“มะนาวเพชรบุรี “หมายถึง มะนาวพันธุ์มะนาวแป้น พันธุ์มะนาวไข่ พันธุ์มะนาวหนัง ลักษณะผิว เปลือกบาง มี 8 – 12 กลีบ ผลใหญ่ เนื้อสีเหลืองอ่อน รสเปรี้ยวกลมกล่อม กลิ่นหอมมะนาว ซึ่งผลิตในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) “มะนาวเพชรบุรี” เมื่อ 31 พ.ค. พ.ศ.2556
กระบวนการผลิต
การเตรียมพื้นที่ปลูก
(1) การปลูกในที่ดอน ได้แก่ พื้นที่ที่ใช้ปลูกพืชไร่ที่มีลักษณะเป็นเนินเขาหรือที่ราบสูง ไม่มีน้ำท่วมเป็นเวลานานๆ เป็นดินร่วน ดินทราย ดินปนทรายหรือดินลูกรัง ระบายน้ำดี เริ่มจากไถดินอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกไถดะ ให้ดินก้อนใหญ่ตากแดดไว้จนแห้ง แล้วจึงไถแปรให้ดินย่อยละเอียดยิ่งขึ้น ถ้าดินมีอินทรีย์วัตถุน้อยควรปรับปรุงดินด้วยการทำปุ๋ยพืชสดโดยการปลูกพืชตะกูลถั่ว
(2) การปลูกในที่ลุ่ม ได้แก่ พื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูฝน ตามปกติจะมีระดับน้ำใต้ดินสูง ส่วนใหญ่เป็นที่นามาก่อน สภาพทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ดินเหนียวจะระบายน้ำยาก จึงต้องมีการยกระดับดินให้สูงกว่าพื้นที่ราบโดยทั่วไป โดยทำเป็นร่องปลูกจะทำให้รากกระจายได้ลึก ระหว่างแปลงดินเป็นร่องน้ำสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้รดต้นมะนาวได้สะดวกมีคันโดยรอบล้อมรอบแปลงปลูกทั้งหมด เพื่อเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมรักษาระดับน้ำตามที่ต้องการ
การปลูก
(1) พื้นที่ดอน ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาว และลึก ประมาณ 50 เซ็นติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุม 6X6 เมตร ตากแดดอย่างน้อย 7 วัน ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกมะนาวได้ 40 – 50 ต้น และรองก้นหลุมด้วยขั้นที่ 1 คือเศษหญ้าหรือใบไม้ผุขั้นที่ 2 ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ขั้นที่ 3 คือปุ๋ยดอกผสมกับดิน ในอัตราปุ๋ยคอก 1 ส่วน ต่อดิน 2 ส่วน หรือใช้ปุ๋ยเคมีหรือตามความเหมาะสมของพื้นที่ ใส่ลงไปในหลุมให้สูงพันจากปากหลุมประมาณ 20 เซ็นดิเมดร เพื่อป้องกันดินยุบตัวจากการรดน้ำ รดน้ำให้ชุ่มปล่อยทิ้งไว้รอให้ดินยุบตัวแล้วจึงนำกิ่งพันธุ์มะนาวลงปลูกได้
(2) พื้นที่ลุ่ม ปลูกแบบยกร่องให้ขุดหลุมกว้างประมาณ 1.5 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร ปลูกกลางร่องแถวเดียว โดยทำร่องกว้างประมาณ 6 – 8 เมตร และขุดหลุมปลูกให้มีขนาด 50 เซ็นติเมตร ความลึกของหลุมขึ้นอยู่กับระดับน้ำในหลุม (สังเกตจากการเมื่อขุดหลุมทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 วัน น้ำจะซึมเข้ามาในหลุมจึงใช้ระดับน้ำในหลุมเป็นเกณฑ์) และรองก้นหลุมหลุมด้วยใบไม้ผุ ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ทำเหมือนการปลูกในที่ดอน แล้วรดน้ำให้ชุ่มปล่อยทิ้งไว้รอให้ดินยุบ แล้วจึงนำกิ่งพันธุ์มะนาวลงปลูกได้
การเก็บเกี่ยว
มะนาวเป็นไม้ผลยืนต้น จะเริ่มติดผลหลังจากการปลูกประมาณ 2 – 3 ปี ออกดอกผลตลอดปี แต่ปริมาณไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของต้นและสภาพพื้นที่ปลูก ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนกระทั่งเก็บขายได้ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน และเริ่มเก็บได้ตั้งแต่เดือนที่ 5 สังเกตได้จากผิวเปลือกจะเรียบบางใสขึ้น สีของผิวจะอ่อนกว่าลูกที่ยังไม่แก่ ไม่ควรเก็บมะนาวที่แก่จัด ที่มีผิวมะนาวสีเหลือง เพราะจะซ้ำเวลาขนส่ง และอายุในการเก็บรักษาก่อนการจำหน่ายค่อนข้างน้อย เนื่องจากมะนาวสุกเร็ว
ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ บริเวณตอนกลางของจังหวัดเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด เนื่องจากมีแม่น้ำเพชรบุรีซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน นอกจากนี้ยังมีเขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนเพชรบุรีซึ่งเป็นแหล่งน้ำระบบชลประทาน และพื้นที่ส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์เนื่องจากดิน เป็นดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุผสมอยู่มาก ทำให้บริเวณนี้เป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญของจังหวัด มีดินที่มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลปนเหลืองอ่อน เหมาะแก่การปลูกมะนาวเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรี มีอากาศอบอุ่นตลอดปี ไม่ร้อนหรือหนาวจัด เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงทางด้านตะวันตก และเป็นชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีต่ำสุด 24 องศาเซลเซียส สูงสุด 32 องศาเซลเซียส โดยประมาณ
ประวัติความเป็นมา
มะนาวเพชรบุรี เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเพชรบุรี ที่ทำรายได้เข้าสู่จังหวัดเพชรบุรี ประวัติการปลูกมะนาวมีตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ แต่ประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา มะนาวของจังหวัดเพชรบุรีได้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของดลาด เนื่องจากมีเปลือกบาง และมีกลิ่นหอม ดังนั้นเกษตรกรของจังหวัดเพชรบุรี โดยเฉพาะในเขตอำเภอท่ายาง แก่งกระจาน บ้านลาด และอำเภออื่นๆ จึงได้หันมาปลูกมะนาว โดยเฉพาะมะนาวพันธุ์แป้นเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ขอบเขตพื้นที่การผลิตมะนาวเพชรบุรี ครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรี