ก.เกษตรฯจัดพิธีบวงสรวงเพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนการเริ่มงานวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประจำปี66

วันที่ 10 พฤษภาคม 2566 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา ประจำปีพุทธศักราช 2566 เป็นประธานในพิธีบวงสรวงบูรพกษัตริย์ เทวดา องค์พระพิรุณทรงนาค และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ ศาลพระภูมิ ศาลท้าวเวสสุวรรณ และศาลตา-ยาย โดยมี เทพีคู่หาบทองเทพีคู่หาบเงินคู่เคียงพระยาแรกนา และ ผู้อัญเชิญเครื่องราชอิสริยยศ พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมพิธีซึ่งถือเป็นพิธีกรรมก่อนวันพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่จะมีขึ้นในวันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

           

%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87
ก.เกษตรฯจัดพิธีบวงสรวง

พิธีบวงสรวงฯ นี้ จัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ข้าราชการเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยพิธีบวงสรวงบูรพกษัตริย์ องค์พระพิรุณทรงนาค และศาลพระภูมิเจ้าที่ของพระยาแรกนา จะเป็นพิธีกรรมก่อนการเริ่มงานวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดยมีพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ พร้อมคณะ เป็นผู้ดูแลการประกอบพิธีพราหมณ์ และมีเทพีคู่หาบทอง เทพีคู่หาบเงิน ร่วมในพิธีด้วย ทั้งนี้ ในปีพุทธศักราช 2566 ได้กำหนดให้วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม2566เป็นวันสวดมนต์เริ่มการ“พระราชพิธีพืชมงคล”อันเป็นพระราชพิธีทางสงฆ์ ซึ่งประกอบพระราชพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง และถือเป็นวันเกษตรกรด้วย สำหรับวันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 เป็นวัน “พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” (วันไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์จะประกอบพระราชพิธี ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ฤกษ์พิธีไถหว่าน ระหว่างเวลา08.09 – 08.39 น.

           

%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87 1
ก.เกษตรฯจัดพิธีบวงสรวง

สำหรับปีนี้ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่พระยาแรกนา

เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวดวงพรงามประดิษฐ์นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ กรมวิชาการเกษตร และนางสาวชลธิชา ทองอ่อนนายสัตวแพทย์ชำนาญการกรมปศุสัตว์

เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวปนัดดา เปี่ยมมอญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางสาวภัทรปภา มินรินทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้อัญเชิญเครื่องอิสริยยศ จำนวน 4 ราย และคู่เคียงในกระบวนแห่อิสริยยศพระยาแรกนา จำนวน 16 รายพระโคแรกนา ได้แก่ พระโคพอ และพระโคเพียง พระโคสำรอง ได้แก่พระโคเพิ่ม และพระโคพูล

           

%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87 2
ก.เกษตรฯจัดพิธีบวงสรวง

อนึ่ง การเสี่ยงทายทำนายความสมบูรณ์ของปริมาณน้ำฝน และการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ จากผ้านุ่งของพระยาแรกนา และอาหารของพระโค มีความหมาย ดังนี้ อาหารพระโค พระโคจะเลือกอาหาร 7 อย่าง มีคำทำนาย ดังนี้ “ข้าว หรือ ข้าวโพด” พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี หมายถึงในปีนี้จะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวและผลไม้ “ถั่ว หรือ งา” พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี หมายถึงอุดมไปด้วยพืชผักและเนื้อสัตว์ “น้ำ หรือ หญ้า” พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ “เหล้า” พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง นอกจากนี้ พระยาแรกนาต้องตั้งสัตยาธิษฐาน หยิบผ้านุ่งจากพานโตก โดยเป็นผ้าลาย 3 ผืน มีความหมายตามขนาดของผ้า ดังนี้ “ผ้า 4 คืบ” พยากรณ์ว่าน้ำมาก นาในที่ดอนได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่ “ผ้า 5 คืบ” พยากรณ์ว่า น้ำพอดีข้าวกล้าในนาได้ผลสมบูรณ์ ผลาหาร มังสาหารอุดมสมบูรณ์ และ “ผ้า 6 คืบ” พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มได้ผลบริบูรณ์ดีนาในที่ดอนเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่

           

สำหรับพันธุ์ข้าวพระราชทานที่เตรียมไว้ในพระราชพิธีมีทั้งสิ้น 6 สายพันธุ์ น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 2,244 กิโลกรัมได้แก่1. พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 539 กิโลกรัม 2. พันธุ์ปทุมธานี 1 จำนวน 325 กิโลกรัม 3. พันธุ์กข6 จำนวน 73 กิโลกรัม4. พันธุ์กข87 จำนวน 400 กิโลกรัม 5. พันธุ์กข85 จำนวน 521 กิโลกรัม และ 6. พันธุ์กข43 จำนวน 386 กิโลกรัม