รมว.นฤมล เผยข่าวดี ไทยเปิดตลาดส่งออกเนื้อโคไปมาเลเซียสำเร็จ พร้อมเร่งเจรจาเปิดตลาดจีน ดันสินค้าปศุสัตว์ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อของไทย

1131048

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาโคเนื้อ – กระบือ และผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (Beef Board) ครั้งที่ 1/2568 โดยมี นายอิทธิ ศริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 123

                  

1131049

ศ.ดร.นฤมล เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้เดินหน้านโยบายขับเคลื่อนการส่งออกโคเนื้อ กระบือไปต่างประเทศ เพื่อกระตุ้นการค้าขายสินค้าปศุสัตว์ของประเทศ และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีอาชีพที่มั่นคง โดยได้ผลักดันการส่งออกโคมีชีวิตและผลิตภัณฑ์จากไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้มีการเดินหน้าเจรจายกระดับเปิดตลาดมาอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาของสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) ขณะเดียวกันกรมปศุสัตว์ได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 16 ม.ค.68 กรมสัตวแพทย์บริการแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย (DVS) ได้มีหนังสือแจ้งผลการเจรจาเปิดตลาดส่งออกเนื้อโคไปยังประเทศมาเลเซีย ว่าอนุญาตให้ส่งออกเนื้อโคจากไทยไปมาเลเซียได้แล้วตามข้อกำหนดที่ตกลง และขอให้สถานประกอบการนำส่งคำขอขึ้นทะเบียนไปยัง DVS เพื่อรอรับการตรวจรับรองต่อไป

                 

1131052

“กระทรวงเกษตรฯ มีสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ โดยเฉพาะยางพารา ที่ไทยส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก อย่างไรก็ตามโคเนื้อและผลิตภัณฑ์เป็นอีกหนึ่งความคาดหวังที่กระทรวงเกษตรฯ จะผลักดันให้เป็นสินค้าส่งออกอันดับต้นๆ เพื่อเป้าหมายประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกโคเนื้อรายใหญ่ของโลก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมระดับพรีเมี่ยม จึงควรส่งเสริมการเลี้ยงโคให้กับเกษตรกร และสนับสนุนการแปรรูปพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน และรูปแบบ ซึ่งจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อของไทย ดังนั้น จึงต้องพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดตลาดโคเนื้อ รวมถึงการลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ พัฒนาคุณภาพสินค้าให้ตรงความต้องการของตลาด พัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย รวมถึงส่งเสริมให้แปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น” ศ.ดร.นฤมล กล่าวย้ำ

                  

1131053

ศ.ดร.นฤมล ยังกล่าวถึงการแก้ไขปัญหาราคาโคเนื้อตกต่ำด้วยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้ผลักดันแนวทางการกำหนดราคาโคเนื้อให้มีเสถียรภาพ เริ่มจากการประกาศราคาแนะนำโคเนื้อมีชีวิตรายภาค โดยสมาคมโคเนื้อแห่งประเทศไทย การจัดทำโครงสร้างราคา การรณรงค์การบริโภคเนื้อโค พร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันการลักลอบนำเข้า เข้มงวดการตรวจสอบการลักลอบนำเข้าเนื้อโคผิดกฎหมาย โดยชุดเฉพาะกิจพญานาคราช รวมถึงเข้มงวดป้องกันการลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดง และเดินหน้าเจรจาเปิดตลาดโคเนื้อมีชีวิตเพ่อขยายตลาดส่งออกให้มากขึ้น


                  

