กระทรวงเกษตรฯ ติดตามความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค 26 สิงหาคมนี้
นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค (The Apec Food Security Ministerial Meeting) ครั้งที่ 1/2565 ผ่านระบบออนไลน์(Zoom Meeting) โดยมี ผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุม เพื่อรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการจัดการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงาน ประกอบด้วย
1. คำสั่งคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปี พ.ศ. 2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านสารัตถะ พิธีการ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. ผลการประชุมคณะอนุกรรมการด้านสารัตถะ พิธีการ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. กำหนดการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การประชุมหุ้นส่วนเชิงนโยบายความมั่นคงอาหาร(PPFS) ครั้งที่ 20) ระหว่างวันที่ 17 – 18 ส.ค.65 การประชุมคณะทำงานด้านมหาสมุทรและการประมง (OFWG) ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 17 – 18 ส.ค.65 กำหนดจัดระหว่างวันที่ 17-18 สิงหาคม 2565
การประชุมคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานและการรับรองของเอเปค ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2565 การประชุมคณะทำงานความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตร (ATCWG) ครั้งที่ 26 ระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม 2565 การประชุมหารือระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ระหว่างวันที่ วันที่ 20 สิงหาคม 2565 การประชุมร่วมของหุ้นส่วนเชิงนโยบายด้านความมั่นคงอาหาร/คณะทำงานด้านมหาสมุทรและการประมง/การหารือระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร/คณะทำงานความร่วมมือ ทางวิชาการด้านการเกษตร ระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม 2565
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 26 สิงหาคม 65 ณโรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และผ่านระบบการประชุมทางไกล สำหรับเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ด้านความมั่นคงอาหารร่วมกันในการผลักดันการดําเนินงานส่งเสริม ความร่วมมือด้านความมั่นคงอาหารภายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมถึงการหารือเกี่ยวกับนโยบาย ตลอดจน แนวทางในการรับมือกับประเด็นท้าทายด้านความมั่นคงอาหาร
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบ(ร่าง)ปฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี 2565 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 จะมีเอกสารผลลัพธ์ จํานวน 2 ฉบับได้แก่ (1) ร่างปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค ประจําปี 2565 และ (2) ร่างแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 ผ่านระบบการประชุมทางไกลในระหว่างการประชุม
สำหรับร่างแผนทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เป็นการแสดงเจตจํานงเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสําคัญของการดําเนินงานเกี่ยวกับความร่วมมือด้านความมั่นคงอาหารระหว่างสมาชิกเอเปค โดยไม่มีการลงนาม ไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย (non-legal binding) ทั้งนี้ เอเปคเป็นเวทีการประชุมที่เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างสมาชิกซึ่งสมาชิกสามารถพิจารณาให้ความร่วมมือตามความสมัครใจ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติหากสมาชิกได้ตกลงร่วมกันในเรื่องสําคัญๆ เอเปคมีกลไกในการติดตามผล และที่ผ่านมาไทยได้ให้การสนับสนุนและดําเนินงานความร่วมมือด้านเกษตร และความมั่นคงอาหารในกรอบเอเปคมาโดยตลอดได้ให้การสนับสนุน และดําเนินงานความร่วมมือด้านเกษตร และความมั่นคงอาหารในกรอบเอเปคมาโดยตลอด