อลงกรณ์ เดินหน้าปั้นนักสร้างแบรนด์สินค้าเกษตร เพิ่มมูลค่าให้สินค้า เตรียมรับก้าวสู่ยุคใหม่ทางการตลาด

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมโครงการยกระดับด้วยการสร้างแบรนด์สินค้า ณ ห้องประชุมใหญ่คณะเทคโนโลยีการเกษตร ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จ.เพชรบุรี โดยมี ดร.มนัญญา ปริยวิชญภักดี รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาบัณฑิตและวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี ประธานกรรมการบริหารศูนย์ AIC จังหวัดเพชรบุรี นายศักดาชัย คชศรีสวัสดิ์ ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชิงเกษตร ที่ปรึกษาคณะทำงานส่งเสริมและพัฒนาแบรนด์ จังหวัดเพชรบุรี หัวหน้าส่วนราชการ คณะทำงานส่งเสริมและพัฒนาแบรนด์จังหวัดเพชบุรี และผู้เข้ารับการฝึกอบรม เข้าร่วม

         

%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%87
อลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.เกษตรฯ

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างแบรนด์สินค้าเกษตร เพื่อสร้างมูลค่า ยกระดับสินค้าเกษตรทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ พร้อมทั้งสร้างโอกาสในการขยายตลาดส่งออกสู่ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การสร้างแบรนด์จะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีการแข่งขันตลอดเวลา เกษตรกร ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมก้าวสู่ยุคใหม่ทางการตลาด ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดยใช้หลักตลาดนำการผลิต พัฒนาองค์ความรู้ด้านการสร้างแบรนด์ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและสร้างโอกาสเข้าถึงตลาด พร้อมทั้งให้ความสำคัญด้านการรักษาคุณภาพและมาตรฐานสินค้า ตามที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เน้นย้ำ

        

%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%87 1
ปั้นนักสร้างแบรนด์สินค้าเกษตร

นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดเพชรบุรี (Agritech and Innovation Center หรือ AIC) เพื่อให้เป็นแหล่งบริการเกษตรกรที่รวบรวมองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร สามารถนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ไปใช้พัฒนาต่อยอดการผลิต สามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร และให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐาน ประกอบกับ ปัจจุบันการสร้างแบรนด์เป็นปัจจัยสำคัญทางด้านเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่มากขึ้น เนื่องจากเป็นการสร้างอัตลักษณ์และสร้างมูลค่าให้กับสินค้า ตลอดจนสร้างความโดดเด่นของสินค้า เพื่อให้เกิดการจดจำง่าย ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ด้านนวัตกรรม การสร้างแบรนด์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการออกแบบ LOGO การสร้าง QR Code  Social Media และตลาดนำการผลิต มีความสำคัญอย่างมาก จะทำให้สามารถเพิ่มช่องทางการจัดหน่ายผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับคณะทำงานส่งเสริมและพัฒนาแบรนด์จังหวัดเพชบุรี  ได้เห็นความสำคัญดังกล่าว จึงจัดทำโครงการยกระดับด้วยการสร้างแบรนด์สินค้า โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 50 ราย

%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%87 2
ปั้นนักสร้างแบรนด์สินค้าเกษตร

ประกอบด้วย เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ ได้เรียนรู้ถึงกลยุทธ์ การสร้างและสื่อสารแบรนด์ผ่านการค้นหา กำหนด สร้างสรรค์ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ 1. การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เกษตรชุมชน / การออกแบบและพัฒนาตราสัญลักษณ์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน / ฉลากสำหรับบรรจุภัณฑ์ 2. ความสำคัญการตลาด การทำ Social Media / QR Code 3. การตลาดนำการผลิต

       

%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%87 3
ปั้นนักสร้างแบรนด์สินค้าเกษตร

นายอลงกรณ์ ยังได้กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้บูรณาการร่วมกันจัดโครงการฝึกอบรมในครั้งนี้ และคาดหวังว่าผู้เข้ารับการอบรมจะนำความรู้ ประสบการณ์ดีที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง