เคาะแผนป้องกันเกษตรกรเร่งสีและความสุกเงาะพันธุ์สีทอง จ.ตราด

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์เรื่องการเร่งความสุกแก่ของเงาะ (พันธุ์สีทอง) ก่อนการเก็บเกี่ยวของเกษตรที่จังหวัดตราดทำให้ผลผลิตเงาะ (พันธุ์สีทอง) จังหวัดตราดราคาตกต่ำนั้น จึงได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด โดยนายชยุทกฤดิ นนทแก้ว เกษตรจังหวัดตราด ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ นำโดย นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด พร้อมด้วยเกษตรและสหกรณ์จังหวัดตราด สหกรณ์จังหวัดตราด ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดจันทบุรี และผู้ประกอบการรับซื้อเงาะ จำนวน 2 ราย ลงพื้นที่สวนเกษตรกรผู้ปลูกเงาะพันธุ์สีทองของนายพิชญุตม์ รัตนมณฑ์ ซึ่งเป็นเกษตรกรปลูกเงาะสีทองในพื้นที่ 100 ไร่ หมู่ที่ 5 ตำบลนนทรีย์ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด และจากการลงพื้นที่ครั้งนี้พบว่ามีการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มอีทีฟอน ในการพัฒนาผลเงาะให้เป็นสีแดงสุกสม่ำเสมอทั้งช่อ หรือทั้งต้น ในระยะที่เงาะเริ่มเข้าสี โดยหลังพ่น 1-2 วัน จะทำให้เงาะเปลี่ยนเป็นสีแดงได้ แต่พบว่าเกษตรกรบางรายนำมาพ่นในระยะที่เนื้อของผลเงาะยังพัฒนาไม่เต็มที่ เร่งให้สีเงาะเปลี่ยนเป็นสีแดง เพื่อให้ทันจำหน่ายในช่วงต้นฤดูกาลและจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น

%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2 scaled
หลายหน่วยงานรัฐลงพื้นที่ตรวจสอบหลังมีข่าวใช้สารเร่งสีและความสุกเงาะสีทอง

จากสถานการณ์การปลูกเงาะล่าสุด พบว่ามีการเก็บเกี่ยวผลเงาะในพื้นที่จังหวัดตราดเพิ่มมากขึ้นในเขตพื้นที่อำเภอเขาสมิง อำเภอเมืองตราด และอำเภอบ่อไร่ โดยกำลังทยอยเก็บเกี่ยวออกสู่ตลาด ซึ่งคาดการณ์ว่าได้เก็บเกี่ยวผลผลิตเงาะแล้วประมาณ 6,000 ตัน เพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศเวียดนาม จีน ตลอดจนตลาดภายในประเทศ

%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3IMG 4035 scaled
นายชยุทกฤดิ นนทแก้ว เกษตรจังหวัดตราด

นายชยุทกฤดิ นนทแก้ว เกษตรจังหวัดตราด กล่าวว่า การลงพื้นที่ดังกล่าวได้มีการเก็บตัวอย่างเงาะ 4 ระยะ เพื่อให้ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี นำมาทดสอบความหวานและสารเคมีในผลผลิตของเงาะ จำนวน 4 ระยะ และทางศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีจะรายงานผลการตรวจสอบต่อไป

%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%B0IMG 3982 scaled
เงาะพันธุ์สีทอง

“เงาะที่จะขายได้รสชาติต้องหวาน ผลใหญ่ มีเนื้อเยอะ สารกลุ่มอีทีฟอนทำให้เงาะสีแดงเท่านั้น ไม่ได้ทำให้เงาะมีรสชาติหวาน ดังนั้นจึงต้องใช้สารตัวนี้ในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ส่งไปเวียดนาม เนื้อไม่หวาน ลูกสีแดงแต่มันไม่ทอง เป็นเรื่องจิตสำนึกของเกษตรกรซึ่งต้องใช้เวลา จังหวัดตราดมีไม่กี่รายที่ทำอย่างนี้ ซึ่งตอนเก็บเกี่ยวไม่ได้บอกทางเรา และถ้าทางการเข้าสวนไปโดยไม่บอกล่วงหน้าก็จะโดนเล่นงานว่าบุกรุก ซึ่งหากสินค้าด้อยคุณภาพ ขายไปก็มีผลต่อราคา และการใช้สารกลุ่มอีทีฟอนก่อนช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมของการเจริญเติบโตของเงาะ ยังไม่มีกฎหมายเอาผิดโดยเฉพาะในเรื่องนี้ มีแต่กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค” เกษตรจังหวัดตราด กล่าว

%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3IMG 4034 scaled
เคาะแผนป้องกันเกษตรกรเร่งสีและความสุกเงาะพันธุ์สีทอง

ทั้งนี้ การหารือร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ จังหวัดตราดมีแนวทางการในการป้องกันแก้ไขปัญหาการเก็บเกี่ยวเงาะด้อยคุณภาพ ดังนี้

%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%B0IMG 4120 scaled
เงาะพันธุ์สีทอง

1) ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด ภายใต้กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ กรมวิชาการวิชาการเกษตร และหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการการเก็บเกี่ยวเงาะที่เหมาะสม และการเก็บเกี่ยวเงาะคุณภาพ

2) สร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค ผู้ซื้อ ถึงคุณลักษณะของเงาะคุณภาพดี และสร้างความตระหนักให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกเงาะ

3) ประชาสัมพันธ์กระบวนการผลิตไปจนถึงกระบวนการจำหน่ายให้กับผู้บริโภค ถึงขั้นตอนการผลิตเงาะคุณภาพของจังหวัดตราด

4) ประสานผู้ประกอบการรับซื้อเงาะ (ล้ง) ในจังหวัดตราดในการคัดแยกผลผลิตก่อนรับซื้อ และประชาสัมพันธ์ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเงาะที่เป็นสมาชิกได้เก็บเกี่ยวเงาะคุณภาพ

5) การวางแผนการบริหารจัดการผลิตผลผลิตเงาะให้ได้คุณภาพในจังหวัดตราดร่วมกับหน่วยงานภาคีทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ได้ผลผลิตเงาะจังหวัดตราดที่มีคุณภาพต่อไป