“มะม่วงน้ำดอกไม้สมุทรปราการ” GI เปลือกบาง เนื้อละเอียด ไม่มีเสี้ยน เมล็ดแบนลีบ หอม หวานละมุน

“มะม่วงน้ำดอกไม้สมุทรปราการ “(Nam Dok Mai Samutprakarn Mango หรือMa Muang NamDok Mai Samutprakarn) หมายถึง มะม่วงน้ำดอกไม้พันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ที่มีผลผลทรงรี ด้านขั้วผลมีขนาดใหญ่และเล็กลงที่ท้ายผลหรือปลายแหลม ผลสุกมีผิวสีเหลืองเข้ม หรือเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อผลสีเหลืองอมส้ม เนื้อละเอียด ไม่มีเสี้ยน เมล็ดเล็กแบนลีบ รสชาติหวานละมุน ไม่หวานแหลม มีกลิ่นหอม ปลูกและผลิตในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยผู้ขอยื่นจดทะเบียนได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการและได้ขึ้นทะเบียน GI เมื่อ 16 กันยายน 2562

299513231 483172427151525 3579912558564893943 n

การปลูก

(1) ต้นพันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้สมุทรปราการ ต้องเป็น “มะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4” ที่ได้จากแหล่งพันธุ์คุณภาพดีหรือเชื่อถือได้ตรงตามพันธุ์ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย ซึ่งได้จากการเสียบยอด หรือทาบกิ่ง โดยการนำพันธุ์มาอนุบาล ปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และกำจัดลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ออกไป เช่น ใบที่เป็นโรคหรือมีร่องรอยการทำลายของแมลง รากบิดงอ กิ่งแห้งไม่สมบูรณ์ เป็นต้น เพื่อให้เหมาะสมต่อการนำไปปลูก

(2)พื้นที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สมุทรปราการ สามารถปลูกได้ในพื้นที่ร่องสวน พื้นที่ราบ หรือบริเวณคันบ่อโดยพื้นที่ปลูกควรมีการปรับปรุงคุณภาพดินให้มีความเหมาะสม มีการกำจัดวัชพืช ลักษณะพื้นที่ควรมีความลาดเทเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง หรือมีร่องระบายน้ำ

มะม่วง

(3) แหล่งน้ำ ต้องเป็นแหล่งน้ำที่มีความปลอดภัย คือ มีคุณสมบัติที่ไม่เป็นอันตรายต่อการผลิตมะมะม่วง น้ำดอกไม้สมุทรปราการ อาจเป็นน้ำในร่องสวน บ่อ สระ น้ำฝน ซึ่งในบางฤดูอาจมีรสกร่อยซึ่งเกิดจากน้ำทะเลหนุน

(4) การปลูก ระยะปลูกโดยทั่วไปคือระหว่างต้นและแถวคือ 4-7 เมตร ขุดหลุมปลูกกว้างxยาวxลึก ขนาด 50 เซนติเมตร หรือตามความเหมาะสมของแต่ละสภาพพื้นที่ ใส่ปุ๋ยที่คลุกเคล้ากับดินรองก้นหลุมปลูก

(5) นำต้นพันธุ์มะม่วงที่เตรียมไว้มาปลูกในหลุม กลบดินสูงกว่าปากหลุมเล็กน้อย เพื่อป้องกันน้ำขัง ใช้หลักปักค้ำยันไม่ให้ต้นล้ม หรือตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

299356173 483172423818192 9035025263096610919 n

(6) ให้น้ำอย่างเพียงพอ แต่ควรงดการให้น้ำช่วงก่อนมะม่วงแทงช่อดอก หลังแทงช่อดอกแล้วจึงให้น้ำตามปกติ ใส่ปุ๋ยและธาตุอาหารเสริมตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ควรมีการตัดแต่งกิ่งและป้องกันกำจัดศัตรูมะม่วงอย่างถูกวิธี

การเก็บเกี่ยว

(1) ควรเก็บเกี่ยวผลที่แก่จัด โดยการสังเกตผลที่มีลักษณะผิวเป็นมันนวล บริเวณปลายผลจะมีสีเหลืองเล็กน้อย(กรณีมะม่วงไม่ห่อผล) หรือใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง 2-3 ผล มาถ่วงน้ำหนักหากจมน้ำแสดงว่ามะม่วงแก่ หรือการนับวันหลังจากมะม่วงออกดอก 100-115 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้

(2) ต้องเก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต ผลไม่ช้ำ ไม่มีรอยแผล

