เตือนภัย “เพลี้ยไฟฝ้าย” ในแตงโม

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อนและแล้ง เตือนผู้ปลูก “แตงโม” ในระยะทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือ“เพลี้ยไฟฝ้าย” ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนในระยะแตงโม ทอดยอดทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ลักษณะอาการที่เกิดจาก “เพลี้ยไฟฝ้าย” เรียกว่า ยอดตั้ง หาก “เพลี้ยไฟฝ้าย”ระบาดในช่วงอายุ ๑ เดือนหลังปลูกจะก่อให้เกิดความเสียหายมาก ถ้าพ้นช่วงนั้นแล้วแตงโมจะทอดยอดก็จะทนการทำลายได้ดีกว่า มักพบการระบาดในช่วงฤดูร้อน หรือช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน

278643633 317490620530159 3596635394923220562 n

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

สุ่มสำรวจ “แตงโม” ๑๐๐ ยอด ต่อไร่ ทุกสัปดาห์ โดยเคาะลงบนแผ่นพลาสติกสีดำ เมื่อเริ่มพบ “เพลี้ยไฟฝ้าย”เฉลี่ยไม่น้อยกว่า ๕ ตัวต่อยอด ทำการป้องกันกำจัดโดยใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ สไปนีโทแรม ๑๒% เอสซ๊ อัตรา ๑๕ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตรหรือ ไซแอนทรานิลิโพรล ๑๐% โอดี อัตรา ๔๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต ๑.๙๒% อีซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด ๗๐% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๕ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ฟิโพรนิล ๕% เอสซี อัตรา ๕๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร

ที่มา สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร