“หอยนางรมสุราษฎร์ธานี” หมายถึง หอยตะโกรมกรามขาว (White Scar Oyter) เป็นหอยพันธุ์ท้องถิ่นของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เลี้ยงในทะเลและบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำตลอดแนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอน ในเขตอำเภอไชยา ท่าฉาง พุนพิน เมือง และกาญจนดิษฐ์ รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลของอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “หอยนางรมสุราษฎร์ธานี ” เมื่อ 28 มิถุนายน 2549
กระบวนการผลิต
(1) การล่อลูกหอย
-ล่อลูกหอยในธรรมชาติโดยใช้ไม่ไผ่หรือกระเบื้อง ปักในพื้นที่มีหอยนางรมชุกชุม ใช้เวลาประมาณหนึ่งปีครึ่งจึงแกะลูกหอยนางรม นำไปเลี้ยงต่อไป
(2) การเลี้ยงหอยนางรมในอ่าวบ้านดอนที่มีน้ำท่วมอยู่ตลอดเวลา เลี้ยงได้หลายวิธี ที่นิยมคือ แบบใช้ปล่องซีเมนต์
แบบใช้แผ่นกระเบื้องมุงหลังคา และ แบบใช้แท่งซีเมนด์
( 3) การเลี้ยงหอยนางรมในบ่อดิน เป็นการเลี้ยงช่วงสั้นประมาณ 1-2 เดือน เพื่อปรับปรุงคุณภาพหอยนางรมสู่ท้องตลาด โดยนำหอยมาใส่ตะกร้าพลาสติกแซ่น้ำในบ่อดินที่เตรียมน้ำไว้แล้วอย่างดี มีการให้ออกชิเจน
(4) การเก็บเกี่ยวใช้แรงคนในการเก็บเกี่ยวผลผลิตหอยนางรมมีชีวิตจากแหล่งเลี้ยง ใส่ในเรือแล้วลำเลียงมายังที่รวบรวมผลผลิต
5) วีธีการหลังการเก็บเกี่ยว
กำจัดเพรียงหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ติดตามเปลือกหอยนางรมออก และหากผลการตรวจทางจุลวิทยาตามมาตรฐานประเทศไทย ประเภทอาหารทะเลเพื่อบริโภคสด พบว่าในเนื้อหอยมีแบคทีเรียบางชนิดมีจำนวนเกินมาตรฐาน ต้องนำมาลดจำนวนแบคที่เรียให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อน เช่น ใช้วิธีการให้น้ำทะเลที่สะอาดไหลผ่านตัวหอยช่วงระยะยะหนึ่ง เป็นต้น ก่อนส่งหอยนางรมออกสู่ตลาด
ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์รอบอ่าวบ้านดอน เป็นศูนย์กลางการค้าขายมาตั้งแต่อดีตโดยพัฒนามาพร้อมกับชุมชนโบราณที่อยู่บริเวณรอบอ่าว ได้แก่เมืองไชยา และเมืองทำทอง ซึ่งรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าพระราชทานนามใหม่เป็น เมืองกาญจนดิษฐ์ อ่าวบ้านดอนมีรูปร่างของอ่าวเป็นรูปตัวยู (U) มีพื้นที่ประมาณ 298,152 ไร่ การขึ้นลงของน้ำทะเลในอ่าวบ้านดอนเป็นแบบน้ำเดียวหรือขึ้นลงวันละครั้ง ความลึกเฉลี่ยบริเวณกลางอ่าว อยู่ในช่วง 4 – 5 เมตร มีแม่น้ำหลายสายไหลลงอ่าว กระแสน้ำได้นำพาอาหารและปุ๋ยมากับสายน้ำด้วย ประกอบกับผิวหน้าดินในทะเลบริเวณใกล้แนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอนเป็นดินเลนมีแร่ธาตุมาก จากสภาพอ่าวบ้านดอนที่มีพื้นที่มาก ความลึกค่อนข้างน้อยและปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงอ่าวค่อนข้างมากในแต่ละปีจึงทำให้เกิดสภาพน้ำกร่อยขึ้นเป็นวงกว้าง และเป็นเวลานาน ความอุดมสมบูรณ์และระดับความเค็มของน้ำทะเลในอ่าวจึงเหมาะแก่การเจริญเติบโตของหอยนางรมเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อแม่พันธุ์หอยนางรมวางไข่ จากลักษณะอ่าวที่เป็นรูปตัวยูนี้เองจึงมีอิทธิพลทำให้ทำให้ตัวอ่อนของหอยนางรมเคลื่อนตัวตามกระแสน้ำ หมุนวนเหมือนลายเส้นก้นหอยโข่งอยู่ตามบริเวณปลายแหลมต่างๆ ในอ่าวบ้านดอน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีลูกหอยนางรมหนาแน่น โดยจะพบเกาะติดกับรากต้นโกงกางหรือวัสดุที่ปักอยู่ในบริเวณดังกล่าว
ประวัติความเป็นมา
หอยนางรมสุราษฎร์ธานีเป็นหอยพันธุ์ท้องถิ่น ผู้ริเริ่มเพาะเลี้ยง คือ คุณไสว วิเชียรฉายราษฎรหมู่ที่ 1 ตำบลทำทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ ริเริ่มเพาะเลี้ยงครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2501 โดยเก็บลูกหอยในคลองทำทอง ไปปล่อยให้เกาะติดกับหลักไม้บริเวณที่เป็นโคลนเลน มีน้ำท่วมไม่ลึกนัก มีรายงานว่าประมาณปี พ.ศ.2503 มีการทดลองเลี้ยงหอยนางรมที่ปากน้ำท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ ในอ่าวบ้านดอน และได้ขยายพื้นที่เลี้ยงบริเวณแหลมซุย อำเภอไชยา หอยนางรมสุราษฎร์ธานี เป็นหอยเปลือกบาง ขนาดใหญ่ เนื้อขาวนวลอ้วน รับประทานรสชาติดี เนื้อหวานฉ่ำ เป็นที่กล่าวถึงของนักบริโภคว่า หอยตะโกรมใส่มะนาว กระเทียม พริกสด แนมด้วยหอมเจียวและยอดกระถิ่น เป็นอาหารขึ้นชื่อมีรสชาติอร่อย เป็นอาหารที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนได้ชื่อว่าเป็น “เมืองหอยใหญ่” ดังคำขวัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ว่า “เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ”
(6) ขอบเขตที่ตั้งแหล่งภูมิศาสตร์
ขอบเขตเพาะเลี้ยงหอยนางรมสุราษฎร์ธานี เป็นทั้งพื้นที่ในทะเลและบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำตลอดแนวชายฝั่งอ่าวบ้านดอน โดยอ่าวบ้านดอนมีขอบเขด ลากเป็นเส้นตรงได้จากแหลมซุย อำเภอไชยา ถึงแหลมคุ้มหมอ อำเภอกาญจนติษฐ์ เนื้อที่รวม
477ตารางกิโลเมตร หรือ 298.152 ไร่ มีรูปร่างของอ่าวเป็นรูปด้วยู (U) ระหว่างละจิจุด 9 05 – 9 21′ เหนือ และลองติจุด
99 06 – 99 31 ตะวันออก รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลของอำเภอท่าชนะติดต่อกับอำเภอไชยา