“ขมิ้นชันสุราษฎร์ธานี” สินค้า GI สู่ตลาดโลก

“ขมิ้นชันสุราษฎร์ธานี” (Surat Thani Turmeric หรือ Ka Min Chan Surat Thani) หมายถึง ขมิ้นชันพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเหง้าภายนอกมีสีน้ำตาลถึงเหลืองเข้ม เนื้อสีเหลืองส้มหรือสีเหลืองจำปาปนแดง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวจากน้ำมันหอมระเหย จำหน่ายในรูปแบบขมิ้นชันสด ขมิ้นชันแห้ง ผงขมิ้นชัน และน้ำมันสกัดจากขมิ้นชัน โดยผ่านกระบวนการแปรรูปตามวิธีการที่กำหนด ปลูกและแปรรูปครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ อำเภอพนม อำเภอบ้านตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอท่าฉาง และอำเภอกาญจนดิษฐ์ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) ” ขมิ้นชันสุราษฎร์ธานี” เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2565

w9 LttlKTn 600.jpgแแแแ

การปลูก

(1) พื้นที่ปลูกควรมีแสงแดดปานกลาง มีความชื้นสูง ดินร่วนซุย ระบายน้ำดี ไม่มีน้ำขัง

(2) ปลูกโดยใช้เหง้าหรือหัวอายุ 10 – 12 เดือน ถ้าเป็นเหง้าควรเลือกให้มีความยาว 8 – 12 เซนติเมตร

(3) ถ้าเป็นพื้นที่ลุ่มจะใช้วิธียกร่อง ถ้าเป็นที่ดอนจะใช้วิธีการขุดหลุมปลูก โดยขุดหลุมลึก 10 – 15 เซนติเมตร กว้างและยาว 40 x 40 เซนติเมตร ควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก วางเหง้าหรือหัวพันธุ์ในหลุมแล้วกลบดิน ระยะปลูกห่างกันในช่วง 50 – 70 เซนติเมตร หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่

(4) การใส่ปุ๋ยจะโรยข้างต้นให้ห่างจากโคนต้น ควรใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง หลังปลูก 1 เดือน และหลังปลูก 3 เดือนหรือตามความเหมาะสมของพื้นที่

(5) การกำจัดวัชพืช ควรทำ 3 ครั้ง คือเมื่อขมิ้นชั้นเริ่มงอก หลักปลูก 3 เดือน และ 6 เดือน โดยใช้วิธีถอนหรือใช้จอบดาย หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่

(6) เก็บเกี่ยวในช่วงขมิ้นชันมีอายุ 9 – 10 เดือน จะเป็นช่วงที่มีปริมาณสารเคอร์คูมินมากที่สุด

ขมิ้นชันแคปซูล

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูด8.3 ถึง 10.2 องศาเหนือ ลองจิจุด 98.5 ถึง 100.2 องศาตะวันออก พื้นที่ร้อยละ 49 เป็นภูเขา โดยมีเทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นต้นกำเนิดลุ่มน้ำใหญ่น้อย รวม 14 ลุ่มน้ำ ทำให้ให้ได้ชื่อว่าเมืองแห่งลุ่มน้ำ ซึ่งแม่นำลำคลองทุกสกสายล้วนไหลลงสู่อ่าวไทย ในภาพรวมภูมิประเทศของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความหลากหลาย โดยมีทั้งที่ราบสูง ที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบลุ่ม และเป็นเกาะ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นที่ราบสูงในเขตพื้นที่อำเภอพนม อำเภอบ้านตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอท่าฉาฉาง และอำเภอกาญจนดิษฐ์

ดินเป็นดินภูเขาซึ่งเป็นดินที่มีความร่วนซุย มีการระบายน้ำที่ดี ไม่มีน้ำชัง จึงมีความเหมาะสมในการปลูกขมิ้นชันซึ่งให้ผลผลิตและคุณภาพที่ดี รวมถึงสภาพภูมิอากาศของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย และลมมรสุมตะวันตกเฉียงได้จากมหาสมุทรอินเดีย ทำให้มีช่วงฤดูฝนยาวนานตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 129.59 มิลลิเมตรต่อปี

จากลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นราบสูง แหล่งน้ำมีมาก และมีฝนตกค่อนข้างมาก ทำให้ดินในพื้นที่มีความอุดมสมสมบูรณ์และไม่มีปัญหาเรื่องน้ำขัง จึงมีความเหมาะสมต่อการปลูกขมิ้นชันซึ่งให้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ ส่งผลให้ ขมิ้นขันสุราษฎร์ธานี มีสารสำคัญคือ สารคิวเคอร์มินหรือคิวเคอร์มินอยด์สูงเป็นพิเศษ

ประวัติความเป็นมา

ขมิ้นชัน เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สันนิษฐานว่าเริ่มการปลูกในประเทศอินเดีย แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ประเทศอื่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 แล้วจึงกระจายมายังประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย ตั้งแต่ครั้งอาณาจักรศรีวิชัยในฐานะสินค้าที่สำคัญของอาณาจักรขมิ้นชัน ได้ถูกใช้เป็นอาหารสำหรับคนไทย โดยเฉพาะคนในภาคใต้มาเป็นเวลานาน อาหารที่ใช้ขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกอ แกงฮังเล ข้าวแขก ข้าวหมกไก่ ขนมเบื้องญวน เป็นต้น รวมถึงเป็นส่วนประกอบสำคัญของผงกระหรี่

นอกจากนั้น ยังใช้เป็นยารักษาโรค เช่น รับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น รวมทั้งการนำขมิ้นผงมาประทินผิวพรรณให้สวยงาม และยังนำมาใช้ในพิธีสำคัญทางศาสนา เช่น พิธีบวชนาคจะใช้ขมิ้นชันทาหนังศีรษะหลังโกนผม ใช้ย้อมจีวรพระ ใช้ล้างมือผู้เข้าร่วมงานฌาปนกิจศพ และใช้เป็นส่วนผสมของแป้งที่ใช้ในการเจิมหน้าผากบ่าวสาวในพิธีแต่งงาน

ขมิ้นชันสุราษฎร์ธานี

เป็นขมิ้นชันสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีการปลูกมาอย่างยาวนาน เรียกชื่อว่า พันธุ์ตาขุน เป็นพันธุ์ที่ปลูกกันมากในเขตอำเภอบ้านตาขุน หรือจะเรียกชื่อว่า ขมิ้นชันทอง ซึ่งเมื่อนำไปปลูกนอกเขตจะเรียกชื่อสายพันธุ์ต่างออกไป เช่น ขมิ้นชันแดงสยาม เป็นต้น ขมิ้นชันสุราษฎร์ธานี ได้รับการพิสูจน์ว่ามีปริมาณสารสำคัญคือ เคอร์คูมิน ในปริมาณที่สูงเป็นพิเศษ จึงเป็นที่ต้องการของตลาด ขมิ้นชันสุราษฎร์ธานี จึงถูกนำมาใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค ผลิตภัณฑ์ความงาม รวมถึงในงานพิธีต่างๆมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งไม่เพียงแต่ใช้ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้นแต่ได้ถูกนำไปใช้ในจังหวัดอื่นทั้งในภาคใต้ และภาคอื่นๆ ของประเทศด้วย

และหลังจากได้รับ GI มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากขมิ้นชันสุราษฎร์ธานีเพิ่มเติมเพื่อส่งสู่ตลาดสินค้าด้านสุขภาพที่ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ขมิ้นที่มีคุณภาพที่สุดในโลก อย่างเช่น ขมิ้นชันสุราษฎร์ธานี


พื้นที่การปลูกและแปรรูป ขมิ้นชันสุราษฎร์ธานี ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ อำเภอพนม อำเภอบ้านตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอท่าฉาง และอำเภอกาญจนดิษฐ์

GI65100192 page 0006กกกกก