“วัฒนธรรมการกินแมลง”เป็นอาหารมาจากวิถีของชุมชนพื้นเมืองของหลายประเทศในเอเชีย แอฟริกา ลาตินอเมริกา รวมทั้งประเทศไทย กำลังกลายเป็นแนวโน้มใหญ่ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากความตระหนักของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเพราะว่าแมลงสามารถหาได้จากธรรมชาติ และผลิตได้โดยใช้ทรัพยากรน้อยกว่าการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมมหาศาล
ในช่วงระยะเวลา 5 ปี พ.ศ. 2561 ถึง พ.ศ. 2566 ตลาดแมลงกินได้เติบโตจาก 400 ล้านดอลลาร์ เป็น 1.2 พันล้านดอลลาร์ หรือเติบโตมากกว่า 25% ต่อปี
ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าตลาดนี้จะโตขึ้นเป็น 8 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2573 แม้ว่าเอเชียแปซิฟิกและลาตินอเมริกามีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50% ก็ตาม แต่ตลาดในยุโรปและอเมริกากำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้เล่นสำคัญของตลาดแมลงกินได้ โดยแมลงสำคัญที่มีการผลิตมากที่สุดคือจิ้งหรีด ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 23,000 ฟาร์ม มากที่สุดในโลก พาไปรู้จักชนิดของจิ้งหรีดในประเทศไทย ซึ่งที่รู้จักกันแพร่หลายมี 4 ชนิด ดังนี้
1. จิ้งโกร่ง (Brachtrupes Portentosus Lichtenstein)
จิ้งหรีดชนิดนี้ บางพื้นที่เรียก จิโปม, จิ้งกุ่ง, จินาย เป็นต้น เป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่ ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ลำตัวทุกส่วนมีสีน้ำตาล ยกเว้นขาคู่หลังส่วนบนมีสีเหลือง และส่วนท้องมีสีครีม โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 1 ซม. ยายประมาณ 3.5-4.0 ซม. มีหนวดยาว ขุดรูตามดินร่วนปนทราย ภายในรูที่ความลึก 5-10 ซม. มีรูแยก 1 รู เพื่อหลบภัย บริเวณรอยแยกของรูเป็นโพรงใหญ่ สำหรับเก็บอาหาร รูหลักยาวประมาณ 30-50 ซม. ลึกประมาณ 20-30 ซม. กลางวันจะปิดปากรู และอาศัยอยู่ภายใน กลางคืน ออกหากิน และส่งเสียงร้องดัง
2.จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus Bimaculatus Degeeer)
เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง บางพื้นที่เรียก จิโหลน ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ลำตัว และปีกมีสีดำหรือน้ำตาลปนดำทั้งตัว โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 0.6-0.7 ซม. ยาวประมาณ 2.8-3.0 ซม. มีหนวดยาว ตัวผู้ส่วนหัว และอกมีสีดำ ปีกคู่หน้าย่น ปีกมีสีน้ำตาลออกเหลืองเล็กน้อย
โดยเฉพาะโคนปีกที่มีสีเหลืองแกม ส่วนตัวเมียส่วนหัว และอกมีสีดำ ปีกคู่หน้าเรียบ ปีกมีสีดำสนิท โคนปีกมีแต้มสีเหลือง 2 จุด ปลายปีคู่หลังทั้งตัวผู้ตัวเมียยื่นยาวมากกว่าลำตัว ปลายท้องมีแพนหางยาว 1 คู่ ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่ขุดรูอาศัย
3. จิ้งหรีดทองแดง (Teleogryllus Testaceus Walker)
บางพื้นที่เรียก จิ้งหรีดนิล หรือ จินาย หรือ จิ้งหรีดพม่า เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 0.5-0.6 ซม. ยาวประมาณ 2.5-2.80 ซม. ลำตัวทุกส่วนมีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณหัวเหนือขอบตามีแถบสีน้ำตาลเข้มรูปตัว V ตัวผู้มีสีลำตัวทุกส่วนเข้มกว่าตัวเมีย ด้านล่างท้องมีสีครีม เคลื่อนที่ได้ว่องไว ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่ขุดรูอาศัย
4.จิ้งหรีดทองลาย (Modicogryllus Confirmata Walker)
จิ้งหรีดทองลายหรือนิยมเรียกว่า แมงสดิ้ง ตัวผู้ และตัวเมียมีอายุเต็มวัย 38-60 วัน เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ลำตัวทุกส่วนมีสีเหลืองแกมน้ำตาล มีลักษณะสีเป็นลาย ลำตัวกว้างประมาณ 0.4-0.55 ซม. ยาวประมาณ 2.0-2.5 ซม. ตัวเมียลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง ปีกคู่หน้าเรียบมีสีน้ำตาลเป็นลายเส้นชัดเจน ปีกคลุมปลายท้องไม่มิด มีอวัยวะวางไข่คล้ายเข็มสีน้ำตาล ยาวประมาณ 1.2 เมตร ยาวกว่าแพนหางเล็กน้อย ตัวผู้มีสีลำตัวเข้มกว่าตัวเมีย และมีลายแต้มที่หัว ปีกคู่หน้าย่น ปลายท้องมีแพนหาง
จิ้งหรีดชนิดนี้ ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่ขุดรูอาศัย 2.0-2.5 ซม. ตัวเมียลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง ปีกคู่หน้าเรียบมีสีน้ำตาลเป็นลายเส้นชัดเจน ปีกคลุมปลายท้องไม่มิด มีอวัยวะวางไข่คล้ายเข็มสีน้ำตาล ยาวประมาณ 1.2 เมตร ยาวกว่าแพนหางเล็กน้อย ตัวผู้มีสีลำตัวเข้มกว่าตัวเมีย และมีลายแต้มที่หัว ปีกคู่หน้าย่น ปลายท้องมีแพนหาง จิ้งหรีดชนิดนี้ ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่ขุดรูอาศัย
เทรนด์ของโลกเกี่ยวกับการบริโภคแมลงกำลังมา ดังที่สหภาพยุโรปและออสเตรเลียได้ผ่อนคลายข้อจำกัดและทยอยรับรองชนิดและสายพันธุ์ของแมลงกินได้มากขึ้นเป็นลำดับ รวมทั้งจิ้งหรีดและตั๊กแตน เช่นเดียวกับค่านิยมของคนรุ่นใหม่ในเยอรมนี อังกฤษและประเทศอื่น ๆ ที่พร้อมจะเปิดรับอาหารชนิดใหม่ที่มาจากวิถีวัฒนธรรมเก่าแก่ของหลายประเทศทั่วโลกนี้ เบื้องหลังของแนวโน้มนี้ เกิดขึ้นจากความตระหนักในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม และความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาของการผลิตเชิงเดี่ยว
ดังนั้นทิศทางของการบริโภคแมลง ไม่ควรกลับไปสู่การซ้ำรอยการผลิตในอดีต เพียงแต่เปลี่ยน หมู ไก่ และวัว มาเป็นแมลงชนิดต่าง ๆ เท่านั้น แต่ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เช่น การรักษาฐานทรัพยากรความหลากหลายของแมลง ศึกษาและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และเปลี่ยนแบบแผนเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวมาเป็นเกษตรเชิงนิเวศ สนับสนุนบทบาทของเกษตรกรรายย่อยและชุมชนท้องถิ่น ลดการพึ่งพาพันธุ์และปัจจัยการผลิตจากภายนอก การมีตลาดและระบบกระจายอาหารที่เป็นธรรม ไปพร้อม ๆ กันด้วย
ที่มา เพจนิเวศเกษตร