“พริกไทยจันท์ ” GI ราชาเครื่องเทศ กับความหอมและความเผ็ดร้อนที่เป็นเอกลักษณ์

“พริกไทยจันท์” (Chanthaburi Pepper และ/หรือ Prik Thai Chan) หมายถึง พริกไทยแห้งชนิดเม็ดและป่น ที่มีรสชาติเผ็ดร้อน กลิ่นหอมฉุนเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งผลิตจากพริกไทย 2 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์จันทบุรี และพันธุ์คุชชิ่ง ที่ปลูกและแปรรูปในพื้นที่ 10 อำเภอ ของจังหวัดจันทบุรี ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) ” พริไทยจันท์ ” เมื่อ 6 ส.ค. 2563

5f34cc3706896

กระบวนการผลิต

การปลูก

(1) เตรียมต้นพันธุ์จากพันธุ์จันทบุรี (ปรางถี่) และ/หรือ พันธุ์คุชชิ่ง (ซาราวัคหรือมาเลเซีย) โดยใช้ส่วนของลำต้นปักชำก่อนนำไปปลูก

(2) เตรียมแปลงปลูกโดยใช้ค้าง (เสา) ปลูกได้ค้างละ 1-4 ต้น ใช้เชือกผูกแขนงหรือยอดพันธุ์ให้ดิดกับค้าง

(3) ช่วงแรกของการปลูกพริกไทยต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพริกไทยตั้งตัวได้ดีแล้วลดการให้น้ำลงได้

a1dc7ec594de5ab2dab1facdb256cc6f86819b2 768x1024 1

(4) ต้นพริกไทยที่ให้ผลผลิตแล้วให้น้ำตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

(5) ควรพูนโคนโดยนำดินไปกองข้างโคนต้นจะช่วยให้รากแผ่กระจายหาอาหารได้มากขึ้นและทำให้ค้าง (เสา) ยึดแน่นไม่โยกคลอน

(6) เมื่อต้นพริกไทยตั้งตัวดีแล้วจะเริ่มแตกยอดอ่อน ให้ผูกเถาพริกไทยให้ติดกับค้าง (เสา) โดยจัดเถาทั้งหมดให้เรียงขนานกันขึ้นไปรอบ ๆ ค้าง

การเก็บเกี่ยวผลพริกไทยสด

(1) ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว คือ ตั้งแต่เดือนธันวาคม-เมษายนของทุกปี

(2) วิธีการเก็บเกี่ยว เก็บผลผลิตที่มีอายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมและมีคุณภาพ โดยสังเกตจากสีของผลว่าเริ่มมีสีเขียวเข้มหรือมีผลสุกสีเหลืองและสีแดงบ้าง ใช้อุปกรณ์หรือภาชนะที่ป้องกันการเสียหายของผลผลิต และไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในทุกขั้นตอนการผลิต

ลักษณะภูมิประเทศ

พริกไทยเป็นพืชเถายืนต้นเมืองร้อน ปลูกได้ดีในพื้นที่ราบทั่วไปที่มีความลาดเอียงของพื้นที่เล็กน้อย น้ำไหลผ่านได้ดี ไม่เป็นพื้นที่น้ำท่วมขัง โดยทั่วไปรากพริกไทยจะหาอาหารอยู่ในระดับตื้น ประมาณ 50-100 เซนดิเมตร จึงเหมาะสมกับกลุ่มดินที่ชั้นดินลึกปานกลาง และเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน โดยเฉพาะดินร่วนซุยมีสีแดงคล้ำ มีอินทรียวัตถุสูง ซึ่งสภาพภูมิประเทศของจังหวัดจันทบุรีมีทั้งที่เป็นภูเขา เนินเขาและที่ราบสลับภูเขา ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดเอียง ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย เป็นดินลึกปานกลาง พบเศษหินก้อนกรวดหรือหินพื้นภายใน 100 เซนติเมตร พื้นดินเป็นคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเนินเขา ซึ่งทั้งสภาพภูมิประเทศ ชุดดิน และลักษณะดิน เอื้ออำนวยต่อการปลูกพริกไทยเป็นอย่างดี ทำให้ต้นพริกไทยเจริญเติบโตได้ดี มีอายุต้นยืนยาว และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

