Fruit Board เผยแผนบริหารผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2566 จัดการผลผลิต 1,053,328 ตัน ปรับสมดุลอุปสงค์ – อุปทาน

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2566 เพื่อบริหารจัดการผลผลิต รวมทั้งสิ้น 1,053,328 ตัน ให้เป็นไปตามกลไกตลาดปกติ 

พร้อมให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) เป็นแกนหลักบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ ปี 2566 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนในกรณีที่การบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่มีปัญหา มอบหมายให้จังหวัดประสานกับฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป 

IMG 2831

ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ซึ่งได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2566 ยึดแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี2566 โดยให้จังหวัดวางแผนการบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง ทั้งในเชิงคุณภาพสอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ.2565 – 2570 และในเชิงปริมาณโดยการจัดสมดุลอุปสงค์ อุปทาน

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า สำหรับทุเรียนซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกนั้น มีการบริหารจัดการเชิงคุณภาพ โดยในระยะก่อนเก็บเกี่ยว มุ่งเน้นการจัดการและพัฒนาด้านคุณภาพเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพดี ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต มุ่งเน้นการรณรงค์แก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพเป็นสำคัญ พร้อมกับส่งเสริมการตลาดและเพิ่มมูลค่าผลผลิต 

ทั้งนี้จังหวัดได้กำหนดมาตรการระยะสั้นเพื่อควบคุมและป้องกันทุเรียนอ่อนไม่ให้ออกนอกแหล่งผลิต ด้วยการจัดตั้งชุดเฉพาะกิจเพื่อช่วยกันสกัดกั้นทุเรียนอ่อนในจังหวัดแหล่งผลิตที่สำคัญ โดยใช้บทลงโทษทางกฎหมาย ได้แก่ กฎหมายอาญามาตรา 271 และ พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 47 ระยะหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต มุ่งเน้นการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตที่มีคุณลักษณะไม่เหมาะสมสำหรับการส่งออกเป็นทุเรียนผลสด โดยการแปรรูปเป็นทุเรียนเพื่อการส่งออกในรูปทุเรียนแช่แข็ง และการแปรรูปทุเรียนทอดสูญญากาศและฟรีซดราย 

IMG 2735 1

นอกจากนี้การบริหารจัดการเชิงปริมาณ ในระยะก่อนเก็บเกี่ยว มุ่งเน้นการสำรวจและจัดทำข้อมูลประมาณการผลผลิต การเชื่อมโยงตลาดล่วงหน้า การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ไม่ตัดทุเรียนอ่อน และในระยะเก็บเกี่ยว มุ่งเน้นกระจายผลผลิตออกสู่ตลาด มีแผนบริหารจัดการทุเรียน ผลผลิตรวม 782,942 ตันแบ่งเป็น การกระจายผลผลิตภายในประเทศ 154,090 ตัน แปรรูป 63,340 ตัน และส่งออก  715,990 ตัน

IMG 2833 1
IMG 2834

ในส่วนของแผนบริหารจัดการมังคุด ผลผลิตรวม 122,020ตัน แบ่งเป็น การกระจายผลผลิตภายในประเทศ 69,795 ตัน แปรรูป 6,469 ตัน และส่งออก 129,004 ตัน 

แผนบริหารจัดการเงาะ ผลผลิตรวม141,115 ตัน แบ่งเป็น การกระจายผลผลิตภายในประเทศ 144,439 ตัน แปรรูป 16,785 ตัน และส่งออก33,800 ตัน

แผนบริหารจัดการลองกอง ผลผลิตรวม 7,251 ตัน แบ่งเป็น การกระจายผลผลิตภายในประเทศ 15,049 ตัน แปรรูป 10 ตัน และส่งออก 2,100 ตัน โดยผลไม้ทั้ง 4 ชนิดนั้นตลอดฤดูกาลพบว่ามีปริมาณอุปสงค์มากกว่าอุปทาน

IMG 2835
IMG 2832