อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธานมอบรางวัลประกวดควายงามชิงแชมป์ประเทศไทย ในงานเกษตรแฟร์ ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันประจำปี 2565 ณ จังหวัดร้อยเอ็ด
วันที่ 6 สิงหาคม 2565 เวลา 11.00น. นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานมอบรางวัลประกวดควายงามชิงแชมป์ประเทศไทย ในงานเกษตรแฟร์ ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 6-8 สิงหาคม ณ จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยนายสุรพล ธัญญเจริญ ปศุสัตว์เขต 4,นายปัญญา มูลคำกา ปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด ,เลขานุการกรม และเจ้าหน้าที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้
การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการพัฒนาการตลาดควายไทย และอนุรักษ์ควายไทยพื้นเมือง มุ่งหวังส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ดมีการปรับปรุงพันธุกรรมของควายไทย ให้มีคุณภาพดีขึ้นเป็นการเผยแพร่พันธุ์ควายไทยในพื้นที่ให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป สร้างความภูมิใจในอาชีพของตนเองและสืบทอดอาชีพการเลี้ยงควายไทยจากรุ่นสู่รุ่น ให้เกษตรกรคนรุ่นใหม่หันมาเห็นความสำคัญกับการผลิตควายไทยคุณภาพทั้งการจัดการเลี้ยงดู การคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ และร่วมกันอนุรักษ์ควายไทยมากยิ่งขึ้นอีกทั้ง เพื่อเป็นการสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มของควายไทย กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับควายไทย นิทรรศการแนะนำผลงานจากอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างเป็นต้น
นอกจากนี้ภายในงานยังประกอบได้ พิธีสู่ขวัญควาย ,การโชว์ควายเผือกและควายแคระแสนรู้ และ การประกวดควายไทย ทั้งนี้ มีควายงามเข้าประกวด จำนวนมาก ประเภทของการประกวดประกอบด้วยได้แก่1.รุ่นฟันน้ำนม2.รุ่นฟันแท้ 1-2 คู่ 3.รุ่นฟันแท้ 3คู่ขึ้นไป ทั้งเพศผู้และเพศเมีย และแกรนด์แชมเปี้ยนเพศผู้และเพศเมีย
ผลการประกวดกระบือเพศเมียรุ่นควายสาว อายุ 31 – 36 เดือน (ฟันแท้ 2 คู่)
-รางวัลชนะเลิศ กระบือชื่อดาวเรือง จากแพรวาฟาร์ม
-รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 กระบือชื่อมะลิ จากแพรวาฟาร์ม
-รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 กระบือชื่อดอกคูณ จากสกลพานิชย์ฟาร์ม
ผลการประกวดกระบือเพศผู้ รุ่นควายหนุ่มอายุ 31 – 36 เดือน (ฟันแท้ 2 คู่)
-รางวัลชนะเลิศ กระบือชื่อป๊อก 9 จากภาคินฟาร์ม
-รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 กระบือชื่อทองอุดร จากแลนาฟาร์ม
-รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 กระบือชื่อช้างนาคาจากลังกาฟาร์มควายงามเมืองนาคา
อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและอนุรักษ์การเลี้ยงควายไทย เนื่องจากควายหรือภาษาทางการเรียกว่า“กระบือ” ที่รู้จักกันนี้ น้อยคนแล้วที่จะได้เคยเห็นตัวจริงควายไทยถือเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมของไทยมาอย่างช้านาน คนไทยเทียมควายไถนามาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ทวด ด้วยความที่เป็นสัตว์ที่มีความอดทน ทนแดด ทนร้อน ทนสภาพอากาศแห้งแล้งได้ ทำให้กลายเป็นเครื่องมือไถนาชั้นดี ก่อนที่จะมีรถไถเกิดขึ้นมา การเดินทางในสมัยก่อนก็ยังใช้ควายเทียมเกวียน เพื่อทุ่นแรงในการเดินทางไกลอีกด้วย แต่ปัจจุบันควายไทยถูกลดความสำคัญลงจนกลายเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงเท่านั้น
นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ยังให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงควายขอให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการเลี้ยงควาย สู่อาชีพที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป