กรมวิชาการเกษตรหนุนคาร์บอนเครดิตจากสวนยางส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ยางพาราเป็นสินค้าเกษตรที่มีการส่งออกมากในลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย เป็นพืชที่มีศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 24 ล้านไร่ สวนยางพาราจึงเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีการกักเก็บคาร์บอนที่ดี 

โดยลักษณะตามธรรมชาติของยางพารา จะมีการทิ้งกิ่งขนาดเล็ก และผลัดใบทุกปี ทำให้มีปริมาณเศษซากที่ร่วงหล่นสะสมอยู่ในดิน เกิดการเก็บกักคาร์บอนในดินจำนวนมาก ประกอบกับมีการจัดการสวนที่ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เอื้อต่อการเก็บกักคาร์บอนได้ดีทั้งในลำต้นและในดิน เช่น การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน การปลูกพืชคลุม การปลูกพืชร่วมและพืชแซม ไม่ไถพรวนดินในสวนยางระยะเปิดกรีด

5E10E882 03F2 4F38 95D9 4E5AF96912D0
42F4C7EC A9A4 41F1 91C1 2CD00CDDAE30 rotated

จากรายงานการศึกษาวิจัย ยางพาราที่เปิดกรีดแล้วสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิประมาณ4-6 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไร่ต่อปี สวนยางจึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction: T-VER) ได้และยางพารามีอายุยาวนาน 25-30 ปี จึงจะมีการตัดโค่นเพื่อปลูกทดแทน ทำให้มีระยะเวลายาวนานเพียงพอสำหรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิต อย่างไรก็ตาม กระบวนการในการพัฒนาโครงการ T-VER ยังมีความซับซ้อนในการจัดทำเอกสาร และมีค่าใช้จ่ายสูง จึงเป็นข้อจำกัดสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางที่จะเข้าร่วมโครงการ T-VER เนื่องจาก ส่วนใหญ่เป็นสวนยางขนาดเล็ก

98EF4C34 A3AF 4A0A 973A 5D373082597A

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรพร้อมที่จะเดินหน้าร่วมพัฒนาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตยางโดยได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน) เพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการ T-VER อย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้พื้นที่ปลูกยางของกรมวิชาการเกษตรเป็นพื้นที่นำร่องในการศึกษากระบวนการเก็บข้อมูล วิธีการในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตปริ้นท์ที่เหมาะสมสำหรับยางพาราที่เกษตรกรสามารถทำได้ ไม่ยุ่งยาก รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้สามารถเป็นผู้รับรองการตรวจประเมินโครงการ และรับรองการคำนวณคาร์บอนเครดิตด้านการเกษตร เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่เกษตรกร

ในขณะเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ยางขั้นต้นที่ประเทศไทยมีการส่งออกมาก 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางแผ่นรมควัน มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 0.5 – 0.7 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตันผลิตภัณฑ์ อาจได้รับผลกระทบจากมาตรการและนโยบายด้าน Green และ Climate Change ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมความพร้อม 

7B449B29 D549 4453 8CB4 D531B87EE742

ซึ่งนอกจากด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางแล้ว ควรหันมาใส่ใจกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ทั้งนี้นอกจากการสนับสนุนให้เกษตรกรดำเนินโครงการ T-VER เพื่อขายคาร์บอนเครดิตแล้ว ยังมีแนวคิดในการพัฒนาเชื่อมโยงนำคาร์บอนเครดิตจากสวนยางที่ได้รับการรับรองจากโครงการ T-VER ไปใช้ประโยชน์ในการชดเชยคาร์บอนเครดิต (Carbon Offsetting) ในห่วงโซ่การผลิตยาง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการชดเชยการปล่อยคาร์บอนส่วนเกินของผู้ประกอบการยาง และก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวที่ยั่งยืนต่อไป