ปศุสัตว์มอบหญ้าอาหารสัตว์พระราชทานแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ระยองเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากอุทกภัย

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เนื่องจากช่วงนี้มีอิทธิพลลมมรสุมเกิดฝนตกหนักมากสร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และสัตว์เลี้ยงในหลายพื้นที่ จึงได้สั่งการด่วนให้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยเร็วและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อลดผลกระทบและความเสียหายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด 

โดยแจ้งไปยังศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์(ศปภ.ปศ.) และหน่วยงานปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อลงพื้นที่ สำรวจและติดตามสถานการณ์พร้อมให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และสัตว์เลี้ยงทันที ทั้งด้านเสบียงอาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ ยานพาหนะ ทีมสัตวแพทย์ แต่งตั้งชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว พร้อมออกปฏิบัติการทันทีเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

64C5D6A0 9665 4A24 95A5 F41A915D7CF7

ล่าสุด วันที่ 9 กันยายน 2565 เวลา 14:00 น สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดระยอง โดยนายพนธ์สมิทธิ์ กลางนภา ปศุสัตวจังหวัดระยอง พร้อมด้วย นายธนเดช อมรชัยศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สระแก้ว นายธนโชค  พงษ์ชวลิต เกษตรและสหกรณ์จังหวัดระยอง นางมาริน สมคิด เกษตรจังหวัดระยอง นางสาวอมรา จิตติรบำรุง เกษตรอำเภอเมืองระยอง นายพิพัฒน์ เผื่อนทิม หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์หัวหน้ากลุ่มมาตรฐานการพัฒนาปศุสัตว์ ปศุสัตว์อำเภอเมืองระยอง ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่อำเภอเมืองระยอง อำเภอแกลง และอำเภอบ้านค่าย 

จากการเกิดภาวะฝนตกหนักในพื้นที่ ตำบลแกลง ตำบลกะเฉด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ จำนวน 8 ราย โคเนื้อ 120 ตัว ตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ กระบือ จำนวน13 ราย โคเนื้อ 128 ตัว กระบือ 23 ตัว และตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ 20 ราย 250 ตัว รวมโคเนื้อทั้งหมด 498 ตัว กระบือ 23 ตัว ซึ่งเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าว สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดระยอง ได้ให้ความช่วยเหลือมอบเสบียงสัตว์พระราชทานฯ (หญ้าแห้งอัดฟ่อน) จำนวน 535 ฟ่อน และเวชภัณฑ์เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบเบื้องต้น

EF6CF0F1 B27B 4973 B8DD 3BB4C9B347F6

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ทุกจังหวัดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พื้นที่จังหวัดใดมีสถานการณ์น้ำท่วม และหน่วยงานได้ดำเนินการช่วยเหลือฯ ให้รายงานมาให้ทราบ พื้นที่ใดที่ต้องการขอสนับสนุนเสบียงอาหารสัตว์เพิ่มเติม นอกเหนือจากโควตาที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้ว ให้ประสานกับศูนย์วิจัยฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่ ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือหรือข้อมูลเพิ่มเติม สามารถแจ้งได้ที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225-6888 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง