“ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง” ผลใหญ่ เนื้อหนา ฉ่ำน้ำ กลิ่นหอม สินค้า GI พืชเศรษฐกิจสำคัญจังหวัดเชียงใหม่

“ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง” (Lychee Jakkrapad Fang หรือ Jakkrapad Fang Lychee) หมายถึง ลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิ ทรงผลคล้ายรูปหัวใจ มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาสีแดงอมชมพู ผิวเปลือกหยาบคล้ายกำมะหยี่ เนื้อหนา สีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ผลิตในพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 25.4 องศาเซลเซียส มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์และมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่สำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำฝาง ลำห้วยแม่ใจ ลำน้ำแม่มาว ลำน้ำแม่เผอะ เขื่อนแม่มาว เขื่อนบ้านห้วยบอน ห้วยแม่งอน เป็นต้น ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) “ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง” เมื่อ 7 มิ.ย. พ.ศ.2567

messageImage 1718684788866

messageImage 1718684797073

นอกจากนี้ ยังมีน้ำพุร้อนที่มักพบอยู่ในพื้นที่บริเวณหินภูเขาไฟที่ดับแล้วส่งผลให้น้ำอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์จากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ทำให้พื้นที่ทั้ง 3 อำเภอ เป็นแหล่งที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง ลิ้นจี่มีคุณภาพและมีปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูง มีผลขนาดใหญ่ เนื้อหนา ฉ่ำน้ำ มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอฝางมาอย่างยาวนาน จนมีปรากฏในคำขวัญที่ว่า “เมืองฝาง เมืองลิ้นจี่ สตรีสวย รวยกระเทียม เยี่ยมมันฝรั่ง ดังหอมหัวใหญ่”

messageImage 1718684805364

ประวัติความเป็นมา

สันนิษฐานว่าชาวจีนเป็นผู้นำผลหรือเมล็ดพันธุ์ลิ้นจี่เข้ามา โดยเมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้มีผู้นำต้นลิ้นจี่จากประเทศจีนและพันธุ์จากภาคกลางของไทยเข้ามาปลูกในภาคเหนือ โดยนำเข้ามาทดดลองปลูกในสถานีทดลองพืชไร่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ และในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ นับแต่นั้นเป็นต้นมาเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือนิยมปลูกลิ้นจี่เพิ่มมากขึ้น เช่น เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และน่าน เป็นต้น สายพันธุ์ลิ้นจี่ที่นิยม ได้แก่ พันธุ์จักรพรรดิ พันธุ์ฮงฮวย พันธุ์โอวเฮียะ พันธุ์กวางเจา และพันธุ์กิมเจง

โดยในปี พ.ศ.2546ได้มีการศึกษาการผลิตและการตลาดของลิ้นจี่ในพื้นพื้นที่อำเภอฝาง พบว่าเป็นพื้นที่ที่มีการผลิตลิ้นจี่มากที่สุดในประเทศไทย อย่างไรก็ดีพื้นที่การปลูกลิ้นจื่ลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปีเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรวนและการตลาดของพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่มีผลตอบแทนสูงกว่า การรักษาลิ้นจี่จักรพรรดิฝางให้คงอยู่กับอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ จึงต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญของเกษตรกรและเทคโนโลยีการผลิตควบคู่กันลิ้นจี่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอฝางมายาวนาน โดยมีปรากฏในคำขวัญที่ว่า “เมืองฝางเมืองลิ้นจี่ สตรีสวย รวยกระเทียม เยี่ยมมันฝรั่ง ดังหอมหัวใหญ่” และมีการจัดงานประจำปีต่างๆ เช่น งานเทศกาลลิ้นจี่ฝาง แม่อาย ไชยปราการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองฝาง ในปี พ.ศ. 2560 งานประชาสัมพันธ์และเผยแพรไม้ผลอัตลักษณ์ “ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง” จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2565

ด้วยลักษณะเด่น คือ ผลขนาดใหญ่ รูปทรงคล้ายหัวใจ เปลือกหนาสีแดงอมชมพู เนื้อหนาสีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม จึงเป็นไม้ผลอัตลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความโดดเด่น คุณภาพดี รสชาติอร่อย ผลิตภายใต้มาตรฐานเกษตรปลอดภัย GAP “ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง” จึงเป็นที่ต้องการของตลาดมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

GIregistration228 page 0006แก