GISTDA ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจากภาพดาวเทียม Sentinel–1 วันที่ 24 กันยายน 2565 พบพื้นที่น้ำท่วมในบริเวณบางส่วนของลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล ทั้งสิ้น 304,615 ไร่
ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ 105,888 ไร่ สุรินทร์ 67,084 ไร่ ร้อยเอ็ด 55,672 ไร่ อุบลราชธานี 52,665 ไร่ ยโสธร 17,916 ไร่ กาฬสินธุ์ 4,463 ไร่อำนาจเจริญ 917 ไร่ และบุรีรัมย์ 9 ไร่ พื้นที่ปลูกข้าวได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 236,569 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มต่ำริมสองฝั่งแม่น้ำสายหลักและสายรองของพื้นที่โดยรอบ ซึ่งรวมถึงชุมชนที่อยู่อาศัยและเส้นทางคมนาคมบางส่วน
พื้นที่น้ำท่วมในบริเวณบางส่วนของลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำท่าจีน และลุ่มน้ำบางปะกง ทั้งสิ้น 1,223,715 ไร่
ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์274,920 ไร่ พิจิตร 192,201 ไร่ พระนครศรีอยุธยา 159,864 ไร่ สุโขทัย 144,253 ไร่ สุพรรณบุรี 138,452 ไร่ พิษณุโลก 109,124 ไร่ ปราจีนบุรี 45,973 ไร่ ลพบุรี 28,558 ไร่ ชัยนาท 27,210 ไร่ เพชรบูรณ์ 27,005 ไร่ อ่างทอง 20,721 ไร่ สระบุรี 13,413 ไร่ นครปฐม 12,916 ไร่ สิงห์บุรี 11,428 ไร่ นครนายก 7,666 ไร่ฉะเชิงเทรา 7,415 ไร่ อุทัยธานี 1,680 ไร่ นครราชสีมา 530 ไร่ และสระแก้ว 385 ไร่
พื้นที่ปลูกข้าวได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 139,659 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มต่ำริมสองฝั่งแม่น้ำสายหลักและสายรองของพื้นที่โดยรอบ ซึ่งรวมถึงชุมชนที่อยู่อาศัยและเส้นทางคมนาคมบางส่วน