วันที่ 7 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00 น.นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ลงพื้นที่มอบเสบียงหญ้าอาหารสัตว์ พร้อมถุงยังชีพ ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ดโดยมีนายสุรพล ธัญญเจริญ ปศุสัตว์เขต 4,นายเศกสรรค์ สวนกูล. ผอ.สำนักพัฒนาอาหารสัตว์.น.ส.เยาวนิตย์ บุรีรักษา เลขานุการกรม,และเจ้าหน้าที่เข้าร่วมติดตามงานในครั้งนี้
ดำเนินกิจกรรมการจัดตั้งคลังเสบียงสัตว์สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับให้ความช่วยเหลือด้านเสบียงสัตว์แก่เกษตรกรเมื่อเกิดภัยพิบัติให้ทันท่วงทีเพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสัตว์เลี้ยงเพื่อลดภาระการเดินทางของเกษตรกรในการเดินทางมาขอรับความช่วยเหลือเสบียงสัตว์ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด หรือศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ตั้งแต่ปี2545-2564กรมปศุสัตว์ได้จัดตั้งคลังเสบียงสัตว์ประจำตำบลเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ แล้ว 670 แห่งทั่วประเทศ
และในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 นี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ร้อยเอ็ดดำเนินการร่วมกันกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ได้พิจารณาร่วมกันแล้วว่าพื้นที่บ้านวังยาว ตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะจัดตั้งให้มีคลังเสบียงสัตว์ เพื่อสำรองเสบียงสัตว์สำหรับช่วยเหลือเกษตรกร หมู่ที่ 8,9และ 10ตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นเกาะแต่มีพื้นที่เป็นที่ลุ่มแม่น้ำชีล้อมรอบ ทำให้เป็นพื้นที่รับน้ำล้นตลิ่ง ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในฤดูน้ำหลากมานานหลายปี ซึ่งสร้างความเสียหายในพื้นที่มากถึง 363 ครัวเรือน และส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคกระบือจำนวน 67 ครัวเรือน มีจำนวนโค-กระบือ 252 ตัว เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาอุทกภัยอาจจะเกิดขึ้น
สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ร้อยเอ็ดได้สนับสนุนเสบียงอาหารสัตว์ หญ้าแพงโกล่าแห้งอัดฟ่อนจำนวน 5,000 กิโลกรัม เพื่อจัดตั้งคลังเสบียงสัตว์ตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญและสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดได้สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์จำนวน 60 ชุด
ทั้งนี้ได้สนับสนุนปัจจัยการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์จำนวน 100 กิโลกรัม เพื่อใช้สำหรับฟื้นฟูแปลงหญ้าอาหารสัตว์ในพื้นที่หลังจากน้ำลด และเพื่อเพิ่มแหล่งอาหารหยาบคุณภาพดีในพื้นที่ต่อไป
ด้านอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่ากรมปศุสัตว์ได้สั่งการให้หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคให้การเตรียมการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย โดยสำรองเสบียงสัตว์ไว้ และเตรียมการเผชิญเหตุ บรรเทาทุกข์ภาวะฉุกเฉิน ดูแลสุขภาพสัตว์ ช่วยอพยพสัตว์ รวมทั้งการช่วยเหลือฟื้นฟูรวมถึงให้การสนับสนุนเสบียงเวชภัณฑ์สัตว์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอย่างทันท่วงที