ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ใจความว่า
“พี่ต่อ” ขับเคลื่อน “เกษตรเทคโนโลยี” มุ่งสู่อนาคต ใช้ Big Data และ Gov Tech (เกษตรอัจฉริยะ) สร้างรายได้ให้เกษตรชาวบ้าน ผลักดันเกษตรท้องถิ่นเป็นAgribusiness (ธุรกิจเกษตร) ผ่านศูนย์ AIC ทั่วประเทศ (ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC))
หมดยุค เก็บข้อมูลภาคเกษตรด้วยกระดาษ คำนวณสภาพอากาศลมฝน จากการมองฟ้าและดวงดวง
เราอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีทันสมัยและก้าวกระโดด หันมาใช้ Big Data, AI, Mobile Technology หรือ Mobile Application ในการเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่แม่นยำ รวดเร็ว และต่อเนื่องในทุกฤดูกาลเกษตร ที่สำคัญพยากรณ์ ผลผลิตได้อีกด้วย
จับมือ ร่วมกันในทุกภาคส่วน บูรณาการ และขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งประเทศ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center ; AIC) กว่า 492ราย ทั่วไทย
ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 ก.เกษตรฯ ภาครัฐ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคการศึกษา ภาคเอกชน และศูนย์ AIC จากทั่วประเทศ กว่า 492 ราย ร่วมดำเนินงานขับเคลื่อนพัฒนาภาคเกษตรไทย ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้าน Big Data และ Gov Tech 2.ด้านเกษตรอัจฉริยะ 3.ด้าน E-Commerce และ 4.ด้านธุรกิจเกษตร (Agribusiness)
โดยแบ่งการขับเคลื่อน ลงไปทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้
1.ขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ดำเนินงานการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าเกษตรผ่านระบบออนไลน์ มีมูลค่าการจำหน่ายสินค้า จากวันที่ 27 เมษายน 2563 ถึง วันที่ 15 ตุลาคม 2565 เป็นเงินจำนวน 523,792,120 บาท และในการขับเคลื่อนบูรณาการงานด้านการส่งเสริมธุรกิจเกษตร จะมีการจัดงาน Creative and Innovation for Agribusiness ระหว่างวันที่ 18 – 20 พฤศจิกายน 2565 ณ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.)โดยคณะทำงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชิงเกษตร เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน
2.ขับเคลื่อน E-Commerce ให้ความพร้อมและการขายสินค้าเกษตรแบบพรีออร์เดอร์ และการจัดฝึกอบรมเกษตรกรรายย่อยด้านช่องทางการทำตลาดออนไลน์ ผ่านช่องทาง Tiktok, Facebook และอื่นฯ
3.ขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี 2565 – 2566 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
(1) การพัฒนา IoTs Platform สำหรับการผลิตทุเรียนแปลงใหญ่อัจฉริยะ
(2) แอปพลิเคชันทำนายและตรวจวิเคราะห์ศัตรูพืช (โรคพืช แมลงศัตรูพืช และวัชพืช) ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)
(3) การพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร (เครื่องสาง+เครื่องม้วนใบอ้อย) เพื่อแก้ปัญหาการเผาอ้อย และความก้าวหน้าการเชื่อมโยงและเข้าถึงข้อมูลสภาพอากาศของเกษตรกรเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอัจฉริยะ
4.การขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech ดำเนินงานด้าน Gov Tech โครงการบริการออนไลน์ e-Service ระบบบริการภาครัฐของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีการให้บริการในรูปแบบ Digital ทั้งสิ้น จำนวน 175 บริการ เป็น Digital Service จำนวน 166 บริการ คิดเป็น 95% เหลืออีก 5% อยู่ระหว่างดำเนินการให้เป็น Digital Service จำนวน 9 บริการ
ส่วนการพัฒนาระบบบริการดิจิตอลที่เชื่อมโยง NSW แล้ว จำนวน 55 บริการ มีการอนุมัติและเป็น e-Signature ทั้งสิ้น 5 หน่วยงาน 46 บริการ มีการชำระเงิน และเป็น e-Payment ทั้งสิ้น 4 หน่วยงาน 38 บริการ
อีกทั้งได้มีการดำเนินงานด้านBig Data โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ จัดทำโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเกษตร มีระบบงานที่พัฒนาขึ้น จำนวน 5 ระบบ โดยผู้สนใจสามารถเข้าใช้งานผ่านทางเว็บไซต์
