กรณีนายศักดา ศรีนิเวศน์ นักวิชาการอิสระด้านการเกษตร และอดีตข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตรโพสต์เฟชบุ๊ค พบทุเรียนหมอนทองจากไทยในซุปเปอร์มาเก็ตเมืองหุยโจ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีลักษณะคล้ายทุเรียนด้อยคุณภาพ(อ่อน) และตั้งข้อสังเกตว่านี่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาทุเรียนหมอนทองวางขายที่จีนราคาตก นั้น
นายศักดา บอกว่า คนรู้จักกันที่จีนซื้อทุเรียนลูกดังกล่าวเมื่อวานนี้(11/4/66) และผ่าทุเรียนเพื่อจะรับประทานในเช้าวันนี้(12/4/66) แต่ปรากฏพบว่า ทุเรียนลูกดังกล่าวเป็นทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) เมื่อดูที่ขั้วมีเลขรหัส DOA ชัดเจน จึงต้องการให้มีการตรวจสอบล้งและผู้ส่งออกทุเรียน จากเลขรหัสนี้
ต่อมาเวลา 11.00 น. นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผอ.สวพ.6 มอบหมายให้ทีมเล็บเหยี่ยว ตรวจสอบผู้ประกอบการจากเลขรหัส DOA กระทั่งทราบว่าอยู่ในพื้นที่ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี จึงเดินทางไปตรวจสอบพบนายธนัญชัย วรรณเวศน์ เจ้าของล้งส่งออก จึงขอดูเอกสารการส่งออก / เอกสารการตรวจคุณภาพทุเรียน และอื่นๆ พร้อมกับสุ่มหยิบผลทุเรียนในล้ง 1 ลูกมาตรวจวัดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งได้ 37%
กรณีนายศักดา ศรีนิเวศน์ นักวิชาการอิสระด้านการเกษตร และอดีตข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตรโพสต์เฟชบุ๊ค พบทุเรียนหมอนทองจากไทยในซุปเปอร์มาเก็ตเมืองหุยโจ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีลักษณะคล้ายทุเรียนด้อยคุณภาพ(อ่อน) และตั้งข้อสังเกตว่านี่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาทุเรียนหมอนทองวางขายที่จีนราคาตก นั้น
นายธนัญชัยฯ บอกว่า ผลิตสินค้า(ทุเรียน) ภายใต้แบรนด์ตัวเอง จึงต้องรับผิดชอบเพราะนั่นคืออาชีพกรณีนี้เมื่อเกิดปัญหาได้ประสานไปทางฝั่งจีนเพื่อแก้ไขให้เช่นกัน เพราะไม่ความเสียหายแค่เฉพาะตัวเอง แต่หมายถึงอาชีพของคนไทย ที่ผ่านมา ทุเรียนที่เข้าล้งของตัวเอง จะมีมือคัดประจำ คัดแยกเฉพาะของใครของมันและมีป้ายบอกชัดเจน และทุเรียนที่เข้าล้งจะมีการสุ่มตรวจด้วยห้องปฏิบัติการของล้งเองตามที่ สวพ.6 กำหนด เพื่อเป็นการสอบทานในชั้นแรกลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นให้มากที่สุด
สำหรับล้งแห่งนี้ ส่งออกทุเรียนวันละ 5 ตู้คอนเทนเนอร์ รับซื้อทุเรียนวันละประมาณ 60-70 ตัน หรือวันละประมาณ 20,000 ลูก