“เป็ดเทศกบินทร์บุรี” เลี้ยงง่าย รายได้ดี ตลาดต้องการสูง


ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์ปีกมากกว่า 30 ปี มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือจะต้องให้เกษตรกรสามารถขยายพันธุ์ได้เองผ่านไป 2-3 ปี จึงเปลี่ยนพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์ ซึ่งการเลี้ยงเป็ดเทศไว้ทำพันธุ์จะแตกต่างจากการเลี้ยงขุนผลิตเนื้อที่การเลี้ยงขุนต้องให้เป็ดเทศได้กินอาหารเต็มที่ให้ได้น้ำหนักที่ตลาดเร็ว คือ น้ำหนักเฉลี่ย 3-3.5 กก./ตัว ส่วนการเลี้ยงขยายพันธุ์จะไม่เร่งให้เติบโตเร็วและอ้วนเกินไป ดังนั้นจึงต้องควบคุมอาหารทุกสัปดาห์จนเริ่มไข่ฟองแรก

S 9945177

✅ ลักษณะการให้ผลผลิตประจำพันธุ์
🪿อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก 6-7 เดือน
🪿น้ำหนักตัวเมื่อให้ไข่ฟองแรก 2.4-2.6 เดือน
🪿น้ำหนักไข่ฟองแรก 58-60 กรัม
🪿น้ำหนักตัวแรกเกิด 52-54 กรัม
🪿น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ (> 12 เดือน)
🪿เพศผู้หนัก 4.6-5 กิโลกรัม
🪿เพศเมียหนัก 2.8-3.3 กิโลกรัม
🪿ผลผลิตไข่ 160 – 180 ฟอง/ปี

ขั้นตอนการเลี้ยงเป็ดเทศกบินทร์บุรี

ระยะแรกเกิด 1-3 สัปดาห์

ช่วงแรกเกิดให้อาหารกินเต็มที่และมีน้ำสะอาดใส่วางให้กินตลอด พร้อมทั้งให้ไฟกกเล้าเลี้ยงควรมีผ้าหรือกระสอบปานล้อมรอบเล้า เพื่อป้องกันอากาศเย็นและลมโกรก พื้นเล้าควรปูด้วยแกลบหนาประมาณ 2 – 3 นิ้ว ให้อาหารเปิดวันละ 4 – 5 ครั้ง การใช้หลอดไฟกกให้ความอบอุ่น ควรสังเกตอุณหภูมิที่เหมาะสมในการกกลูกเป็ด ดูจากปฏิกิริยาของลูกเป็ด ถ้ามีลูกเป็ดนอนสุมทับกันและมีเสียงร้อง แสดงว่าอุณหภูมิต่ำเกินไป ต้องเพิ่มความอบอุ่นให้เพียงพอ ถ้าลูกเป็ดกระจายออกจากไฟกกมากบางตัวอ้าปากหอบแสดงว่าร้อนเกินไปต้องลดคุณหภูมิลง เมื่ออุณหภูมิพอเหมาะลูกเป็ดอยู่สบายจะนอนกระจายอยู่ทั่วไป

S 9945178

สูตรอาหารเป็ดเล็ก (100กิโลกรัม)
🔹ปลายข้าว 40 กิโลกรัม
🔹รำละเอียด 40 กิโลกรัม
🔹หัวอาหาร 18 กิโลกรัม
🔹เกลือ 0.4 กิโลกรัม

ระยะอายุ 4 – 12 สัปดาห์
ระยะนี้จะหยุดการกก โรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ดควรแห้งสะอาด ไม่มีน้ำขัง ป้องกันแดดและฝนได้ดี รางอาหารควรจะวางห่างจากรางน้ำ ควรเสริมมีผักสด หญ้าสดให้เป็ดกินทุกวัน ระยะนี้เปิดกำลังเจริญเติบโต อาหารควรมีโปรตีนประมาณ 16 %

ระยะอายุ 13 – 24 สัปดาห์
ช่วงนี้ เป็นช่วงที่เปิดเริ่มจะเข้าสู่วัยพ่อแม่พันธุ์ จะกินอาหารมากขึ้น การเจริญเติบโตน้อย จึงต้องเลี้ยงด้วยอาหารให้เพียงพอสำหรับรักษาขนาดและน้ำหนักของเป็ดให้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย อาหารที่ใช้ช่วงนี้ ควรมีโปรตีนประมาณ 14 % ในระยะนี้ควรเตรียมรังไข่ไว้ให้พร้อมในโรงเรือนเพื่อแม่พันธุ์จะได้คุ้นเคยก่อนเริ่มไข่