http://nabc.go.th/app/application ได้แก่
✓(1) ระบบการบูรณาการข้อมูลและจัดทำรายงาน
✓(2) ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics)
✓(3)ระบบปฏิทินการผลิตสินค้าเกษตร
✓(4) ระบบ Coaching Program Platform (CPP) และ
✓(5) ระบบ Public AI ให้บริการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตร
และในอนาคต มีมติให้ความเห็นชอบสนับสนุนโครงการพัฒนา “ฟู้ดวัลเลย์” จังหวัดภาคกลางตอนล่าง(RAINs For Lower Central Provinces Food Valley )โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชบุรี ในฐานะศูนย์ AIC จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีเป้าหมายการขับเคลื่อนในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง เพื่อพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์อาหารให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและฐานทรัพยากรธรรมชาติ ใน 2 กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร คือ อาหารสุขภาพ (Healthy Food) และอาหารวัฒนธรรม (Cultural Food) เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากพืชและอาหารในพื้นที่เพิ่มมูลค่าเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ทั้งในและต่างประเทศ โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพปลอดภัย (GAP) จากพืชเศรฐกิจที่ผลิตได้ในภูมิภาค ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเชิงสุขภาพ สร้างความแตกต่าง เพื่อเป็นผู้นำตลาดอาหารสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารวัฒนธรรมที่ตรงตามความต้องการผู้บริโภค
กระบวนการพัฒนาตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ (วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์) จนถึงปลายน้ำ (การจัดจำหน่ายสินค้า) สู่เกษตรมูลค่าสูง โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ Quad-Helixระหว่าง ผู้ประกอบการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัยเครือข่าย (มรภ.เพชรบุรี มรภ.กาญจนบุรี และมรภ.หมู่บ้านจอมบึง) ซึ่งในปัจจุบันมี 5 โครงการที่ผ่านการคัดเลือก แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ
1.ด้าน Healthy Food (HF) จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ การพัฒนาเครื่องดื่มเยลลี่เพื่อสุขภาพจากผลไม้ สมุนไพร ท้องถิ่นภาคตะวันตกของประเทศไทย (บริษัท น้ำแควแฮปปี้ฟูด จำกัด) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าทรงเครื่องวีแกนบอลจากโปรตีนพืชท้องถิ่น (บริษัท เพชรบุรีโอท็อป อินเตอร์เทรดเดอร์ จำกัด)
2.ด้าน Cultural Food (CF) จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งให้พลังงานสูงจากกระยาสารท (วิสาหิจชุมชนแม่ช่อมาลีกระยาสารทมะพร้าวน้ำหอม) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมเม็ดขนุนโดยใช้สารทดแทนน้ำตาลเชิงพาณิชย์ (กลุ่มวิสาหกิจขนมหวานห้วยโรง) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้ลำดวนผสมข้าวไรซ์เบอร์รี่ (บริษัทเพชรบุรีไทยดีเสริท์ จำกัด)
นอกจากนี้ มรภ.เพชรบุรี ได้มีการเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อน Node แบบ Quad helix มีห้องปฏิบัติการเครือข่าย 7 ด้าน คือ 1) ห้องปฏิบัติการเคมีอาหาร และการวิเคราะห์ขั้นสูง 2) ห้องปฏิบัติการควบคุมและประกันคุณภาพเคมีฟิสิกส์ 3) ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์จุลชีววิทยา 4) ห้องปฏิบัติการสาธิตการประกอบอาหาร 5) ห้องปฏิบัติการแปรรูปอาหาร 6) ห้องปฏิบัติการเบเกอรี่ 7) ห้องปฏิบัติการ Sensory ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงความร่วมมือกันทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาเกษตรอาหารจากระดับพื้นที่สู่เกษตรอุตสาหกรรมต่อไป