(3) ควรให้มีขั้วผลติดมาด้วย ความยาวประมาณ 1.0-3.0 เชนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำยางไหลมาเปื้อนผลทำให้เสียคุณภาพ

(4) ใช้อุปกรณ์ในการเก็บมะม่วง เช่น ตะกร้อย ใช้มือเก็บ ใช้บันไดปืนเก็บ หรือใช้เครื่องมืออุปกรณ์อื่นที่ไม่กระทบต่อคุณภาพมะม่วง เป็นต้น

(5) การบ่มสุก บ่มด้วยแก๊สหรือถ่านแก๊ส โดยต้องระวังอย่าให้ผลมะม่วงสัมผัสกับถ่านแก๊ส ใช้เวลาบ่ม 1-2 คืน แล้วนำออกมาผึ่งไว้ในที่ร่มอีก 1-2 วัน

(6) หลังการเก็บเกี่ยวควรมีการจัดการต้นและแปลงปลูกอย่างเหมาะสม กำจัดกิ่งและผลที่มีการทำลายของโรคและแมลงออกจากแปลงปลูกและนำไปทำลายอย่างถูกต้อง ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นมะม่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดสมุทรปราการ เป็นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง บริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลลงสู่อ่าวไทย หรือเรียกบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งเกิดขึ้นจากการทับถมของตะกอนหนา ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มติดทะเลอ่าวไทย มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางพื้นที่ ลักษณะดินเป็นกลุ่มชุดดินเหนียวที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนผสมระหว่างตะกอนลำน้ำและตะกอนทะเล บริเวณที่ราบลุ่มเป็นน้ำกร่อย หน้าดินลีก 100-150 เซนติเมตร ดินมีสภาพเป็นกลางถึงด่าง ค่าพี่เอช (pH) 5.5-8.5

และจากหลักฐานทางธรณีวิทยา นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการนับล้านปีก่อนทั้งหมดเคยเป็นทะเล ต่อมาบริเวณนี้ตื้นเขินซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนดินเคลย์ทะเล (Maine Clay) โดยอิทธิพลของน้ำทะเลและตะกอน ดินเคลย์ที่เกิดจากอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงและแม่น้ำล้นฝั่นฝั่งในฤดูน้ำหลาก ตะกอนขนาดละเอียดถูกพัดพามาสะสมอย่างต่อเนื่องและยาวนาน อัตราการสะสมคงตัวและสม่ำเสมอจนได้ตะกอนดินเหนียวที่มีขนาดละเอียดมาก มีซากพืชชากสัตว์ปนดินเหนียวปนพีท (Peat Clay) และมีแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิด ซึ่งลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้พื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการเป็นดินที่มีธาตุอาหารพืชสูง โดยเฉพาะธาตุโพแทสเชียมที่มีความสำคัญในการสร้างและและเคลื่อนย้ายสารอาหารพวกแป้งและน้ำตาล ซึ่งเกษตรกรมักจะใส่เพื่อปรับปรุงคุณภาพผลไม้ให้มีรสชาติดีขึ้น นอกจากแม่น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดแล้ว จ.สมุทรปราการยังมีลำคลองรวม 95 สาย โดยเป็นคลองชลประทาน 14 สาย คลองธรรมชาติ 81 สาย ทำให้พื้นที่เกษตรมีปริมาณน้ำอย่างเพียงพอ

ลักษณะภูมิอากาศ

เป็นแบบชายทะเล เนื่องจากมีพื้นที่บางส่วนติดอยู่กับอ่าวไทยจึงได้รับอิทธิพลของลมทะเล และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูฝนเริ่มเดือนมิถุนายน-ตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,682.26 มิลลิเมตรต่อปี อากาศเย็นสบายตลอดปีไม่ร้อนจัดและไม่หนาวจัดจนเกินไป ฤดูร้อนเริ่มเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ถดูหนาวเริ่มพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28.59 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 67.64% ปัจจัยทางภูมิประเทศและภูมิอากาศดังกล่าว เป็นปัจจัยเฉพาะส่งผลให้มะม่วงน้ำดอกไม้สมุทรปราการมีความแตกต่างจากพื้นที่อื่น โดยเฉพาะรสชาติที่หอมหวานละมุน ไม่หวานแหลม เนื้อละเอียด ไม่มีเสี้ยน ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภค

ประวัติความเป็นมา

จังหวัดสมุทรปราการ หมายถึงกำแพงชายทะเลหรือกำแพงริมทะเล หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “เมืองปากน้ำ” เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลที่สำคัญในอดีต สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน มีลำคลองเป็นจำนวนมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์

GI65100176 page 0005แก