ราชกิจจานุเบกษาลงเผยแพร่ประกาศกรมวิชาการเกษตรเรื่องเงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑๑ หน้า มีเนื้อหาว่า กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลส้มสดนำเข้าเพื่อการค้าจากประเทศญี่ปุ่น เสร็จสิ้นแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากประเทศญี่ปุ่น ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๕๖๖”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๖ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๖.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
๖.๒ ประเทศญี่ปุ่น คือ Plant Protection Division, Food Safety and Consumer Affairs Bureau, Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries ได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization) อย่างเป็นทางการของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “NPPO”
ข้อ ๗ การอนุญาตนำเข้า
๗.๑ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร
ข้อ ๑๙ การตรวจสอบขาเข้า
๑๙.๒ สินค้าที่ส่งมอบทั้งหมดต้องปราศจากแมลงมีชีวิต อาการของโรคพืช เมล็ดพืชที่ปนเปื้อน ดิน ขยะ และเศษซากอื่น ๆ เมื่อมาถึงราชอาณาจักรไทย
๑๙.๕ ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันระหว่างการตรวจสอบขาเข้า ต้องดำเนินมาตรการ ดังต่อไปนี้
๑๙.๕.๑ แมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis
(๑) ถ้าพบระยะที่มีชีวิตของแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis ต้องส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร หรือทำลาย อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะระงับการนำเข้าโดยทันทีและแจ้ง NPPO โดยทันทีถึงผลการตรวจพบ
(๒) NPPO ต้องตรวจสอบหาความจริงโดยทันทีถึงสาเหตุของเหตุการณ์ดังกล่าวและเสนอการปฏิบัติการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกการระงับการนำเข้าเมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามและมีการนำการปฏิบัติการแก้ไขมาใช้จนเป็นที่พอใจของกรมวิชาการเกษตร
๑๙.๕.๒ ถ้าตรวจพบรา Elsinoe australis ต้องทำลายสินค้าที่ส่งมอบหรือต้องอยู่ภายใต้การปฏิบัติหรือการบำบัดด้านสุขอนามัยพืชในสถานที่ปฏิบัติหรือบำบัดของผู้นำเข้าที่ได้รับอนุมัติก่อนหน้านี้จากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
ทั้งนี้รายละเอียดของประกาศมีดังนี้