ได้นาน 3-5 ปี หรือจะทำเป็นอาชีพผลิตแหนแดงแห้งขายให้กลุ่มเกษตรกรปลูกพืชอินทรีย์ได้ด้วย

สำหรับเกษตรกรที่สนใจจะนำแหนแดงพันธุ์นี้ไปใช้ประโยชน์ ติดต่อขอรับแม่พันธุ์แหนแดงได้จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร ของกรมวิชาการเกษตร หรือหน่วยงานสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรของแต่ละจังหวัด