เช็กด่วน 4 โครงการ ธ.ก.ส. เตรียมจ่ายเงินช่วยเหลือและยกระดับรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าววงเงินรวมกว่า 8 หมื่นล้าน เริ่มโอนเงินเข้าบัญชี 24 พ.ย.นี้

บอร์ด ธ.ก.ส. เห็นชอบดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนานตามนโยบายรัฐบาล เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกและยกระดับรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างยั่งยืน วงเงิน 81,265 ล้านบาท ผ่าน 4 โครงการ ดังนี้

1️⃣.โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่

2️⃣.โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66

3️⃣.โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี

4️⃣โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66

เริ่มโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรตั้งแต่ 24 พ.ย. 65 เป็นต้นไป

8307dd100bef3627b772667106f14d9576845b67a635e1a748e3b75528702319
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ


.
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการธ.ก.ส. ได้มีมติเห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้มีรายได้และสภาพคล่องในการใช้จ่าย รวมถึงเปิดโอกาสให้เกษตรกรมีทางเลือกในการขายข้าวเปลือกในราคาที่สูงขึ้น หรือเหมาะสมสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต วงเงินรวม 81,265 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่บัดนี้จนถึง 30 กันยายน 2566 โดยมีเป้าหมายเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ จำนวน 4.68 ล้านครัวเรือน ประกอบด้วย มาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกร ได้แก่

1) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 โดยสนับสนุนเงินให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปีการผลิต 2565/66 ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 20,000 บาทต่อครัวเรือน

2)โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 65/66 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและภัยธรรมชาติ โดยประกันรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละ ไม่เกิน 25 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน

3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 เพื่อให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนระหว่างชะลอการขายข้าว โดยไม่ต้องเร่งขายข้าวเปลือกในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากและราคาตกต่ำ วงเงินสินเชื่อรวม 25,590 ล้านบาท โดยไม่คิดดอกเบี้ยกับเกษตรกร นอกจากนี้จะช่วยเหลือค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือก 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉางตนเอง

4) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66 สำหรับสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชนที่ประกอบธุรกิจรวบรวมข้าวจากเกษตรกรสมาชิก เกษตรกรทั่วไป กำหนดวงเงินกู้สำหรับสหกรณ์การเกษตรแห่งละไม่เกิน 300 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรแห่งละ ไม่เกิน 20 ล้านบาท และวิสาหกิจชุมชนแห่งละไม่เกิน 5 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อรวม 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งคิดจากสถาบันฯ เพียงร้อยละ 1 ต่อปี ระยะเวลาการจ่ายสินเชื่อตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ธันวาคม 2566

ก่อนหน้านี้ นายสุเทพ คงมาก หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ(นบข.) กล่าวถึงสถานการณ์ข้าวไทยในปัจจุบันว่า ข้าวหอมมะลิ(ข้าวสด) ร่วงลงมาอยู่ที่ 10 บาท/กิโลกรัม ส่วนข้าวแห้งอยู่ที่ตันละ 13,000-14,000 บาท เรื่องนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรีบหาทางแก้ไข เพราะถ้าราคาร่วงลงไปมากกว่านี้เกษตรกรก็จะแย่ เพราะอุทกภัยเพิ่งจะผ่านไปชาวนาก็หวังมีรายได้จากการขายข้าวที่ไม่เสียหาย

และสิ่งหนึ่งที่อยากจะฝากภาครัฐ คือ ทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตชาวนาดีขึ้นกว่านี้ ทั้งเรื่องคุณภาพข้าว โซนนิ่งการปลูกข้าว การเพิ่มจำนวนการผลิตข้าว หรือแม้แต่การทำให้ราคาข้าวมีเสถียรภาพ ไม่ใช่ขึ้นลงแบบวูบวาบ ปัจจัยเหล่านี้ คือ องค์ประกอบที่จะทำให้ชาวนาอยู่ได้โดยพึ่งพิงการช่วยเหลือจากภาครัฐให้น้อยที่สุด เพราะหากทำได้นั่นคืออนาคตชาวนาไทยอย่างแท้จริง