สภาพภูมิอากาศ พริกไทยเป็นพืชเขตกึ่งร้อนชื้นสามารถขึ้นได้ดีในภูมิอากาศแถบร้อนที่มีอุณหภูมิค่อนข้างร้อนและมีความชื้นสูง อุณหภูมิที่เจริญเติบโดได้ดีอยู่ระหว่าง 25-40 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 65-95 พริกไทยเป็นพืชที่ต้องการปริมาณน้ำมากและสม่ำเสมอ พื้นที่ปลูกจึงควรมีปริมาณน้ำฝนตลอดปี โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งต้องมีน้ำพอเพียง ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสม โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,200-2,500 มิลลิเมตรซึ่งจังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ที่ละดิจูด 12 องศา 37 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 07 ลิปดาตะวันออก มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน อุณหภูมิของอากาศเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 28.31 องศาเซลเซียส มีค่าเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ 79.08 นอกจากนี้ยังมีฝนตกชุกปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,859 มิลลิเมตรต่อปี และยังมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญอีก 4 สาย รวมถึงระบบชลประทาน 8 โครงการ จากป้จจัยเหล่านี้ ทำให้จังหวัดจันทบุรีมีสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และปริมาณน้ำเหมาะสมการผลิตพริกไทย ส่งผลให้มีปริมาณผลผลิตมากและคุณภาพดี

ด้วยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าจังหวัดจันทบุรีมีความเหมาะสมกับการปลูกพริกไทยอย่างมาก ประกอบกับภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษในทุกกระบวนการผลิต ตั้งแต่เตรียมการปลูก การตั้งเสาค้าง วิธีการปลูก เทคนิคการพูนโคน การผูกยอด อุปกรณ์เครื่องมือ จนถึงขั้นตอนการแปรรูปพริกไทย ปัจจัยเหล่านี้เองที่ส่งผลให้พริกไทยจันท์มีคุณภาพดี มีขนาดเม็ดใหญ่ รสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้พริกไทยจันท์มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานทั้งในและต่างประเทศมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยายาวนานมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมา

พริกไทยในจังหวัดจันทบุรี มีปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยยา โดยมีการแต่งตั้งชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่มาตั้งรกรากในเมืองจันท์เป็นเจ้าภาษีนายอากร เก็บส่วยอากรพริกไทย

ต่อมาสมัยกรุงธนบุรี พริกไทยถูกบรรจุให้เป็นหนึ่งในสินค้าสำคัญที่พระเจ้ากรุงสยาม (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) จัดส่งไปเมืองจีนเป็นเครื่องราชบรรณาการจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สะท้อนให้เห็นถึงสภาพการตั้งชุมชนในจังหวัดจันทบุรีว่าประกอบไปด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติมาอยู่รวมกันและมีปฏิสัมพันธ์ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะชาวจีนเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตพริกไทย เนื่องจากจันทบุรีเป็นศูนย์กลางของท่าสยามที่เรือสำเภาหัวแดงแวะมาส่งคนขึ้นฝั่ง ชาวจีนเหล่านี้มักเลือกตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นที่ราบริมแม่น้ำหรือชายฝั่งทะเลในอำเภอขลุง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอท่าใหม่ และอำเภอเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการค้าและอุตสาหกรรม สอดคล้องกับการประกอบอาชีพของกลุ่มชาวจีนอพยพที่มีความชำนาญทางการค้าและเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น พริกไทย อ้อย และผลไม้ชนิดต่าง ๆ ทำ
ให้จันทบุรีเป็นแหล่งเพาะปลูกพริกไทยที่สำคัญในยุดนั้น จนถึงปัจจุบันจันทบุรีก็ยังคงเป็นแหล่งผลิตพริกไทยที่สำคัญที่สุดของประเทศ เมื่อมีการกล่าวถึงพริกไทยในประเทศไทย ผู้คนทั่วไปจะนึกถึง”พริกไทยจันท์” ที่มีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมฉุน และเมื่อได้ชิมจะมีรสชาติเผ็ดแผ่ซ่านทั้งปากพร้อมกลิ่นหอมขึ้นจมูกที่เป็นเอกลักษณ์ มีการคิดค้นท่ารำระบำเก็บพริกไทยซึ่งเป็นศิลปะการแสดงที่สะท้อนถึง

ความสำคัญของพริกไทยในจังหวัด ความมีชื่อเสียงของพริกไทยจันท์ นับเป็นอีกหนึ่งอัตลักษณ์พื้นถิ่น จนได้มีการนำมาตั้งเป็นคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า “น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี

GI63100144 page 0007แก