กระทรวงเกษตรฯ เปิดตัวเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและปราชญ์เกษตรของแผ่นดินเตรียมเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2566
นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่นสาขาอาชีพ/ประเภทที่กำหนดเป็นเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ผลงานดีเด่นให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จัก ยึดถือเป็นแบบอย่างในแนวทางการปฏิบัติงานด้านการเกษตรโดยในปี 2566 นี้ มีเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่น ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2566 ในวันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ประกอบด้วย ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน จำนวน 2 สาขา เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 16 สาขาอาชีพ สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 12 กลุ่ม และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 3 สหกรณ์ ดังต่อไปนี้
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2566 จำนวน 2 สาขา ได้แก่
1) สาขาปราชญ์เศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายเมธี บุญรักษ์ จังหวัดนราธิวาส
และ 2) สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายวีรวัฒน์ จีรวงส์ จังหวัดชุมพร
เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2566 จำนวน 16 สาขาอาชีพ ได้แก่ 1) อาชีพทำนา ได้แก่ นายพิชัย โสทะ จังหวัดนครสวรรค์ 2) อาชีพทำสวน ได้แก่ นายจักรินทร์ โพธิ์พรม จังหวัดอุดรธานี 3) อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายชาญชัย ธนะกมลประดิษฐ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 4) อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นางสาวพนมรัตน์ รักเหล็ก จังหวัดสุราษฎร์ธานี 5) อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางเงินเหรียญ โสมนาม จังหวัดสกลนคร 6)อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่นายวุฒิศักดิ์ พรมแก้ว จ.พังงา 7)อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายธนันชัย เอกเผ่าพันธุ์ จ.นครปฐม 8)อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อยได้แก่ นายสุชาติ ศรีประสม จ.ชลบุรี 9)อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำได้แก่ นายปกรณ์ วงศ์มโนพฌิช จ.ราชบุรี 10) อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นายมนรัตน์ วิวิธธนากร จังหวัดปทุมธานี
11) สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ นางบรรจง แสนยะมูล จังหวัดมหาสารคาม 12) สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายคำภีร์ หงษ์คำ จังหวัดเพชรบูรณ์ 13) สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ได้แก่ นายสายชล จันทร์วิไร จังหวัดสุโขทัย 14) สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นายธนิต สมแก้ว จังหวัดพัทลุง 15) ที่ปรึกษายุวชนเกษตรกร ได้แก่ นางสาวสถาพร ตะวันขึ้น จังหวัดสมุทรสงคราม และ 16) สมาชิกกลุ่มยุวชนเกษตรกร ได้แก่ นางสาวจิราพัชร คุ้มกุดขมิ้น จังหวัดชัยภูมิ
สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 จำนวน 12 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรทำนา กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านร้องประดู่ จ.อุตรดิตถ์ 2)กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรสวนยาง ตำบลกันทรอม จ.ศรีสะเกษ 3) กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ – แกะ จังหวัดแพร่ 4) กลุ่มเกษตรกรทำประมง หรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรประมงพื้นบ้านปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช 5) กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรสว่างวีระวงศ์จังหวัดอุบลราชธานี
6) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนากอ จังหวัดนราธิวาส 7) กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนโนนกอกวิทยา จังหวัดชัยภูมิ 8) กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านแฝก – โนนสำราญ จังหวัดนครราชสีมา 9) สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำบางทรายนวล จังหวัดสุราษฎร์ธานี 10) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านมะยาง จังหวัดศรีสะเกษ 11) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภท ข้าวอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบึงคล้าย – ชัยพัฒนา จังหวัดพิษณุโลก และ 12) วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลไร่มะขามจังหวัดเพชรบุรี
สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 จำนวน 3 สหกรณ์ ได้แก่ 1) สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การเกษตรด่านมะขามเตี้ย จำกัด จ.กาญจนบุรี 2) สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ กรมการพัฒนาชุมชน จำกัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร และ 3) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ศูนย์กลางละอาย จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช
อนึ่ง ในวันพระราชพิธีพืชมงคลนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้เป็น “วันเกษตรกร” ประจำปีด้วย โดยในปีนี้ตรงกับวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566 ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานในการประกอบพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อความเป็นสิริมงคลและความเจริญรุ่งเรืองแก่อาชีพของตน เนื่องด้วยการเกษตรเป็นภาคการผลิตและเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศคณะรัฐมนตรีจึงได้กำหนดให้จัดงานวันเกษตรกรควบคู่กับวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อบำรุงขวัญแก่เกษตรกรนับแต่นั้นเป็นต้นมา