ศึกษาพบ ‘ผงฝุ่นเขม่าดำ’ กระทบความยั่งยืนของน้ำ บนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต

สถาบันสภาพแวดล้อมเชิงนิเวศวิทยาและทรัพยากรซีเป่ย หรือเอ็นไออีอีอาร์(NIEER) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน รายงานว่าทีมวิจัยนานาชาติค้นพบว่าผงฝุ่นเขม่าดำ (black carbon) หรือผงเขม่าที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ต่างๆ ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของน้ำบนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต

คังสือชาง ผู้นำการวิจัยและนักวิจัยจากสถาบันฯ กล่าวอ้างอิงผลการศึกษาเมื่อไม่นานนี้ ซึ่งชี้ว่าผงฝุ่นเขม่าดำส่งผลทางอ้อมต่อการหดตัวของธารน้ำแข็งบนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต ซึ่งถูกขนานนามว่า “หอเก็บน้ำแห่งเอเชีย” และทำหน้าที่จัดส่งน้ำไปยังแม่น้ำหลายสายในเอเชีย

ทีมวิจัยของสถาบันฯ และคณะนักวิจัยจากสถาบันอื่นๆ ในจีน สวีเดน และสหรัฐฯ ได้ร่วมดำเนินการศึกษาดังกล่าวผ่านวิธีการวิเคราะห์เชิงผสมผสาน

การศึกษาครั้งนี้แสดงหลักฐานว่าผงฝุ่นเขม่าดำมีแนวโน้มลดปริมาณน้ำฝนบนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตทางตอนใต้ และส่งผลให้ปริมาณน้ำบนที่ราบสูงลดลงตามไปด้วย โดยการลดลงของปริมาณน้ำนั้นนำไปสู่การขาดดุลของมวลธารน้ำแข็ง ซึ่งจะส่งผลต่อความสมดุลของน้ำบนที่ราบสูง และการจัดส่งน้ำไปยังภูมิภาคที่ตั้งอยู่ปลายน้ำในอนาคต

ผลการศึกษาดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ คอมมูนิเคชันส์ (Nature Communications)

EA652139 23CF 470E 9893 8265346D969F
CAF1CA6D 2B86 4385 AE95 C10038075A86

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : สำนักข่าวซินหัว(Xinhua)