สูตรอาหารเป็ดรุ่น ( 100 กิโลกรัม )
🔹รำละเอียด 60 กิโลกรัม
🔹ข้าวเปลือก 20 กิโลกรัม
🔹หัวอาหาร 12 กิโลกรัม
🔹เกลือ 0.5 กิโลกรัม

การคัดเป็ดเทศไว้ทำพันธุ์

พ่อพันธุ์ คัดเลือกเป็ดหนุ่มที่อายุ 16 สัปดาห์ขึ้นไป ลำตัวใหญ่ มีอกกว้าง น้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่า 4.0 ก.ก.ก.ขึ้นไปและมีรูปร่างแข็งแรง ดวงตาแจ่มใส ปุ่มบนใบหน้าสีชมพูแดงเมื่อเข้าฝูงจะคลอเคลียตัวเมียเก่ง

แม่พันธุ์ คัดเลือกเป็ดสาวที่อายุเดียวกัน มีขนสีขาวปลอดมีลักษณะแข็งแรงดี ปุ่มบนใบหน้าสีชมพูแดง ลำตัวยาวและกว้าง กระดูกเชิงกรานกว้าง มีน้ำหนักตัว 2.5-3.0 ก.ก. แม่พันธุ์เป็ดเทศสามารถไข่ได้ 2 ปี

การให้อาหารพ่อแม่พันธุ์เป็ดเทศ เป็ดเทศพันธ์กบินทร์บุรี เริ่มไข่ฟองแรกเมื่ออายุ 24 สัปดาห์จะเปลี่ยนอาหารเป็นอาหารเป็ดไข่ ควรให้อาหาร 2 ครั้ง เช้า – เย็น ปริมาณที่ให้อาหาร 160 กรัม/ตัว/วัน พ่อพันธุ์ 200-250 กรัม/ตัว/วัน อาหารที่ให้ควรมีโปรตีนประมาณ 15-18% ในปีหนึ่งจะไข่ประมาณ 4-5 ชุด ชุดละ 15-20 ฟอง ลักษณะเป็ดเทศที่ให้ใช่ดี จะมีขนสีขาวเป็นมัน หน้าแดง แม่เป็ดมักชอบไขในที่มืดสงบ จึงควรมีรังไข่บุด้วยฟางหรือ วัสดุแห้ง ๆ จัดไว้ในมุมมืดของเล้าสำหรับแม่เป็ด

สูตรอาหารเป็ดเทศ (100 กิโลกรัม)
🔹ปลายข้าว 50 กิโลกรัม
🔹รำละเอียด 12 กิโลกรัม
🔹หัวอาหาร 30 กิโลกรัม
🔹เกลือ 0.5 กิโลกรัม

โรคที่สำคัญในเป็ดเทศ

1.โรคอหิวาต์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

อาการทั่วไป เป็ดจะซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัดมีไข้สูง ถ้าคลำดูที่คอและเท้าจะร้อน มักจับกลุ่มในบริเวณรางน้ำ อุจจาระเป็นยางเหนียว สีขาวปนเขียวบางครั้งเปิดตายกระทันหัน ถ้าเป็นเรื้อรัง ข้อเข่า ข้อเท้า อักเสบวม ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก เป็ดจะไข่ลดลง

การรักษา ใช้ยาซัลฟา ที่ได้ผลดีคือ ซัลฟาเมอราซีนหรือซัลฟาเมทธารีน หรือยาปฏิชีวนะ คลอเตตร้าชัยคลินหรือ ออกซีเตตร้าซัยคลิน ผสมในอาหาร ระดับ 500 ต่ออาหาร 1 ตัน

การป้องกัน โดยการทำวัคซีนอหิวาต์ ทำครั้งแรกที่ อายุ 2 เดือน และทำซ้ำทุก 3 เดือน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอกตัวละ 2 ซี.ซี

2.โรคดั้กเพล็ก (กาฬโรคเป็ด) เกิดจากเชื้อไวรัส

อาการทั่วไป มีอาการซึม ท้องร่วง เบื่ออาหาร ปีกตก ไม่เคลื่อนไหว มีน้ำตาไหลออกมาค่อนข้างเหนียว น้ำมูกไหลอุจจาระสีเขียวปนเหลือง อาจมีเลือดปน บริเวณรอบๆ ทวารจะแดงช้ำหายใจลำบาก

การรักษา ไม่มียารักษา มีแต่การป้องกัน

-การป้องกัน โดยการทำวัคซีน ดังนี้

-ครั้งแรก อายุ 1 เดือน

-ครั้งที่สอง อายุ 3 เดือน

-ครั้งที่สาม อายุ 6 เดือน และทำซ้ำทุก 6 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก

ที่มา: ศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์ปีก กรมปศุสัตว์

สนใจ ติดต่อศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์ปีก ตู้ปณ. 52 อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25110 โทรศัพท์/โทรสาร 037-625208 , 209