เริ่มแล้วงานเทศกาลชิมทุเรียนดี ชะนีเกาะช้าง (GI) ครั้งที่ 2 ปี 2566 ราคาเริ่มต้นกิโลละ 200 บาท พร้อมจัด บุปเฟ่ต์กินไม่อั้น” “ข้าวเหนียวน้ำกะทิทุเรียน” ผู้ว่าฯ ดันปลูกทุเรียนทุกสายพันธุ์ที่เกาะช้าง
6 เมษายน 2566 นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานเปิดงานเทศกาลชิมทุเรียนดี ชะนีเกาะช้าง (GI) ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 5-9 เมษายน 2566 ที่หน้าที่ว่าการอำเภอเกาะช้าง จ.ตราด โดยมีนายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วย นางอุบล มากอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง นายชยุทกฤดิ นนทแก้ว เกษตรจังหวัดตราด และเจ้าหน้าที่ร่วมงานจำนวนมาก โดยมีเกษตรกรชาวสวนทุเรียน นำทุเรียนชะนีเกาะช้าง ออกบูทจำหน่ายทุเรียนให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังเที่ยวจังหวัดเกาะช้างในช่วงนี้
จังหวัดตราดเป็นจังหวัดชายแดนสุดฝั่งทะเลตะวันออก ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลากหลากด้วยระบบนิเวศทางธรรมชาติ มีป่าเขา ทะเล และชายหาดที่สวยงาม สภาพอากาศ น้ำ และพื้นที่ เหมาะสมแก่การอยู่อาศัยและประกอบอาชีพ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ดีงาม มีแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ และยังมีผลไม้หลากหลายชนิด
โดยเฉพาะอำเภอเกาะช้างมีทุเรียนพันธุ์ชะนี มีความโดดเด่น มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว และผู้ที่ได้ลิ้มลองรสชาติ มีไอโอดีน มีวิตามินอี ในปริมาณที่สูง เนื้อสีเหลืองทองที่นุ่มเหนียว รสชาติหวานหอม ทำให้จังหวัดตราดและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรได้กำหนดจัดงาน “เทศกาลผลไม้และของดีเกาะช้าง” ขึ้นช่วงปลายเดือนเมษายน – ต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ผลไม้กำลังทยอยออกสู่ตลาด และเป็นการประชาสัมพันธ์ทุเรียนชะนีเกาะช้างให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว
ด้านนายชำนาญวิทย์ กล่าวว่า หลังจากที่ได้ชิมทุเรียนของจังหวัดในทุกพื้นที่แล้ว พบว่าทุเรียนจังหวัดตราดมีความอร่อยทุกพื้นที่ แต่อยากทุเรียนของจังหวัดตราดทุกสายพันธุ์มาปลูกที่เกาะช้าง เนื่องจากกินเกาะช้างเป็นดินภูเขาไฟมีความพิเศษไม่เหมือนกัน หากเกษตรกรสามารถนำมาปลูกได้ทุกสายพันธุ์จะเพิ่มความน่าสนใจและดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้น และจะต้องเป็นทุเรียนมาตรฐาน GI
หลังจากเปิดงานแล้วนายชำนาญวิทย์ เตรันต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ได้มอบรางวัลการประกวดทุเรียนชะนีเกาะช้าง รางวัลที่ 1 นายอดุลย์ นพวรรณ รางวัลที่ 2 นายสำเริง กรัญญญิรัตน์ รางวัลที่ 3 นายวิโรจน์ ผลกาจ รางวัลชมเชย นายสมหวัง ภวินทนันท์
อย่างไรก็ตาม ภายในงานยังมีบุฟเฟ่ต์ข้าวเหนียวทุเรียน ให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาร่วมงานได้ชิมได้ทานได้อย่างไม่จำกัด จนกว่าจะหมด
ทั้งนี้ ทุเรียนชะนีเกาะช้างเป็นผลไม้ชื่อดังของอำเภอเกาะช้าง จากการนำเนื้อทุเรียนชะนีเกาะช้างไปตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด พบว่ามีไอโอดีน และวิตามีนอีสูงกว่าทุเรียนชะนีที่ปลูกในพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากพื้นที่อำเภอเกาะช้าง กำเนิดจากหินตะกอนและหินภูเขาไฟ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนชะนีเกาะช้าง จึงรวมกลุ่มกันผลิตทุเรียนคุณภาพ ทุเรียนชะนีเกาะช้างจะมีรสชาติหวานมัน เนื้อเหนียว นุ่ม ไม่เละ จึงเป็นผลไม้เอกลักษณ์ที่สำคัญของพื้นที่ ได้รับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI : Geographical Indications) ชนิดแรกของจังหวัดตราด ปัจจุบันมีการปลูกทุเรียนในพื้นที่เกาะช้าง จำนวน 1,810 ไร่ ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง 1,542 ไร่ พันธุ์ชะนี 204 ไร่ และพันธุ์อื่นๆ 64 ไร่