ฝ่ากระแสคลื่น…รับมือภัยพิบัติโรคอุบัติใหม่ในสัตว์ ความจริงใจของเฉลิมชัย ศรีอ่อน กรมปศุสัตว์เผยยอดติดเชื้ออหิวาต์หมู ASF เป็นศูนย์หลังผ่านมา 9 เดือน พร้อมเข้าสู่โหมดเร่งฟื้นฟูรายย่อย เร่งจ่ายเงินเยียวยาเกษตร
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากจากการรายงานสถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever : ASF) ในประเทศไทยข้อมูลของกรมปศุสัตว์ สถานการณ์การระบาดของโรค ASF สะสมทั่วโลก พบการระบาดทั้งหมด 42 ประเทศ 4 ทวีป ประกอบด้วย ทวีปยุโรป 17 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 8 ประเทศ โอเชียเนีย 1 ประเทศ และทวีปเอเชีย 16 ประเทศ ซึ่งสถานการณ์ทั่วโลกในปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมได้ และมีแนวโน้มจะขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นอีก แต่ทิศทางของประเทศไทยดีขึ้น
ทั้งนี้ จากมาตรการควบคุมโรคที่ออกมาอย่างเข้มข้นของกรมปศุสัตว์ ส่งผลให้สถานการณ์การระบาดของโรค ASF ในประเทศไทยนั้นกลับมีทิศทางที่ดีขึ้นมีโดยตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565-ปัจจุบัน ในภาพรวมขณะนี้ในประเทศไทยสามารถควบคุมและกำจัดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเริ่มมีการออกมาตรการต่าง ๆ พร้อมสนับสนุนการกลับมาเลี้ยงใหม่ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการแล้วควบคุมโรคที่ออกมาอย่างเข้มข้นของกรมปศุสัตว์ ส่งผลให้สถานการณ์การระบาดของโรค ASF ในประเทศไทยนั้นกลับมีทิศทางที่ดี
“จากการรายงานข้อมูลของกรมปศุสัตว์ ขณะนี้โรค ASF ได้กลายเป็นศูนย์มากกว่า 50 วันในทุกพื้นที่ ซึ่งได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันการฟื้นฟูเยียวยาเกษตรกรจะต้องดำเนินการไปพร้อมๆกัน วันนี้เรามีหมูในระบบที่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ จากการดำเนินงานในการควบคุมและป้องกันโรค ASF อย่างเข้มงวดมาโดยตลอด ทำให้ประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียนที่ควบคุมโรคได้ดีที่สุดหรืออาจจะเป็นที่หนึ่งในเอเชียด้วยซ้ำ อย่างประเทศฟิลิปปินส์ส่งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเข้ามาศึกษาดูงานในมาตรการควบคุม ป้องกันและเฝ้าระวังโรค ASF ในประเทศไทย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรคในประเทศฟิลิปปินส์” ดร.เฉลิมชัยกล่าว
ด้านนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) ในประเทศไทยว่า ล่าสุดได้กลายเป็นศูนย์ไปแล้วนับตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม2565 ถึงปัจจุบันรวมระยะเวลา 9 เดือน สาเหตุที่ไม่พบการระบาดของโรค ASF อีกเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนร่วมกัน ทำให้สามารถจำกัดและแก้ปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อได้ ซึ่งตรงนี้เป็นนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกอบกับมีการตัดวงจรการระบาดของโรคทำได้เร็ว และสำนักงบประมาณได้มีการจัดสรรงบประมาณปี’66 จำนวน 250 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ “ชดเชย” ให้กับเกษตรกรที่ต้องทำลายหมูเพื่อตัดการระบาดของโรค ทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
ขณะที่กรมปศุสัตว์โดยกองวัคซีนร่วมกับสถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่น มหิดล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโรค ASF และทำการทดลองในสัตว์ ส่วนสาเหตุที่การวิจัยยังเป็นไปได้ช้าเพราะนับจากที่มีการระบาด ASF ผ่านมา 101 ปี ไม่เคยมีประเทศใดในโลกที่วิจัยและวัคซีนได้รับการรับรองจากองค์การโรคระบาดสัตว์ (OIE) ส่งผลให้การวิจัยจะปราศจากงานวิจัยอ้างอิง(Reference) ดังนั้นจึงต้องใช้ระยะเวลาในการทดลองอย่างละเอียดหลายรอบ และกรมปศุสัตว์จะพยายามให้สำเร็จโดยเร็ว
ทั้งนี้ ยอดสะสมการพบเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกันในหมู หรือโรค ASF ในช่วง 9 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 12 พ.ย. 2564-4 ก.ค. 2565 ซึ่งเป็นวันที่ไม่พบเชื้อนั้น ปรากฏมีจำนวนฟาร์มที่พบโรคสะสม 118 ราย มีการสั่งทำลายหมูไปแล้ว 73 ราย คิดเป็นจำนวนสุกรทั้งหมด 1,956 ตัว
ส่วนผลการดำเนินงานในพื้นที่ Sand box ที่ผ่านมามีดังต่อไปนี้ สำนักงานปศุสัตว์เขต 5 ได้ประกาศกำหนดเขตพื้นที่พิเศษในราชกิจจานุเบกษาและกรมปศุสัตว์ได้อนุมัติแนวทางในการดำเนินงานในเดือนมกราคมที่ผ่านมา พร้อมโอนงบประมาณในการดำเนินงานปี 2565 จำนวน 1,325,585 บาท
ส่วนราชบุรีSand box ได้รับงบประมาณจากสำนักพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) จำนวน 10,070,720 บาท เพื่อสำรวจจำนวนหมูทั้งจังหวัด ศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อโรค ASF-FMD และกำหนดพื้นที่นำร่องในการทำระบบ Compartment ใน 2 ตำบลของ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี สำหรับโครงการ Pig Sandbox จะเป็นเขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ เพื่อเป็นต้นแบบนำร่องในการส่งเสริมและฟื้นฟูการผลิต สามารถควบคุมป้องกันการเกิดโรคระบาดต่าง ๆ ในสุกรได้ เป็นการปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของการเลี้ยงสุกรในฟาร์มให้มีการจัดการและการป้องกันควบคุมโรคที่เหมาะสมยิ่งขึ้น