รัฐมนตรีเกษตรฯพบปะเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่มุ่งกำกับดูแลให้เกิดสมดุลการผลิต – การบริโภคเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ให้อยู่ในระดับที่เกษตรกรพึงพอใจผู้บริโภคไม่เดือดร้อน

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบปะเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ในงานเสวนาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สถานการณ์ไข่ไก่ปัจจุบัน และทิศทางในปี 2566 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

โดยกรมปศุสัตว์ ร่วมกับกลุ่มองค์กรผู้เลี้ยงไก่ไข่และผู้ประกอบการไก่ไข่พันธุ์ 16 บริษัท จัดขึ้นเพื่อให้เกษตรกรที่ประกอบอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ได้ใช้เวทีการหารือนี้ เพื่อแสดงความคิดเห็น ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่จะเป็นเสียงสะท้อนต่อไปยังหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 

724A9E03 D216 464C BA50 39252FCACF0A

ซึ่งวงการอุตสาหกรรมไก่ไข่ในประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต ขยายตัวจากฟาร์มรายเล็ก รายกลาง เป็นฟาร์มรายใหญ่เลี้ยงไก่ไข่ระดับอุตสาหกรรม จำนวนไก่ไข่ต่อฟาร์มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงานคนในการเลี้ยงและเก็บผลผลิตไก่ไข่ ทำให้การผลิตไก่ไข่ในประเทศมีประสิทธิภาพและปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันมีความเสี่ยงที่จะเสียหายจากปัญหาโรคระบาดสัตว์ปีก หรือสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ส่งผลกระทบทำให้ปริมาณผลผลิตไข่ไก่ลดลงได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน 

3D2AFD3C D105 4A10 97E6 97E0755C5BB6

ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคนิยมบริโภคไข่ไก่สดเป็นหลัก และตลาดไข่ไก่ค่อนข้างจำกัดภายในประเทศ อาจเป็นสาเหตุให้ผลผลิตไข่ไก่ล้นหรือขาดตลาดรุนแรงได้ และส่งผลให้ตลาดเกิดการผันผวน ราคาไข่ไก่ตกต่ำและปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในบางช่วงเวลา และปัจจุบันผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 

โดยจะมุ่งเน้นสินค้าที่มีราคายุติธรรม คุ้มค่า และเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องปรับต้นทุนการผลิต และพัฒนาสินค้าไข่ไก่ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานและถูกสุขอนามัย ด้วยความตระหนักรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เริ่มจากฟาร์มมาตรฐาน สู่โรงคัดไข่มาตรฐาน จุดจำหน่ายสินค้ามาตรฐาน และมีตรารับรองคุณภาพไข่ไก่ ตลอดจนการสร้างความเข้าใจคุณภาพไข่ไก่ที่ต้องปรากฏอย่างแพร่หลาย

37FF046B 4639 4498 8638 EE35D49583FE

อย่างไรก็ตาม การจัดการปัญหาไก่ไข่ที่ประสบความสำเร็จ ต้องตอบสนองโครงสร้างการผลิตและการตลาดที่เปลี่ยนแปลง โดยประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ตั้งแต่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ครบวงจร ผู้ผลิตลูกไก่ไข่ สหกรณ์ไก่ไข่เกษตรกรขนาดกลางและเล็ก ผู้จัดจำหน่าย และกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งจำเป็นต้องมีกลไกมารองรับ ซึ่งที่ผ่านมาด้วยการวางนโยบายพัฒนาการผลิตการตลาดไก่ไข่และการบริหารจัดการไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ระดับต้นทางถึงปลายทาง ทั้งในเรื่องการบรืหารจัดการ ระบบการผลิตที่มีการติดตาม กำกับ ดูแลปริมาณการเลี้ยงและอายุการเลี้ยงของฟาร์มไก่ไข่ และระบบการตลาดที่มีตลาดรองรับทั้งภายในประเทศและการส่งออก เป็นต้น

สำหรับการดำเนินการในปี 2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลัก ที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้ผลิตด้านการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวไก่ไข่ ทราบดีว่าพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ของไทยต้องเผชิญปัญหาการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากของต้นทุนการผลิตซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์สงครามรัสเซีย – ยูเครน ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น ร่วมถึงปัญหาราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน 

6435D6C5 9403 4687 8E0D 5A33EBC471FD

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ จึงพร้อมกำกับดูแลให้เกิดสมดุลการผลิต – การบริโภค เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ให้อยู่ในระดับที่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่พึงพอใจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ จะต้องสร้างความเข้มแข็งในด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคระบาดสัตว์ที่สำคัญ เช่น โรคไข้หวัดนก เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมสัตว์ปีกของไทยที่มีมูลค่านับแสนล้านบาท และพัฒนาระบบมาตรฐานการผลิตไข่ไก่ ที่วันนี้กว่า 90% ของไข่ไก่ในท้องตลาดมาจากฟาร์ม GAP ที่กรมปศุสัตว์รับรองแล้ว โดยจะต้องพัฒนามาตรฐานต่อยอด อาทิ การออกตราสัญลักษณ์การรับรองร่วมกับการมีระบบตรวจสอบย้อนกลับบนฟองไข่ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในด้านคุณภาพมาตรฐานให้กับผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศอีกด้วย

E13C13BF 95F0 449B 8C84 132E2104AB4F

“ในวันนี้ได้พูดคุยกับเกษตรกรและผู้ประกอบการผู้เลี้ยงไก่ไข่ เพื่อดูแนวโน้มสถานการณ์และภาวะในปี 2566 ที่ประเทศไทยกำลังจะเปิดตลาดโลก ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากกว่าปีนี้ โดยปี 2565 นี้มีนักท่องเที่ยวประมาณ 10 ล้านคน คาดว่าปีหน้าจะมีนักท่องเที่ยวสูงถึงประมาณ 20 – 30 ล้านคน จึงต้องมีการเตรียมแผนในการรองรับนักท่องเที่ยว ที่สำคัญคือในด้านการบริโภค และไข่ไก่ก็เป็นผลผลิตที่สำคัญเพราะมีอัตราการบริโภคที่เพิ่มขึ้น กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ จึงได้หารือกับสมาคมและสหกรณ์ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ไข่ไก่ขาดตลาด ต้องบริหารจัดการให้ Demand กับ Supply ไปด้วยกันได้ และที่สำคัญในเรื่องของราคาที่จะให้พี่น้องเกษตรกรอยู่ได้ และพี่น้องประชาชนผู้บริโภคไม่เดือดร้อน โดยกรมปศุสัตว์จะเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด ผ่านคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) เพื่อให้เกิดความสมดุลและรักษาเสถียรภาพของราคา” ดร.เฉลิมชัย กล่าว