ส.ป.ก.ผลักดันโครงการฝายชะลอน้ำชั่วคราวเพื่อการเกษตร

ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) เปิดเผยว่า ส.ป.ก. มีภารกิจหลักในการจัดที่ดินทำกินและพัฒนาที่ดินให้มีศักยภาพเพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานด้านแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของเกษตรกรรม ที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ และพื้นที่ ส.ป.ก. ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรน้ำฝน เกษตรกรจึงต้องพึ่งพาน้ำฝนในการทำเกษตรกรรมเป็นหลัก 

DFE57601 355E 4FDC BCE2 83B1521315D0

โดย ส.ป.ก. ได้น้อมนำแนวทางพระราชดำริของพ่อหลวง(ร.9)ในด้านวิศวกรรมแบบพื้นบ้าน การใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาดำเนินการตลอดเวลาที่ผ่านมา ดำเนินการในรูปแบบการประสานความร่วมมือของ ส.ป.ก. และเกษตรกรในพื้นที่ การคัดเลือกพื้นที่ที่เป็นแหล่งต้นน้ำ แต่ที่จัดทำเป็นโครงการจริงๆ ก็เมื่อปี พ.ศ.2561 ภายใต้ชื่อ “โครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ (ชั่วคราว) เพื่อสนับสนุนโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเขตปฏิรูปที่ดิน” 

และก็ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันและยังได้บรรจุเข้าแผนงานการดำเนินการในปีต่อๆ ไปด้วย โดยในปี 2565 นี้ เราได้จัดทำโครงการฯไปแล้ว 182 แห่ง ครอบคลุม 16 จังหวัด เกษตรกรได้รับผลประโยชน์โดยตรงประมาณ 728 ราย มีพื้นที่ได้รับความชุ่มชื้นประมาณ 13,368 ไร่

5F51602C 131E 4D52 9332 46B202A46BA2

ทั้งนี้ ส.ป.ก. ได้จัดทำโครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำฯ นับจากปี 2561 จนถึงปี 2565 ดำเนินการแล้ว 733 แห่ง แบ่งเป็นปี 2561 ดำเนินการแล้ว 244 แห่ง ครอบคลุม 23 จังหวัด, ปี 2563 ดำเนินการแล้ว 200 แห่งครอบคลุม 17 จังหวัด, ปี 2564 ดำเนินการแล้ว 107 แห่ง ครอบคลุม 8 จังหวัด, ปี 2565 ดำเนินการแล้ว 182 แห่ง ครอบคลุม 16 จังหวัด งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 23,680,005 บาท 

มีพื้นที่รับความชุ่มชื้น 53,839 ไร่ และคาดการณ์ว่าจะมีประมาณน้ำเพิ่มขึ้น 386,811 ลูกบาศก์เมตร น้ำที่เพิ่มขึ้นนี้เกษตรกรในพื้นที่รอบข้างสามารถใช้ในการเกษตรได้โดยตรง และด้วยระยะการเก็บกักของน้ำหน้าฝายก็ยังช่วยให้สร้างความชุ่มชื่นให้พื้นที่โดยรอบ น้ำบางส่วนก็ไหลเลยลงไปเป็นน้ำใต้ดินได้อีกด้วย 

BC890706 DEFF 4172 89AE 3C98FEC79762

“ส.ป.ก. มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรอย่างเต็มที่ จากความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกษตรกรในพื้นที่รอบข้างเห็นถึงประโยชน์ของฝาย ซึ่งในแต่ละปีเกษตรกรจะแจ้งความประสงค์ขอฝายเพิ่มขึ้น ส.ป.ก.เองก็พยายามออกแบบฝายให้มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงการประยุกต์เอารูปแบบฝายของหน่วยงานอื่นที่ประสบผลสำเร็จมาปรับให้เหมาะกับพื้นที่ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรและโครงการนี้เป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จรัชกาลที่ 9 และเป็นการสืบสานต่อยอดตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จรัชกาลที่ 10 อีกด้วย” เลขาธิการส.ป.ก. กล่าวทิ้งท้าย

76BE765D A558 45AE AAB2 5E662B2F4BE1
5C6DC8BB C519 4C63 92EC 7382D87CA84A