1131054

ทั้งนี้ในที่ประชุมยังได้ร่วมกันพิจารณาในประเด็นที่สำคัญ โดยได้เห็นชอบการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ (งบกลาง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 สำหรับการจัดซื้อวัคซีนสำหรับโรคปากและเท้าเปื่อยเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคให้ครอบคลุมประชากรโคเนื้อ กระบือ แพะและแกะ ควบคุมป้องกันโรคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดความเสียหายของเกษตรกรจากโรคดังกล่าว ตลอดจนเพื่อให้อุบัติการณ์ของโรคลดลง จนไม่พบการระบาดและไม่พบสัตว์ป่วยตายภายในประเทศ สร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า เพิ่มศักยภาพการส่งออกไปยังต่างประเทศให้มากขึ้น

8CCCA439 616F 470A 904F E4DC85509597

สำหรับสถานการณ์การผลิตโคเนื้อ ปี 2567 มีโคเนื้อทั้งสิ้น 9.904 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจาก 9.655 ล้านตัว ของปี 2566 หรือคิดเป็นร้อยละ 2.58 ด้านผลผลิตโคเนื้อ 1.180 ล้านตัว ลดลงจาก 1.297 ล้านตัว ของปี 2566 ร้อยละ 9.04 ด้านการตลาด ส่งออกโคมีชีวิตรวม 133,416 ตัว มูลค่า 3,242.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 87,144 ตัว ของปี 2566 ร้อยละ 53.10 โดยส่งออกไปประเทศเวียดนาม 43.64% มาเลเซีย 28.64% ลาว 27.34% และอื่นๆ 0.38% ขณะที่การส่งออกเนื้อโคและผลิตภัณฑ์ รวม 0.656 พันตัน มูลค่า 99.05 ล้านบาท ลดลงจาก 0.87 พันตัน ของปี 2566 ร้อยละ 24.60 โดยแบ่งเป็นเนื้อโคแปรรูปร้อยละ 99.8 และเนื้อโคสดแช่เย็นแข่แข็งร้อยละ 0.2 ซึ่งเนื้อโคแปรรูปจะส่งออกไปญี่ปุ่นทั้งหมด ส่วนเนื้อโคสดแช่เย็นแช่แข็งส่งออกไปเมียนมาร์ ร้อยละ 49 ลาวร้อยละ 46 กัมพูชาร้อยละ 5

                  

161E67F6 2207 4C4F 9097 8BC9FD306C03 scaled

อย่างไรก็ตาม ในปี 2567 ไม่มีการนำเข้าโคเนื้อมีชีวิต แต่มีการนำเข้าเนื้อโคและผลิตภัณฑ์ จำนวน 35 พันตัน เพิ่มขึ้นจาก 25.30 พันตัน ของปี 2566 ร้อยละ 38.34 ประเทศคู่ค้าที่สำคัญสำหรับเนื้อโคสดแช่เย็นแช่แข็ง ได้แก่ ออสเตรเลีย (60%) อาร์เจนตินา (14%) นิวซีแลนด์ (10%) บราซิล (10%) อื่นๆ (6%) ส่วนเนื้อโคแปรรูปนำเข้าจากออสเตรเลียทั้งหมด

                  

EE5624A4 ECF7 4975 A44D A524A241E3AA scaled

ในส่วนของสถานการณ์การผลิตกระบือ ปี 2567 มีกระบือทั้งสิ้น 1,815,901 ตัว ปริมาณการผลิตกระบือเนื้อ 374,195 ตัว คิดเป็นเนื้อกระบือ 80,826 ตัน ปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 2.09 มีมูลค่านำเข้ากระบือรวมทั้งสิ้น 100.37 ล้านบาท โดยเป็นหนังกระบือฟอก หนังกระบือดิบ และเขากระบือ สำหรับมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 1,265.02 ล้านบาท ประเทศคู่ค้าส่งออกกระบือมีชีวิต ได้แก่ สปป.ลาว เวียดนาม มาเลเซีย เมียนมาร์ สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ เศษหนังโค-กระบือตากแห้ง หนังกระบือดิบ เขากระบือ และกระบือมีชีวิต

050C1D69 736C 421E A467 F6763434B2A3 scaled
2100EF89 6EA8 493D B2F4 20083B6EB5C8 scaled